“เสียงข้อเข่า” บอกอะไรเราได้บ้าง ? เช็กอาการข้อเสื่อมและวิธีป้องกัน
เสียงจากเข่า ขณะลุกเดินหรือยืดขา เสียงจากข้อเท้าเวลาขยับข้อเท้า อาจจะกำลังบอกถึงความผิดปกติอะไรบางอย่างของร่างกายอยู่ก็เป็นได้
ยิ่งอายุมากขึ้นทำอะไรยิ่งต้องระวัง หมั่นสังเกตอยู่เสมอ อย่างเช่น เวลาทำกิจกรรมบางอย่าง แล้วได้ยินเสียงตามข้อต่างๆ ดังกรอบแกรบ เช่น เสียงจากเข่า ขณะลุกเดินหรือยืดขา เสียงจากข้อเท้าเวลาขยับข้อเท้า อาจจะกำลังบอกถึงความผิดปกติอะไรบางอย่างของร่างกายอยู่ก็เป็นได้
เสียงดังในข้อ อาจมาจากหลายปัจจัย แต่ปัจจัยหลักๆ เกิดจากก๊าซในน้ำไขข้อกลายเป็นฟอง อย่างกรณีเมื่อหักข้อนิ้วมือ ก็จะทำให้ปลอกหุ้มข้อต่อขยายออก ในขณะที่แรงดันในข้อลดลง ก๊าซที่ละลายอยู่ในน้ำไขข้อจึงผุดเป็นฟองแล้วรวมตัวกันเป็นฟองก๊าซขนาดใหญ่
เช็ก 5 สัญญาณเตือน “เข่าเสื่อม” เสียงในเข่า-งอไม่ได้ เข้าข่ายหรือไม่?
วิจัยพบสาร “ไซโตไคน์” ทำข้อเสื่อม แนะกินวิตามินดี-อีเสริมช่วยชะลอโรค
เมื่อยืดข้อต่อออกไปอีก น้ำไขข้อจะไหลกลับเข้าสู่ข้ออีกครั้ง ทำให้ฟองก๊าซขนาดใหญ่เหล่านั้นยุบลงเป็นฟองขนาดเล็กอย่างรวดเร็วจึงทำให้เกิดเสียงดังภายในข้อหรืออาจเกิดจากการเคลื่อนไหวของข้อ กระดูกอ่อน และเอ็นรอบๆ ข้อ ซึ่งมักจะเป็นบริเวณข้อเข่าและข้อเท้า รวมถึงมีอาการข้อเสื่อมจนทำให้พื้นที่ผิวข้อขรุขระ เมื่อมีการเสียดสีกันจึงทำให้เกิดเสียงได้
เช็คอาการ “ข้อเข่าเสื่อม”
- ปวดเข่า บริเวณข้อ ปวดเรื้อรัง ปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งาน และทุเลาลงเมื่อพักการใช้งาน
- มีเสียงในข้อเข่า เมื่อขยับเคลื่อนไหว
- ข้อเข่าตึง ฝืด เมื่อพักการใช้งานข้อเข่าเป็นเวลานาน
- ปวดเสียวที่ข้อเข่าเมื่อขึ้น-ลงบันได
- เข่าเปลี่ยนรูป เกิดจากการเสื่อมของเข่า และเกิดกระดูกงอก ทำให้เข่าเปลี่ยนรูป
หากปล่อยไว้นานไม่ทำการรักษา อาจจะรุนแรงถึงขั้นไม่สามารถเดินได้ เพื่อการรักษาข้อเข่าให้อยู่กับเราได้อีกนาน หากมีอาการควรรีบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
วิธีดูแลตัวเองให้ห่างโรคข้อ- ควบคุมน้ำหนัก เพราะหนึ่งในสาเหตุใหญ่ของปัญหาเกี่ยวกับข้อ ก็คือความอ้วน ยิ่งมีน้ำหนักตัวมากเท่าไร ข้อต่อต่างๆ ในร่างกายก็ยิ่งต้องรับภาระอันหนักอึ้งมากขึ้นเท่านั้น
- อย่าอยู่ในท่าเดิมนานๆ ให้ปรับเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ โดยเฉพาะท่าทางที่ผิดและส่งผลเสียต่อข้อ อย่างการนั่งยองๆ หรือบางคนชอบยืนทิ้งน้ำหนักตัวไปด้านเดียว หมั่นขยับตัว ยืดแขนยืดขา เพื่อบริหารข้อต่อให้ใช้งานได้ดีและป้องกันความเสื่อมไว้เสมอ
- ไม่หักโหมออกกำลังกายจนเกินไป และเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะหากออกกำลังกายหนักเกินไป จะส่งผลโดยตรงต่อข้อและกระดูก แต่หากอยากออกกำลังกายจริงๆ ก็ควรทำควบคู่ไปกับการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เพราะกล้ามเนื้อจะช่วยแบ่งเบาภาระต่างๆ ของข้อต่อ เมื่อร่างกายต้องเคลื่อนไหวรุนแรง โดยเฉพาะการมีกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังที่ดี จะทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังรับภาระการเคลื่อนไหวและแรงต่างๆ น้อยลง ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของอาการหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมได้มาก
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางชนิดบ่อยเกินความจำเป็น เช่น สเตียรอยด์แบบฉีด เพื่อลดการอักเสบของข้อ เพราะหากใช้บ่อยๆ อาจส่งผลต่อข้อกระดูก ทำให้ข้อเสียและกระดูกบางลงได้
“เสียงบ่น” ของผู้สูงอายุ สัญญาณบอกโรคที่ไม่ควรมองข้าม
อาการข้อเสื่อม หากไม่ป้องกันเสียตั้งแต่ต้น นอกจากจะนำมาซึ่งความเจ็บปวดทรมานและทำให้การใช้ชีวิตประจำวันยากลำบากขึ้นแล้ว ยังเป็นโรคที่ยากจะรักษาให้หายขาดหรือกลับคืนสู่สภาพปกติ ดังนั้นป้องกันไว้ดีกว่าแก้
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
“โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้อง” ชะล่าใจอาจปริ-แตกเสียชีวิต
งานอดิเรก เปลี่ยนวันธรรมดาให้พิเศษ ด้วยกิจกรรมสร้างสุข "ผู้สูงอายุ"