เช็ก! ผลตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง ค่าตัวเลขแบบไหนเข้าข่ายเสี่ยงโรคร้าย
หลังการตรวจสุขภาพ ตัวเลขเหล่านั้นมักสร้างความสับสน ประกอบกับศัพท์ทางการแพทย์ที่ถูกอธิบายอาจจะไม่กระจ่าง จน ไม่รู้ว่าเราเสี่ยงโรคหรือร่างกายกำลังอย่ในภาวะไหน ทั้ง ค่าน้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตค่อนข้างสูง ไขมันในเลือดปริ่มเพดานค่ามาตรฐาน งั้นมาเช็กกันอีกรอบเพื่อความชัวร์ค่ะ
ค่าผลตรวจสุขภาพที่ควรรู้เป็นไกด์นำทางสุขภาพที่ดี
ค่าน้ำตาลในเลือด (Blood sugar) การตรวจวัดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดเพื่อคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน
- ค่าปกติของระดับน้ำตาลในเลือดเท่ากับ 70-100 mg/dl
- ระดับน้ำตาลมากกว่า 100 – 125 mg/dl ถือว่ามีความเสี่ยงหรือมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวาน
- ระดับน้ำตาลมากกว่า 126 mg/dl ถือว่าเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานระยะเริ่มต้น
หยุดสับสน!ค่าตัวเลขใน "ใบตรวจสุขภาพ"บอกอะไรบ้าง ? ก่อนออกเที่ยวปลายปี
ข้อควรรู้เมื่อเกิด "แผลในผู้ป่วยเบาหวาน" เหตุผลที่รักษายากเสี่ยงลุกลาม
ค่า HbA1c (Glycated hemoglobin) หรือการตรวจน้ำตาลสะสม เป็นค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในเลือดสะสมช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา มักใช้เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานและติดตามการควบคุมโรคเบาหวาน รวมถึงประเมินความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
- ค่า HbA1c ปกติน้อยกว่า 5.7 mg%
- ค่า 5.7 – 6.4 mg% ถือเป็นผู้มีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน
- ค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 6.5 mg% ถือเป็นโรคเบาหวาน
นอกจากตัวโรคเบาหวานที่ตัวโรคมีความอันตรายอยู่แล้ว ยังมีอันตรายในรูปแบบของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดตามมา เช่น
- โรคหลอดเลือดหัวใจ
- โรคหลอดเลือดสมองส่งผลให้เกิดอัมพฤกษ์/อัมพา
- โรคจอประสาทตาเสื่อมจากภาวะเบาหวานขึ้นตา
ค่าไขมันในเลือด (Cholesterol, Triglyceride, HDL, LDL) การที่จะให้ผลการตรวจระดับไขมันในเลือดมีความแม่นยำมากที่สุด ผู้ตรวจควรงดอาหารและน้ำประมาณ 12 ชั่วโมงก่อนทำการเจาะเลือด โดยสามารถแบ่งการตรวจค่าไขมันในเลือดได้ ดังนี้
- คอเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นระดับไขมันรวมในกระแสเลือด กรณีพบภาวะไขมันในเลือดสูงกว่า 200 mg/dl สามารถทำให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ และอุดตัน เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจได้
- ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) หากตรวจพบไตรกลีเซอไรด์มีค่าสูงกว่า 150 mg/dl ถือว่ามีความเสี่ยงโรคไขมันอุดตันและหลอดเลือดแข็งตัว
- ไขมันเอชดีแอล HDL (High-Density Lipoprotein cholesterol) เป็นไขมันดี มีหน้าที่จับไขมันตามผนังหลอดเลือดเพื่อนำไปทำลายที่ตับ หากมีระดับ HDL สูงจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งระดับ HDL ในหลอดเลือดไม่ควรต่ำกว่า 40 mg/dl
- ไขมันแอลดีแอล LDL (Low-Density Lipoprotein cholesterol) หรือไขมันตัวร้าย หากมีปริมาณมากจะเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดตีบตันตามอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจและสมอง ดังนั้นจึงไม่ควรมีระดับ LDL สูงเกินกว่า 130 mg/dl
ค่าความดันโลหิต ช่วยให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น
- ค่าความดันโลหิตปกติ
- ตัวบนไม่ควรเกิน 120 มม.ปรอท
- ตัวล่างไม่เกิน 80 มม.ปรอท
สำหรับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ค่าใหม่ อ้างอิงตามคำแนะนำจากสมาคมโรคหัวใจสหรัฐอเมริกาปี 2017 คือ 130/80 มม.ปรอทขึ้นไป การวัดค่าความดันโลหิตเพียงครั้งเดียวอาจไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง จึงจำเป็นต้องวัดซ้ำ 2 – 3 ครั้ง และตรวจติดตามผลเป็นระยะ เนื่องจากค่าความดันโลหิตมีปัจจัยกระทบได้ง่าย เช่น ความเหนื่อยล้า ความตื่นเต้น และความเครียด หรือการพักผ่อนน้อย เป็นต้น
ค่าการทำงานของตับ (Liver function test) การตรวจการทำงานของตับสามารถตรวจจากผลเลือดได้ โดยผู้ตรวจไม่จำเป็นต้องงดอาหารก่อนการเจาะเลือด โดยผลเลือดที่แสดงค่าการทำงานของตับแบ่งออกได้ ดังนี้
- Alanine aminotransferase (ALT) หรือ Serum glutamic pyruvic transaminase (SGPT) เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งในเซลล์ตับ ค่า ALT ปกติเท่ากับ 0-48 IU/L หากตรวจพบค่าผิดปกติ สามารถบ่งชี้ความผิดปกติที่เกิดในเซลล์ตับและการเกิดโรคในตับ เช่น ตับแข็ง ได้
- Aspartate aminotransferase (AST) หรือ Serum glutamic-oxaloacetic transaminase (SGOT) เอนไซม์ที่พบในเซลล์ตับและในอวัยวะอื่นๆ เช่น หัวใจ ไต สมอง และกล้ามเนื้อ ปกติมักตรวจคู่กับ ALT เพื่อประเมินการทำงานของตับ ซึ่งค่าปกติของ AST นั้นเท่ากับ 0-35 IU/L
- Alkaline phosphatase (ALP) เอนไซม์ที่ผลิตขึ้นมาด้วยโปรตีนจากอวัยวะต่างๆ ที่เกิดโรคหรือเกิดความผิดปกติ เช่น ตับ กระดูก ลำไส้เล็ก ไต ปกติมักตรวจคู่กับ ALT และ AST เพื่อประเมินการทำงานของตับ ค่าปกติของ ALP ในผู้ใหญ่โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 120 U/L กรณีพบ ALP มีค่าสูงอาจบ่งชี้ว่าเกิดปัญหาเกี่ยวกับตับ เช่น ตับอักเสบ โรคมะเร็งตับ หรือรับประทานยาที่เกิดพิษต่อตับ
- Albumin คือ โปรตีนที่สร้างจากตับ เป็นส่วนประกอบสำคัญของเลือด การตรวจวัดโปรตีน Albumin ช่วยในการประเมินการทำงานของตับและความสมดุลของการสร้างอัลบูมินที่ตับและการขับออกทางไต ค่าปกติของ Albumin นั้นเท่ากับ 3.5-5 mg/dL
- Total bilirubin การตรวจวัด bilirubin ใช้ในการประเมินการทำงานของตับได้ โดยค่าปกตินั้นน้อยกว่า 2 mg/dL
ตรวจสุขภาพประจำปีสำคัญ ก่อนโรคภัยเงียบลุกลาม อายุน้อยก็เสี่ยงได้
การตรวจสุขภาพ คือ แนวคิดการป้องกันก่อนการเกิดโรค อาจตรวจพบความเสี่ยงโรคหรือค้นพบโรคในระยะเริ่มต้น อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพตามคำแนะนำของแพทย์คือหัวใจสำคัญ ผู้เข้าตรวจสุขภาพไม่ควรละเลยคำแนะนำของแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงแต่ยังไม่เป็นโรค นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมช่วยป้องกันโรคร้ายได้ อาทิ
- กินอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงและอาหารรสจัด
- ดื่มน้ำเปล่าสะอาด 8-10 แก้วต่อวัน
- เพิ่มกากใยอาหารจากผักและผลไม้เป็นประจำ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- กรณีมีโรคประจำตัว ภาวะน้ำหนักเกิน หรือมีความเสี่ยงต่างๆ ควรปรึกษาแพทย์
- ดูแลอารมณ์และจิตใจ ไม่เครียดหรือวิตกกังวลมากเกินไป
- นอนหลับให้มีประสิทธิภาพให้เพียงพอ
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช
สัญญาณเตือน! หลอดเลือดสมองตีบ รู้ก่อนอัมพฤกษ์อัมพาต
อาการปอดอักเสบ รู้ทัน-เฝ้าระวัง ฉีดวัคซีนลดภาวะแทรกซ้อนอันตรายถึงชีวิต