“กรดไหลย้อน” ปล่อยไว้นานเสี่ยง “มะเร็งหลอดอาหาร” ได้ แล้วอะไรคือสัญญาณโรค?
โรคกรดไหลย้อน คือ ความผิดปกติที่เกิดจากการมีกรดในกระเพาะอาหารไหลขึ้นมาสู่หลอดอาหาร ที่หากปล่อยไว้นานจนระคายเคืองเรื้อรังอาจเสี่ยงเป็น มะเร็งหลอดอาหาร ที่พบบ่อยในชายไทย ได้ เช็ก ปัจจัยเสี่ยงและสัญญาณมะเร็งหลอดอาหารได้ที่นี้!
ภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร หรือที่เราเรียกกันว่า “โรคกรดไหลย้อน” นั้น จริงอยู่ที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการทานยา แต่หากปล่อยเรื้อรังจนเกิดพยาธิสภาพในหลอดอาหาร จากโรคกรดไหลย้อนธรรมดา...ก็อาจทวีความรุนแรงจนกลายเป็น “มะเร็งหลอดอาหาร” ที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 7 ของโลก พบโรคนี้เป็นลำดับที่ 9ของมะเร็งในชายไทยช่วงอายุวัยกลางคน 55-65 ปี และมักจะพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 3-4 เท่า
รู้จัก“มะเร็งหัวใจ” โรคที่พบได้ยาก แนะสังเกต 3 สัญญาณเตือนมะเร็งใกล้หัวใจ
ไขข้อสงสัย กินยาคุมกำเนิดนานๆแล้วเป็นมะเร็งเต้านม จริงหรือไม่ ?
อาการของผู้ป่วยขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ถูกระคายเคืองโดยกรด
- กลืนลำบาก คล้ายมีก้อนอยู่ในคอ
- เจ็บคอ ในตอนเช้ามักมีเสมหะอยู่ในลำคอ หรืออาจระคายคอตลอดเวลา
- อาการปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่ หรืออาจร้าวไปที่บริเวณคอ
- เรอบ่อย คลื่นไส้
- คล้ายมีอาหารหรือน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาในอกหรือคอรู้สึกถึงรสขมของน้ำดีหรือรสเปรี้ยวของกรดในคอ
- มีกลิ่นปาก เสียวฟัน หรือมีฟันผุ
- เป็นหวัดเรื้อรัง
- เสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะในตอนเช้า
- ไอเรื้อรัง รู้สึกสำลักน้ำลาย หรือหายใจไม่ออกในเวลากลางคืน
- สำหรับผู้ป่วยหอบหืด...อาจมีอาการหอบมากขึ้น และการใช้ยาไม่สามารถบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้
เมื่อเป็นกรดไหลย้อนต้องทำอย่างไรก่อนเป็นมะเร็งหลอดอาหารหรือมะเร็งกล่องเสียง
- เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ด้วยการหลีกเลี่ยงภาวะความเครียด งดสูบบุหรี่ ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นเกินไป และหากน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากๆ ก็ควรลดน้ำหนัก ตลอดจนหลีกเลี่ยงการเบ่งเมื่อมีอาการท้องผูก...แต่เลือกกินอาหารที่ช่วยเรื่องระบบขับถ่ายแทน
- เปลี่ยนนิสัยในการทานอาหาร โดยการเลือกทานอาหารที่มีไขมันต่ำ งดอาหารทอด อาหารมัน อาหารย่อยยาก หรืออาหารที่มีรสจัด หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกช็อกโกแลต ถั่ว ลูกอม เนย นม ไข่ ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลังและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และทานแค่พอดี ไม่อิ่มจนแน่นท้องเกินไป
- เปลี่ยนนิสัยการนอน หลังการรับประทานอาหารไม่ควรเข้านอนในทันที แต่ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 3 ชั่วโมง และเวลานอน ควรหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้นประมาณ 6-10 นิ้วจากพื้นราบ
- บรรเทาอาการด้วย “ยา” ที่ควรรับประทานยาตามใบสั่งแพทย์ ไม่ลดหรือหยุดยาเอง และควรมาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรซื้อยากินเอง เพราะอาจทำให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
สัญญาณมะเร็งหลอดอาหาร
ไม่มีอาการเฉพาะของมะเร็งหลอดอาหารและยังไม่มีการตรวจคัดกรองมะเร็งหลอดอาหารในระยะเริ่มแรก แต่จะเป็นอาการคล้ายคลึงกับโรคทั่วๆ ไปของหลอดอาหารที่พบบ่อย ได้แก่
- กลืนอาหารไม่สะดวก รู้สึกติด หรือสำลัก
- อาจมีเสลดปนเลือด
- ไอ สำลัก ขณะรับประทาน
- อาจคลำต่อมน้ำเหลืองที่คอได้
- ผอมลงเพราะรับประทานไม่ได้หรือได้น้อย
ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหาร
เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของมะเร็งหลอดอาหาร แต่มีหลายปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคได้ อาทิ
- อายุ ที่ช่วง55-65 ปี มีความเสี่ยงสูงที่สุด
- เพศชายที่มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าเพศหญิง 3 เท่า
- ผู้มีภาวะกรดไหลย้อน
- การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
- ภาวะของหลอดอาหารที่เรียกว่า Barrett’s esophagus ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดในผู้ที่มีการอักเสบของหลอดอาหารจากกรดในกระเพาะอาหารทำลายเซลล์บุผนังหลอดอาหาร ทำให้เกิดมะเร็งชนิดได้
- การรับประทานอาหารที่มีผัก ผลไม้ และแร่ธาตุต่ำ
- ภาวะอ้วน
สัญญาณ “มะเร็งปากมดลูก” ใครบ้างเสี่ยงโรคร้ายคร่าชีวิตหญิงไทยอันดับ 1
ดังนั้น ถ้ามีอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์แต่เนิ่นๆ เพื่อการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง โดยมะเร็งหลอดอาหารแบ่งเป็น 4 ระยะ
- ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กยังอยู่เฉพาะในตัวหลอดอาหารยังไม่ลุกลาม
- ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งลุกลามมากขึ้นลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
- ระยะที่ 3 มะเร็งลุกลามทะลุเนื้อเยื่อต่างๆ ของหลอดอาหารและมีการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง
- ระยะที่ 4 มะเร็งลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง มีการกระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกล
ออกไปหรือกระจายไปอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไป เช่น ปอด ตับ หรือกระดูก เป็นต้น
วิธีการรักษา มะเร็งหลอดอาหาร
- การผ่าตัด จะเป็นวิธีการรักษาในมะเร็งระยะต้นๆ และเป็นมะเร็งหลอดอาหารในตำแหน่งที่สามารถผ่าตัดได้ โดยผ่าตัดเอาหลอดอาหารส่วนที่เป็นมะเร็งออกไป แต่ในโรคระยะลุกลามจนผู้ป่วยรับประทานทางปากไม่ได้ อาจมีการผ่าตัดเล็กทางกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กเพื่อให้อาหารทางสายยางแทน
- รังสีรักษา โดยทั่วไปมักเป็นการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว หรือฉายรังสีร่วมกับเคมีบำบัด หรือฉายรังสี เคมีบำบัด และผ่าตัด ซึ่งจะเป็นไปตามข้อบ่งชี้การแพทย์เป็นรายๆ ไป การฉายรังสีก็เช่นเดียวกัน การผ่าตัด จะมีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือใช้รักษาเพื่อควบคุมโรค ซึ่งจะใช้รักษาผู้ป่วยระยะลุกลามไม่มากและมี สุขภาพแข็งแรงและการรักษาแบบประคับประคองที่จะใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็น มากแล้วหรือสุขภาพไม่แข็งแรง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท และ โรงพยาบาลรามาธิบดี
สัญญาณมะเร็ง 3 อันดับคร่าชีวิตผู้หญิง เจอเร็วโอกาสหายสูง ลดการเสียชีวิต
“มะเร็งรังไข่” โรคอันตรายของผู้หญิง มีอัตราเสียชีวิตสูงถึง 60%