อาการแบบไหน? ลองโควิด(Long COVID) ที่ยังไม่มีสาเหตุ-วิธีรักษาจำเพาะ
เคล็ดลับสวยเก่ง ฉบับ มาดามแป้ง นวลพรรณ ล่ำซำ สุภาพสตรีมากกว่าสามารถหลากหลายธุรกิจและอาการหลังจากติดโควิด 19 พร้อมทำความรู้จักอาการลองโควิด (Long covid) ให้มากกว่าเดิม จาก พญ.พจณิชา เมฆอรุณกมล แพทย์อายุรกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล
มาดามแป้ง นวลพรรณ ล่ำซำ สุภาพสตรีมากกว่าสามารถทั้ง CEOบริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด พ่วงตำแหน่ง ผู้จัดการทีมชาติไทยและ ประธานสโมสรฟุตบอล จึงทำให้เธอกลายเป็นไอดอลของใครหลายคน ซึ่งมาดามแป้งได้เปิดเผยเคล็ดลับการทำงานหลายอย่างพร้อมกัน คือต้องมีแพชชั่น เพื่อทำให้มีแรงขับเคลื่อน โดยเฉพาะธุรกิจประกันที่ครอบคลุมและในอนาคตจะตอบโจทย์ ความยั่งยืนในธุรกิจ นอกจากนี้ "การปรับตัว ยืดหยุน และ สติ" 3 ข้อนี้ เพื่อจะให้เราสามารถรองรับความเปลี่ยนแปลง
Rise & Shine ชีวิตดีเริ่มที่ตัวเรา ซีซั่น 2 EP.13 | ตอน "มาดามแป้ง" | 18 ก.พ.66
ฟื้นฟูอาการลองโควิด สมองถดถอยมีปัญหาด้านความจำและระบบประสาท
มาดามแป้ง ได้แชร์การดูแลตัวเองให้สวยเป๊ะ ด้วยวัย 56 คือการนอน ให้เพียงพอ ดื่มน้ำเยอะ ไม่กินแอลกอฮอล์ ซึ่งยอมรับว่ามีความเครียดในการทำงาน แต่ยังมีไฟในการทำงานและยังมีอุดมการณ์ที่ยังทำอะไรอีกหลายอย่าง
ทุกยามก้าว ของตนเอง มีความเสี่ยงเสมอ แต่เราก็พยายามตั้งใจจริงคิดบวก เมื่อล้มแล้วก็ต้องเยียวยาตัวเองและลุกขึ้นมาและไปต่อไป ไม่ว่าจะเดินไปข้างหน้า หรือจะหยุด และ ก็ต้องหยุดให้เป็นด้วย
เห็นแข็งแรงและเต็มไปด้วยแพชชั่นในทุกธุรกิจและทุกกิจกรรมแบบนี้หลายคนอาจจะไม่ทราบว่า มาดามแป้ง เองก็มีประสบการณ์ ติดโควิด-19 ในช่วงเดือน มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งมีอาการค่อนข้างเยอะและรักษานาน แต่โชคดีที่เชื้อไม่ลงปอด และหลังจากรักษาหาย ก็มีอาการเหนื่อย เป็นภูมิแพ้ง่าย และเสียงเปลี่ยนเพราะเส้นเสียงอักเสบ
พญ.พจณิชา เมฆอรุณกมล แพทย์อายุรกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล ได้อธิบายถึงภาวะลองโควิด (Long COVID) คือกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง หรือ พัฒนาขึ้นใหม่หลังจากคนไข้เริ่มติดโควิด การจะวินิจฉัยว่าเป็นลองโควิด คนไข้จะต้องมีอาการต่อเนื่องเกิด 3 เดือนขึ้นไปหลังจากคนไข้เริ่มติดโควิด ขณะที่ช่วง 4 สัปดาห์แรก จะนับว่าเป็นอาการของโรคโควิด
อาการลองโควิด อาจจะไม่สามารถหาสาเหตุจำเพาะของอาการได้ เพราะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดและสาเหตุที่ชัดเจน และกลไกการเกิดโรคโดยตรง จึงยังไม่มีการรักษาที่จำเพาะโดยตรง ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่ส่วนใหญ่มักจะมาใน 3 อาการหลัก คือ
- อาการทางเดินหายใจ ไอเรื้อรัง เหนื่อยหอบ มีน้ำมูก คัดจมูก จมูกไม่ได้กลิ่น
- อาการทางสมอง ความคิดความอ่านช้าลง ความจำไม่ดี เกี่ยวเนื่องไปถึงอารมณ์ อาทิ ซึมเศร้า นอนไม่หลับ
- อ่อนเพลีย ไม่มีพลังงาน ความสามารถการทำงาน ออกกำลังกายไม่เท่าเดิมและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเรื้อรัง
"ภาวะเสียงแหบ" อาการลองโควิด (Long Covid) หลังหายป่วยจากโควิด-19
ซึ่งอาการลองโควิด เป็นคนละอย่างกับ ภาวะแทรกซ้อนโควิด ที่อาจจะมีเชื้อลงปอด ทำให้ปอดอักเสบ เกิดพังพืดในปอด แผลเป็นในปอด ลิ่มเลือดในปอดเป็นต้น
เพราะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงยังไม่มีการรักษาที่จำเพาะโดยตรง จึงเป็นการรักษาตามอาการ การรักษาลองโควิดที่ดีที่สุด “คือการป้องกันไม่ให้ติดโควิด” เมื่อเป็นแล้วต้องพยายามลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อาทิ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และ ผู้ที่มีอาการรุนแรง ซึ่งป้องกันได้โดย ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด19 ตามวงรอบ เริ่มการรักษาเร็ว ซึ่งสามารถรับการตรวจวินิจฉัยเพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล
"ลองโควิด (Long COVID)" มีโอกาสเกิด 5-30% ยังไม่มีวิธีรักษาเฉพาะเจาะจง
หายป่วยโควิด-19 มีความเสี่ยงเกิด “Long Covid ในระบบหัวใจ” มากกว่า 50%