มะเร็งชนิดไหนบ้าง ? ลามขึ้นมาก่อ “มะเร็งสมอง” ได้ เช็ก 5 สัญญาณเตือน!
มะเร็งสมอง นอกจากจะเกิดจากเซลล์เนื้องอกร้ายที่เจริญผิดที่ ยังเป็นมะเร็งที่เกิดจากการลามของมะเร็งชนิดอื่นได้อีกด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าการเกิดจากตัวสมองเอง แล้วมะเร็งชนิดไหนบ้างที่มีโอกาสลามมายังสมอง สัญญาณเตือนโรคคืออะไร เช็กเลย!
มะเร็งชนิดไหนบ้างที่ลามมายังสมองได้ ?
คำตอบคือ มะเร็งทุกชนิด สามารถกระจายและลามก่อตัวเป็นมะเร็งสมอง (Brain cancer) ได้ แต่มะเร็งหลักที่มักมีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมาที่สมอง
- มะเร็งปอด
- มะเร็งเต้านม
- มะเร็งผิวหนังชนิด melanoma
- มะเร็งลำไส้
- มะเร็งไต
การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมาที่สมองบางครั้งเกิดขึ้นใช้เวลาเป็นเดือนหรือหลายปีหลังจากการวินิจฉัยมะเร็งหลัก รวมทั้งขึ้นอยู่กับระยะของโรคมะเร็งนั้นๆ ด้วย
สัญญาณ “มะเร็งสมอง” ปวดหัวรุนแรง-ชัก เนื้องอกร้ายพบเร็วเพิ่มโอกาสหายขาด
“มะเร็งสมอง” เกิดจากอะไรได้บ้าง? ใครบ้างเสี่ยง? อะไรคือสัญญาณเตือนโรค
ปัจจุบันมีการรักษาที่หลากหลายที่ช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมาที่สมองได้ ในบางครั้งผู้ป่วยไม่มีอาการหรือแสดงอาการที่ผิดปกติมาก่อน ซึ่งสามารถตรวจพบได้จากการตรวจร่างกายหรือภาพเอกซเรย์ทั่วไป
อาการที่พบมากที่สุด
- อาการปวดศีรษะ มึนงง
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ตาเห็นภาพไม่ชัดหรือภาพซ้อน
- ความจำ คำพูด หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น
- บางครั้งอาจมีอาการทางระบบประสาท เช่น อาการชาหรืออ่อนแรงแขนขา ทรงตัวที่ผิดปกติไป
ป้องกันมะเร็งไม่ให้ลามมายังสมอง
แก้ที่ต้นเหตุคือปรับลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ รักษาตัวเองไม่ให้เกิดมะเร็งไม่ว่าจะชนิดไหนก็ตาม ด้วยการไม่ดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่กินดีและออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เช่น ยาฆ่าแมลง สารเคมี สารกัมมันตภาพรังสี แน่นอนว่าควรตรวจสุขภาพร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากพบอาการสัญญาณเตือนมะเร็งทุกชนิดมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไปควรปรึกษาแพทย์ทันที
7 สัญญาณเตือนโรคมะเร็ง
- ระบบขับถ่ายผิดปกติ มีการเปลี่ยนแปลงในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ อาทิ โรคมะเร็งลำไส้จะมีอาหารท้องผูกสลับกับท้องเสียลักษณะอุจจาระลีบเล็กเนื่องจากถูกบีบรัด
- แผลเรื้อรังที่รักษาไม่หาย
- เลือดไหลผิดปกติตามทวารใด ๆ ของร่างกาย
- คลำพบก้อนที่เต้านมหรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
- กลืนอาหารลำบากหรือระบบการย่อยผิดปกติ
- ไฝหรือหูดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติหรือมีเลือดออก
- มีอาการไอที่ผิดปกติ เช่น ไอปนเลือด ไอเรื้อรัง หรือเสียงแหบ
อย่างไรก็ตาม การป้องกันมะเร็งสมอง ในปัจจุบัน การแพทย์ยังไม่สามารถหาวิธีการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งสมอง แต่สามารถปฏิบัติตัวตามแนวทางเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งสมองได้
ลูกหัวโตผิดปกติ-ปวดหัวเรื้อรัง รีบพบแพทย์ อาจเป็นสัญญาณ “มะเร็งสมองในเด็ก”
รักษาเมื่อมะเร็งลามมาที่สมอง
การรักษาหลักของการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมาที่สมองคือการฉายรังสี หรือการผ่าตัด หรือการรักษาร่วมกัน ซึ่งแพทย์รังสีรักษาและศัลยแพทย์ระบบประสาทจะประเมินการรักษาตามระยะของโรคมะเร็งหลัก จำนวนก้อนมะเร็งที่แพร่กระจายมาที่สมอง และสภาพร่างกายของผู้ป่วย ส่วนใหญ่จะพิจารณาทำการผ่าตัดในกรณีที่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมาที่สมองเพียงก้อนเดียวที่อยู่ในส่วนของสมองที่ตัดออกได้ ผู้ป่วยมักจะได้รับการฉายรังสีตามหลังการผ่าตัดเพื่อเพิ่มการควบคุมโรคในสมอง หากก้อนมะเร็งอยู่ในตำแหน่งที่ตัดไม่ได้ หรือมีจำนวนหลายก้อน หรือสภาพร่างกายไม่เหมาะสม ผู้ป่วยจะได้รับการฉายรังสีซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีทางรังสีรักษามีการพัฒนามากขึ้นมาก ทำให้ผู้ป่วยที่มีการแพร่กระจายของมะเร็งมาที่สมองมีการควบคุมโรคที่ดีขึ้น ผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบประสาทมากมักจะได้รับยาสเตียรอยด์ก่อนหรือระหว่างการฉายรังสีเพื่อลดอาการและภาวะแทรกซ้อน
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
รู้ทัน “มะเร็งแพร่กระจายไปสมอง” เช็กอาการเตือน-วิธีรักษาให้ดีขึ้น
“เนื้องอกในสมอง” รุนแรงระดับไหนเรียก“มะเร็งสมอง”เช็กอาการเสี่ยงโรค