วัยไหนก็เป็นได้! “วัยทอง” สัญญาณ-พฤติกรรมเสี่ยงทั้งชายและหญิง
ฮอร์โมน (Hormones) สารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้เป็นไปตามปกติ ซึ่งปริมาณและการทำหน้าที่ของฮอร์โมนในแต่ละช่วงอายุก็แตกต่างกัน และรู้หรือไม่? ภาวะฮอร์โมนผิดปกติ สามารถเกิดได้ทั้งหญิงและชาย รู้ทันสัญญาณเตือนและวิธีการรักษาระดับฮอร์โมนให้ปกติ
ฮอร์โมนเพศหญิง
ฮอร์โมนเอสโตรเจน Estrogen นับเป็นฮอร์โมนแบบตัวแม่ ที่มีทำหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง ซึ่งผลิตจากรังไข่เป็นส่วนใหญ่ และมีส่วนน้อยที่ผลิตจากต่อมหมวกไตและเซลล์ไขมัน โดยมีผลต่อการเจริญเติบโตทางเพศ ลักษณะของเพศหญิง การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ และการหมดประจำเดือน
อาการของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่สมดุล(มากหรือน้อยเกินไป)
- มีการสะสมไขมันมากขึ้นเกิดโรคอ้วน
- ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
- อารมณ์แปรปรวน
- หงุดหงิดง่าย
- นอนหลับยาก
- ไม่มีสมาธิ
5 กลุ่มอาหารช่วยวัยทอง อารมณ์คงที่ ไม่หงุดหงิดง่ายชะลอวัย
อย่าละเลย! “วัยทอง” ฮอร์โมนไม่สมดุล ส่งผลเสียมากกว่าที่คิด
- กระดูกเปราะง่าย
- ช่องคลอดแห้งและฝ่อตัว มีผลต่อเพศสัมพันธ์ เกิดถุงน้ำ เนื้องอกที่เต้านม มดลูก และรังไข่ได้
- เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งบางชนิดและไขมันในเส้นเลือด
นอกจากฮอร์โมนเอสโตรเจนแล้ว คุณผู้หญิง ยังมี
- ฮอร์โมน Luteinizing hormone (LH) มีหน้าที่กระตุ้นให้ไข่ที่เจริญเต็มที่เพื่อพร้อมรับการผสมอสุจิ หากฮอร์โมน LH ต่ำเกินไปจะทำให้มีการตกไข่ แต่หากมีมากเกินไปก็อาจส่งผลต่อการเกิดซีสต์หรือถุงน้ำรังไข่ได้
- ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน Progesterone ที่ถูกสร้างจากรังไข่ในช่วงหลังไข่ตกและบางส่วนจากรก โดยจะมีหน้าที่ควบคุมภาวะไข่ตก ที่ช่วยดูแลการตั้งครรภ์ ควบคุมการทำงานพื้นฐานของร่างกาย
- ฮอร์โมน Follicular stimulating hormone (FSH) ที่สร้างจากต่อมใต้สมองเพื่อกระตุ้นให้ไข่มีการเจริญเติบโตและพร้อมต่อการผสมกับอสุจิ
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิง ในช่วงวัยทอง
วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน เป็นวัยที่เพศหญิงหยุดการมีประจำเดือนและไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 48-52 ปี หรือมีเหตุที่ต้องตัดมดลูก รังไข่ เช่น การมีซีสต์ หรือสาเหตุอื่นทางนรีเวช เมื่อเข้าสู่วัยทองแล้ว ร่างกายจะผลิตฮอร์โมลดลงอย่างมาก และฮอร์โมน FSHและLH จะเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความรู้สึกทางเพศ มีการเปลี่ยนแปลงทางผิวหนัง มวลกระดูกบางลง ส่งผลให้กระดูกเปราะง่าย และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดสมองได้
ฮอร์โมนทดแทนวัยทองสตรี?
ในผู้ที่มีอาการรุนแรง ปัจจุบันมีการใช้ฮอร์โมนเสริมเพื่อทดแทนฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างลดลง โดยฮอร์โมนที่ใช้มีทั้งกลุ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนร่วมกับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งมีทั้งในรูปแบบการรับประทาน แผ่นแปะ เจล หรือเจลหล่อลื่นสำหรับใช้รักษาภาวะช่องคลอดแห้งโดยเฉพาะ ซึ่งปริมาณของฮอร์โมนในแต่ละรูปแบบมีขนาดที่แตกต่างกันไป
อย่างไรก็ตามการให้ฮอร์โมนทดแทนอาจส่งผลเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งบางชนิดและโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงมีข้อห้ามในการใช้ในผู้ป่วยบางกลุ่ม จึงควรมีการปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจระดับฮอร์โมนและพิจารณาการใช้ยา รวมถึงการปรับขนาดยาอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม ไม่ควรซื้อฮอร์โมนทดแทนรับประทานเอง
“วัยทอง” ฮอร์โมนเปลี่ยน เสี่ยง “หลอดเลือดหัวใจตีบ” รู้ทันรับมือได้
ฮอร์โมนเพศชาย
เพศชายจะมี ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน Testosterone เป็นฮอร์โมนสำคัญในเพศชายที่ร่างกายสร้างจากอัณฑะ มีหน้าที่ควบคุมและสร้างลักษณะทางกายภาพของเพศชาย ทั้งยังสนับสนุนการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ให้สมดุล เช่น ช่วยสร้างกล้ามเนื้อ และมวลกระดูก รวมไปถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง
ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย
ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายคือการที่ผู้ชายเกิดการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากมีบางอย่างผิดปกติเช่นเดียวกับคุณผู้หญิง ส่งผลให้ ฮอร์โมนเพศชายลดต่ำ หรือผู้ชายวัยทอง ที่มีอายุ 40-65 ปี ที่เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบสืบพันธุ์ มีระดับฮอร์โมนเพศชายลดลง ก่อให้เกิดอาการผู้ชายวัยทอง
อาการผู้ชายวัยทอง
- มีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกง่าย นอนไม่หลับ แต่มักเป็นน้อยกว่าหผู้หญิงวัยทอง
- เนื่องจากเทสโทสเตอโรนต่ำ ทำให้มีระดับไขมันและคอเลสเตอรอลสูงมากขึ้น
- กล้ามเนื้อลีบลง อ่อนเพลียง่าย ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ มีการสะสมไขมันทำให้อ้วนลงพุงง่าย
- มวลกระดูกลดลง ทำให้เกิดกระดูกบางเปราะหักง่าย
- ความต้องการทางเพศลดลง
- มีอาการหงุดหงิดง่าย นอนไม่ค่อยหลับ อารมณ์แปรปรวน
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดลง
ฮอร์โมนเพศชายโดยปกติจะมีระดับอยู่ที่ 300 – 1,000 นาโนกรัมต่อเดซิลิตร แต่เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนได้ลดลง นอกจากสาเหตุอายุที่เพิ่มมากขึ้นแล้ว พฤติกรรมหรือรูปแบบการใช้ชีวิตก็มีส่วนช่นกัน เช่น
- กินของทอด ของมัน หรือของหวานเป็นประจำ
- น้ำหนักตัวที่มากเกินไป หรือมีภาวะอ้วนลงพุง
- ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ
- การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มือสองเป็นประจำ
ฮอร์โมนทดแทน วิธีการรักษาปัญหาฮอร์โมนเพศชายผิดปกติ
ในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนเพศชายทดแทน จะมีด้วยกันหลายวิธี โดยแต่ละวิธีจะมีจุดเด่นและข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแพทย์จะทำการให้คำแนะนำและร่วมตัดสินใจร่วมกับผู้ป่วยในการเลือกวิธีที่เหมาะสมตามรายบุคคล
- การฉีดฮอร์โมนเพศชาย เป็นวิธีแบบ One Stop Service ที่ใช้เวลาไม่นาน ฉีดแล้วสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยไม่ต้องกังวล
- การใช้เจลเพิ่มฮอร์โมน เป็นวิธีการให้ฮอร์โมนทดแทนที่ได้ผลดี โดยจะทาบริเวณหัวไหล่ ต้นแขน หรือหน้าท้องในช่วงเช้าเป็นประจำทุกวัน
จะเห็นได้ว่าน้ำหนักตัวมีส่วนสำคัญต่อระดับฮอร์โมนนอกเหนือจากปัจจัยด้านอายุ ฉะนั้นการรักษาสุขภาพด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่อย่างเหมาะสม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอรวมถึงรักษาสภาวะจิตใจไม่ให้เครียด หาเวลาให้ตัวเองบ้าง เพื่อการป้องกันและรักษาภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล การขาดฮอร์โมนในวัยหมดประจำเดือน หรือหากมีอาการความเสี่ยงที่ว่ามาให้รับพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาได้ถูกวิธี
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
คุณผู้ชายเช็กด่วน! สเปิร์มยังฟิตเฟิร์มอยู่ไหม? ด้วยการตรวจ Semen Analysis