“ดมกลิ่นผายลม” ไม่ได้ช่วยบำบัด “โรคไต”แล้วความจริงคืออะไร? เช็กก่อนเชื่อข่าวปลอม!
ตามที่มีการกล่าวถึงข้อมูลเรื่องการผายลม ช่วยบำบัดโรคไต ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบ พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น “เป็นข้อมูลเท็จ” แล้วผายลมเกิดจากอะไร? โรคไตเกิดจากอะไร รักษาหายได้หรือไม่ ? วิธีการบำบัดและคัดกรองควรเป็นแบบไหน เช็กข้อมูลจริงได้ที่นี้ค่ะ
จากกรณีที่มีการแชร์ข้อมูลเรื่องการผายลม หรือการดมกลิ่นผายลม ช่วยบำบัดโรคไตนั้น ทางโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า การผายลมไม่ได้เกี่ยวข้องกับโรคไต และไม่ได้เป็นอาการของโรคไต ซึ่งไม่ได้ช่วยในการรักษาโรคไตแต่อย่างใด
การผายลม เกิดขึ้นจากการระบายลมในลำใส้ ซึ่งเป็นผลมาจากการกลืนลมเวลาที่เรากลืนอาหารกลืนน้ำลาย หรือจากการระบายแก๊สที่กิดจากการย่อยอาหาร
9 มีนาคม วันไตโลก 2566 ตระหนักภัย ใส่ใจไต ป้องกันไว้ เน้นกลุ่มเสี่ยง
“ลมในท้องเยอะ” ท้องอืด เรอ ผายลมบ่อย อาจเป็นสัญญาณโรคระบบทางเดินอาหาร
ในผู้ที่ผายลมมาก ๆอาจเกิดจากแก๊สสะสมในกระบวนการย่อยอาหารที่มีแก๊สมาก เช่น เครื่องดื่มน้ำอัดลม,อาหารพวกแป้งที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง,พืชตระกูลถั่วและการกินอาหารเร็วเกินไป ส่วนการผายลมที่มีเสียง เกิดจากการควบคุมลมในลำไส้ใหญ่ผ่านกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก ถ้าลมในลำใส้มีมากจะทำให้ผายลมดังได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ
กลิ่นของการผายลม สามารถบอกสุขภาพภายในสำไส้ได้ 3 แบบ
- ไร้กลิ่น เกิดได้จากทานโปรตีนน้อย
- มีกลิ่น เกิดจากการทานอาหารที่มีโปรตีนหรือผักที่มีกลิ่นแรง
- มีกลิ่นแรง มากผิดปกติอาจเกิดจากลำไส้มีการติดเชื้อแบคทีเรีย ลำไส้ที่มีอุจจาระค้างอยู่นานหรือลำไส้อุดตัน
โรคไต (Kidney Disease) เกิดจากการทำงานภายในของระบบไตที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการขับสารพิษไม่หมด ทำให้บางส่วนตกค้างในร่างกาย นำไปสู่ภาวะการเสียสมดุลของน้ำ เกลือแร่ ฮอร์โมนและโรคแทรกซ้อนภายในร่างกาย
สาเหตุและปัจจัยหลักที่ทำให้ไตมีการทำงานผิดปกติจนก่อให้เกิดโรคไต ได้แก่
- กรรมพันธุ์
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น
- พฤติกรรมการบริโภค ไม่ว่าจะเป็นอาหารรสจัด ทั้ง เค็ม หวาน เปรี้ยว หรือเผ็ดในปริมาณมากเกินไป ส่งผลให้การไตมีการทำงานในการคัดกรองที่หนัก ส่งผลสู่ภาวะไตเสื่อมได้
วิธีตรวจค่าไต
- การตรวจปัสสาวะ (Urine analysis) คือ การตรวจค่าไตโดยดูน้ำที่ถูกคัดแยกในรูปแบบของเสียหรือ ยูเรีย มาเป็นตัวกลางให้ทางแพทย์ช่วยคัดกรองส่วนประกอบสารเคมี กลิ่น และสีเป็นอย่างไร เพื่อนำผลลัพธ์นี้ไปวินิจฉัยโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ และการทำงานของไตได้
- การตรวจเลือด (Blood analysis) คือ การตรวจค่าไตโดยดูปริมาณเลือดนั้น เพื่อดูส่วนประกอบความสมบูรณ์แบบของเม็ดเลือด ไม่ว่าจะเป็น ความเข้มข้นของเลือด , สารเคมี โปรตีน ไขมัน และเกลือแร่ในน้ำเลือด , ปริมาณคอลเลสตอรอลในเลือด และไนโตรเจนในสารยูเรียที่หลงเหลือในกระแสเลือดในปริมาณมากน้อยแค่ไหน
การเตรียมตัวก่อนตรวจค่าไต
- ก่อนการตรวจค่าไตต้องอดอาหารและน้ำก่อนเข้าห้องตรวจ 8-12 ชั่วโมง
- งดเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ทุกชนิด 24 ชั่วโมง
- สำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิต สามารถรับประทานยาประจำตัวได้ปกติ
8 สัญญาณ “โรคไตเรื้อรัง” ไม่ติดกินเค็มก็เป็นได้ ไม่จำกัดอายุ
แนวทางการรักษาโรคไต
หากตรวจค่าไตแล้วอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงเป็นโรคไต แนวทางวิธีรักษาโรคไตเพื่อให้ค่าไตกลับมาเป็นปกติ มี 3 วิธี ดังนี้
- การฟอกเลือด (Hemodialysis) คือ การคัดกรองของเสียหรือสิ่งสกปรกตกค้างจากเลือดให้ถูกฟอกให้สะอาด แล้วจากนั้นนำเลือดที่ถูกล้างเรียบร้อยแล้วกลับเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย โดยระยะเวลาการฟอกเลือดใช้เวลา 3-5 ชม. และผู้ป่วยควรทำการฟอกเลือดอย่างต่ำ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์
- การล้างไตทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis) คือ การนำน้ำยาสาร ชนิด CAPD เข้าไปในในช่องท้องของผู้ป่วย เพื่อให้สารพิษที่ตกค้างทั่วทั้งร่างกายจะถูกดูดซึมผ่านกระแสเลือดไปยังน้ำยาในช่องท้อง โดยวิธีนี้จะต้องทำการล้างไตทางช่องท้องตลอดวันละ 4 ครั้ง/สัปดาห์
- การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation) คือ การปลูกถ่ายไตอันใหม่จากผู้บริจาคให้กับผู้ที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง มาผ่าตัดส่วนของไตข้างใดข้างหนึ่งที่เสื่อมสภาพการทำงานออกไป แล้วใช้ไตใหม่นี้ผ่าตัดมาทดแทน วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยหายจากการเป็นโรคไตถาวร ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ
ป้องกันโรคไตหากพบความเสี่ยง
- งดสูบบุหรี่ถาวร
- หากเป็นบุคคลที่เคยตรวจเบาหวานแล้วพบโรค ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วยหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลทุกชนิด
- บุคคลที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์ ควรจำกัดการดื่มอย่างน้อย 1 แก้ว/วัน เพื่อควบคุมความดันโลหิตในกระแสเลือดให้คงที่เสมอ
- บุคคลที่มีภาวะมวลดัชนี BMI เกินมาตรฐาน สามารถควบคุมน้ำหนักโดยการออกกำลังกาย ดูแลตัวเองด้วยการทานอาหารที่ให้แคลอรี่น้อยแต่ให้พลังงานสูง พักผ่อนให้เพียงพอ และทำจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ
- หมั่นตรวจค่าไตเป็นระยะ ๆ เพื่อเอาผลปัสสาวะหรือเลือด มาปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ไตมีการใช้งานที่ยืนยาว
- วางแผนเริ่มมีบุตรได้ เพื่อป้องกันและรักษาโรคไตไม่ให้ถูกส่งต่อทางพันธุกรรม
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช , antifakenewscenter และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ไตวายเฉียบพลัน VS ไตวายเรื้อรัง แตกต่างกันอย่างไร? อะไรคือสัญญาณโรค?
7 เมนูจานโปรด “โซเดียมสูง” อร่อยปากลำบากไต กินบ่อยเสี่ยงไตเรื้อรัง