แพทย์เตือน! “ฮีทสโตรก” หน้าร้อนต้องระวัง! ภาวะแทรกซ้อนอันตรายถึงชีวิต
รู้หรือไม่ ? โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (heatstroke) อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ปอด ไต และกล้ามเนื้ออันตรายได้ถึงขั้นพิการและเสียชีวิต
นายแพทย์กีรติกร ว่องไววาณิชย์ อายุรแพทย์โรคทางสมองและระบบประสาท (เฉพาะทางด้านปวดศีรษะ) โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้ความรู้ถึง อาการปวดศีรษะช่วงหน้าร้อน ที่พบได้ทุกเพศทุกวัย แต่พบบ่อยใน เพศหญิงเด็ก ที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะเสี่ยงต่อการเกิด ฮีทสโตรก ได้
โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (heatstroke) คือภาวะที่ร่างกายร้อนเกินขนาด ในคนไข้ที่เกิดภาวะดังกล่าวมักมีอุณหภูมิร่างกายสูงถึงหรือมากกว่า 40 องศาเซลเซียส
เตือนคนทำงานกลางแจ้งระวัง “ฮีทสโตรก” เสี่ยงถึงชีวิต
“ฮีทสโตรก” อาการเป็นอย่างไร ? วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น ใครบ้างเสี่ยง
ซึ่งอาจส่งผลถึงระบบประสาท ที่มีการปวดศีรษะนำ สับสน หรือหมดสติไปได้ ในคนไข้ที่มีอาการหนักอาจจะมีอาการชักเกร็งร่วม
รู้หรือไม่? ฮีทสโตรกส่งผลต่อระบบร่างกายทุกส่วนหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เกิดผลเสียต่ออวัยวะสำคัญต่าง ๆ และในบางกรณีถึงขั้นเสียชีวิตได้ อาทิ
- สมอง ทำให้เกิดการชัก สมองบวม และอาจทำให้เกิดการเสียหายถาวรของเซลล์สมอง
- กล้ามเนื้อ อาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อสลาย (Rhabdomyolysis)
- ไต ภาวะกล้ามเนื้อสลายอาจทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้
- ตับ การสูญเสียน้ำ ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงตับลดลง อาจทำให้เกิดภาวะตับวาย
- หัวใจ การทำงานที่หนักขึ้นของหัวใจ อาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะและเกิดภาวะหัวใจวายได้
- ปอด อาจทำให้ปอดอักเสบเกิดภาวะวิกฤติทางระบบการหายใจ
- เลือด เกิดภาวะเลือดออกง่ายหรือเกิดลิ่มเลือดในร่างกาย
ปวดศีรษะธรรมดา VS ปวดแบบฮีทสโตรก
ปวดหัวธรรมดาจะปวดบีบรัดรอบศีษระไม่รุนแรงมาก แต่ปวดแบบฮีทสโตรก จะมีลักษณะปวดตุบๆ คล้ายเส้นเลือดเต้น เชื่อว่าอาจเกิดจากการขาดน้ำและอุณหภูมิไปกระตุ้นสมองบางส่วน อย่างไรก็ตามต้องดูปัจจัยอื่นร่วมด้วยว่าก่อนหน้านี้คนไข้มีปัจจัยเสี่ยงฮีทสโตรกหรือไม่
หากเกิดฮีทสโตรกแล้วร่างกายจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมหรือไม่ ?
นายแพทย์กีรติกร ระบุว่า มีรายงานการศึกษาออกมาชัดเจนว่าจะมีผลแทรกซ้อนถึง 30-50% เช่น ปัญหาความจำ ปัญหาด้านการเดินทรงตัว ตับ ไตที่เคยวายแล้วกลับมาทำงานไม่ปกติ การป้องกันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและต้องได้รับการรักษาอย่างทันท้วงที
นักกีฬาหรือนักวิ่งการใช้น้ำราดตัวบ่อยๆ ลดฮีทสโตรกได้หรือไม่ ?
นายแพทย์กีรติกร บอกต่อว่า การวิ่งอากาศร้อนๆและใช้น้ำราดตัวช่วยระบายความร้อนอีกทางหนึ่งโดยเฉพาะน้ำเย็น เพื่อลดโอกาสการเกิดฮีทสโตรกได้เช่นกัน
ใครบ้างเสี่ยงการเกิดฮีทสโตรก
- อายุที่น้อยหรือมากเกินไป
- มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด ภาวะอ้วน หรือไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
- การใช้ยาบางกลุ่มที่ทำให้สูญเสียสารน้ำหรือร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออุณหภูมิกายที่สูงขึ้นได้อย่างเต็มที่ เช่น ยากลุ่มกระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือด (Vasoconstrictors) ยาลดความดันหรือรักษาโรคหัวใจ (Beta – Blockers) ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) และยาทางจิตเวชบางกลุ่ม (Antidepressants, Antipsychotics และ Psychostimulants) รวมทั้งสารเสพติดกลุ่ม Amphetamines และ Cocaine
- การที่ร่างกายต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างเฉียบพลัน เช่น ในกรณีที่เดินทางท่องเที่ยวไปประเทศที่อากาศร้อนกว่า หรือในช่วงที่มี Heat Wave จนร่างการการ
รักษาเบื้องต้น
- สิ่งแรกที่ควรคำนึกถึงคือการ ลดอุณหภูมิกาย โดยพาผู้ป่วยเข้ามาในร่มหรือในที่ที่มีเครื่องปรับอากาศและมีอุณหภูมิที่เย็น
- ถอดเสื้อผ้าและคลายเครื่องแต่งกายที่รัดแน่นเกินไป
- เช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำเย็น ใช้ถุงน้ำแข็งวางบริเวณศีรษะ ลำคอ รักแร้ และขาหนีบ ใช้สเปรย์น้ำเย็นพ่นหรือฝักบัว หรือนำผู้ป่วยลงแช่ในอ่างอาบน้ำเย็นในระหว่างที่รอรถพยาบาล
- ห้ามดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เนื่องจากเครื่องดื่มจำพวกนี้จะทำให้ความสามารถในการปรับอุณหภูมิของร่างกายสูญเสียไป และน้ำเย็นจะทำให้เกิดการหดเกร็งของกระเพาะอาหารได้ปรับตัวไม่ทันก็ทำให้เกิดฮีทสโตรกได้ง่ายขึ้น
“ฮีทสโตรก”คนออฟฟิศก็เสี่ยง สัญญาณเตือนภัยอันตรายเสียชีวิตเฉียบพลัน
ป้องกันฮีทสโตรก
- สวมใส่เสื้อผ้าโปร่ง ระบายลมได้ง่าย หากรู้ว่าต้องไปอยู่ในที่อากาศร้อนหรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวก
- หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดในช่วง 11.00-15.00 น.
- นักกีฬา หรือ คนที่ชอบการออกกำลังกายไม่ควรออกกำลังกายตอนอากาศร้อนจัดควรเลือกช่วงเวลา ตอนเช้าหรือตอนเย็น
- ป้องกันตัวเองจากแสงแดดด้วยเครื่องแต่งกาย เช่น แว่นกันแดดหรือหมวก และการใช้ครีมกันแดดที่มี SPF มากกว่า 15 ขึ้นไป
- ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน
- ปรึกษาแพทย์ว่ายาที่ใช้อยู่มีผลต่อการปรับอุณหภูมิของร่างกายหรือไม่
- พยายามหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนักในที่อาการร้อนและถ่ายเทไม่สะดวก ในกรณีที่จำเป็น ให้ใช้เวลาในบริเวณดังกล่าวให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
จะเห็นได้ว่าภาวะฮีทสโตรก เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามในช่วงหน้าร้อนนี้แม้แต่น้อย โดยเฉพาะคนที่ต้องทำงานกลางแจ้ง เด็กและผู้สูงอายุ ฉะนั้นการป้องกันและองค์ความรู้จึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้หน้าร้อนนี้เป็นฤดูซัมเมอร์ที่ดีสำหรับคุณ ^^
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ
4 สัญญาณ โรคลมแดด (Heatstroke) ภัยหน้าร้อนที่อาจเสี่ยงถึงชีวิตได้
10 ผักและผลไม้คลายร้อน ฉ่ำน้ำสรรพคุณแก้ร้อนในอ่อนเพลียจากแดด