มะเร็งกระเพาะอาหาร ทำไม? คุณผู้ชายเสี่ยงกว่าผู้หญิง 2-3 เท่า
มะเร็งกระเพาะอาหาร ภัยเงียบที่มีแนวโน้มสูงขึ้น นอกจากพันธุกรรมแล้วยังมีตัวกระตุ้นที่จากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งคุณผู้ชายเสี่ยงสูงกว่าคุณผู้หญิงหลายเท่า!
มะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric cancer) มีอุบัติการณ์เป็นอันดับที่ 5 ของโรคมะเร็งทั้งหมด และถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 3 จากการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งทั้งหมดทั่วโลก สำหรับประเทศไทย มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับที่ 6 ในผู้ชาย และอันดับที่ 9 ในผู้หญิง และมีแนวโน้มสูงขึ้นแม้จะยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่ามะเร็งชนิดนี้เกิดจากอะไร แต่คาดว่าเป็นมะเร็งที่เกี่ยวพันกับการกินอาหารและการใช้ชีวิตโดยตรง
สาเหตุที่แท้จริงของ “มะเร็งกระเพาะอาหาร” ทำไมอายุ40+ ต้องระวัง ?
เช็กสัญญาณ-ความเสี่ยง “มะเร็งกระเพาะอาหาร” มะเร็งที่พบบ่อยในคนเอเชีย
มะเร็งกระเพาะอาหาร เกิดจากการที่เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารมีการแบ่งจำนวนมากขึ้น อย่างผิดปกติ ทำให้เกิดเป็นมะเร็งขึ้นมา สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของกระเพาะ เมื่อมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้นจะเกิดการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง และสามารถกระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ เช่น ตับ ตับอ่อน ลำไส้ ปอด และรังไข่ได้
ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร
- อายุ
- มีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
- พบในคนเอเชียมากกว่าชนชาติผิวขาวกลุ่มประเทศยุโรปและอเมริกา
- การบริโภคอาหาร โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบอาหารประเภทหมักดอง ตากเค็ม รมควัน แปรรูปต่างๆ เพิ่มความเสี่ยงของโรค
- การติดเชื้อ Helicobacter pylori เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดการอักเสบ และแผลในกระเพาะอาหารได้ การติดเชื้อชนิดนี้ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด โรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้มากขึ้น
- พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ค่อยรับประทานผักและผลไม้
- ภาวะอ้วน ทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อนซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบเรื้อรังของหลอดอาหารและกระเพาะส่วนต้นทำให้มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งมากขึ้น
รู้หรือไม่ ? เพศชายถึงมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิงถึง 2-3 เท่า
นอกจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ สถิติพบเพศชายป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าเพศหญิงโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่เป็นประจำ กินอาหารประเภทหมักดอง ตากเค็ม ปิ้งย่าง รมควัน อีกทั้งยังไม่ค่อยรับประทานผักผลไม้ ภาวะอ้วน แต่แน่นอนหากสาวๆมีการใช้ชีวิตที่ผิดเน้นกินตามใจปากมากเกินไปก็อาจจะตกอยู่ในความเสี่ยงไม่ต่างๆกันค่ะ
“มะเร็งกระเพาะอาหาร” แตกต่าง “โรคกระเพาะ” อย่างไร? เช็กสัญญาณเสี่ยง!
อย่างไรก็ตามในระยะเริ่มแรกของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมักไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ แต่ผู้ป่วยส่วนมากมักพบแพทย์ในระยะของโรคลุกลามแล้ว ซึ่งหากมีอาการคล้ายโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ปวดท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย จุกเสียดแน่นท้อง ใต้ลิ้นปี่ มีคลื่นไส้ อาเจียนหรืออาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำเบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลำพบก้อนต่อมน้ำเหลืองที่แอ่ง ไหปลาร้าซ้าย ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
ดังนั้น ควรดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากมะเร็งกระเพาะอาหารนับเป็นทางออกที่ดีที่สุดด้วยการการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เน้นผักผลไม้ที่มีกากใยและมีวิตามินสูง เช่น ผักตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักคะน้า บรอคโคลี่ลด หลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมัน อาหารหมักดอง ปิ้งย่างรมควัน รวมทั้งการดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ตรวจสุขภาพร่างกายย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ , กรมการแพทย์ และ สสส.
แยกให้ออก!"โรคกระเพาะ"หรือ"มะเร็งกระเพาะอาหาร" สัญญาณเตือน-วิธีคัดกรอง
กรุ๊ปเลือดไหน? เสี่ยง “มะเร็งกระเพาะอาหาร” มากกว่ากรุ๊ปเลือดอื่น