เช็กสัญญาณ-ความเสี่ยง “มะเร็งกระเพาะอาหาร” มะเร็งที่พบบ่อยในคนเอเชีย
รู้หรือไม่ ? มะเร็งกระเพาะอาหารใกล้ตัวเราอย่างไม่คาดคิด เพราะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตโดยตรง อีกทั้งยังสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้ง่าย เช็กสัญญาณเสี่ยงก่อนสายเกินแก้
มะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric cancer) เกิดจากการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์เยื่อบุทำให้ระบบการทำงานเสียหาย และยังสามารถลุกลามหรือแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้ อาทิ ลำไส้ ตับ ตับอ่อน ต่อมน้ำเหลือง นับเป็นมะเร็งชนิดอันตรายที่หลายคนมองข้างพฤติกรรมก่อโรค
ข้อมูลจาก โรงพยาบาลกรุงเทพ พบว่าปัจจุบัน โรคมะเร็งกระเพาะอาหารพบได้บ่อยเป็นลำดับที่ 6 พบว่าเพศชายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าเพศหญิง ประเทศที่มีอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารสูง ได้แก่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และประเทศในแถบเอเชีย
“มะเร็งกระเพาะอาหาร” อาหารไม่ย่อย-ท้องอืด สัญญาณเล็กๆ หากมองข้ามอาจลุกลาม
ทำไมอาหารแปรรูปถึงเสี่ยง “มะเร็งกระเพาะอาหาร” โรคที่พบมากในคนเอเชีย
สำหรับในประเทศไทย อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารพบได้เท่ากับ 4.1 ราย และ 2.5 ราย ต่อประชากรแสนราย ในเพศชายและเพศหญิง ตามลำดับ
สาเหตุและปัจจัยมะเร็งกระเพาะอาหาร
- มีประวัติป่วยเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร จากการได้รับเชื้อ Helicobacter pylori (H. pylori)
- เคยเป็นโรคกรดไหลย้อน
- เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง
- มีอาชีพหรือใช้ชีวิตประจำวันที่สัมผัสกับฝุ่นและสารเคมีบางชนิด
- การมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานในเพศชาย (ในเพศหญิงยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด)
- กรรมพันธุ์
- พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่เป็นประจำ หรือได้รับควันบุหรี่มือสองอยู่เสมอ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กินอาหารแปรรูป หมักดอง ตากเค็ม รมควันเป็นประจำ ไม่กินผักและผลไม้
อาการของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารที่สังเกตได้ ในช่วงแรกอาจเป็นอาการปกติที่ทุกคนแทบจะมองข้าม เพราะคล้ายคลึงกับโรคกระเพาะหรือหรดไหลย้อนปกติ เช่น
- อาหารไม่ย่อย จึงรู้สึกไม่สบายท้อง
- แสบร้อนบริเวณหน้าอก
- ท้องอืดหลังรับประทานอาหาร
- รู้สึกคลื่นไส้
- เบื่ออาหาร
อาการหลังมะเร็กระเพาะอาหารงก่อตัวลุกลาม
- รู้สึกไม่สบายท้องบริเวณส่วนบนและส่วนกลาง
- มีเลือดปนในอุจจาระ
- อาเจียน หรืออาเจียนเป็นเลือด
- อ่อนเพลีย และน้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
มะเร็งกระเพาะอาหารจะมี 4 ระยะ
- มะเร็งระยะเริ่มแรก มะเร็งที่กินลึกเพียงชั้นผิว แต่ไม่ลึกถึงกล้ามเนื้อกระเพาะ มักไม่มีอาการ หรือมีอาการปวดท้องโรคกระเพาะเป็นๆหายๆ
- ระยะที่ 2และ3 มะเร็งที่มีความลึกไปถึงชั้นกล้ามเนื้อ หรือผิวด้านนอกของกระเพาะอาหาร มีโอกาสกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองมากขึ้น การรักษาคือการผ่าตัดกระเพาะอาหารร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด
- มะเร็งระยะสุดท้าย มะเร็งที่กระจายไปตามอวัยวะต่างๆ การรักษาในระยะนี้นอกจากการผ่าตัด ให้ยาเคมีบำบัด
การรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร มีแนวทางอย่างไรบ้าง?
แม้ในทางการแพทย์จะไม่สามารถรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหารให้หายขาดได้ เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มักรู้ตัวช้า แต่ผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหารหลายรายก็สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้นาน และยังรักษาได้หากพบเร็ว ด้วยกระบวนการการรักษานั้นแพทย์จะพิจารณาเลือกการรักษาที่เหมาะสมกับระยะที่เป็น การแพร่กระจายของโรค โดยการรักษามีแนวทางต่างๆ ดังนี้
- การผ่าตัดส่วนที่เป็นเนื้อร้ายออก หรือ การผ่าตัดเพื่อบรรเทาอาการ
- การทำเคมีบำบัด
- การฉายรังสี
- การใช้ยาทราสทูซูแมบ ที่ใช้ในการรักษามะเร็งเต้านม เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและเพิ่มโอกาสของการยับยั้งเชื้อมะเร็ง
“กรดไหลย้อน” ปล่อยไว้นานเสี่ยง “มะเร็งหลอดอาหาร” ได้ แล้วอะไรคือสัญญาณโรค?
เช็กปัจจัย “ไขมันพอกตับ” ภาวะอันตรายที่ไม่อ้วนก็เป็นได้!
มะเร็งกระเพาะอาหารป้องกันได้- เข้ารับการตรวจคัดกรองเมื่อมีอายุ 55 ปีขึ้นไป เพราะเป็นโรคที่รักษาได้ถ้าตรวจเจอในระยะแรก
- งดอาหารที่มีรสเค็ม ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กินอาหารแปรรูป หมักดอง ตากเค็ม รมควันเป็นประจำ
- หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
- กินผักและผลไม้ เป็นประจำ
- หลีกเลี่ยงหรือละเลิกการไม่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
- รีบปรึกษาแพทย์หากพบว่ามีความเสี่ยงการเกิดโรค หรือเริ่มมีอาการที่น่าสงสัย
จากการสันนิษฐานในวงการแพทย์ พบว่า...เรื่องอาหารถือเป็นเรื่องที่ควรจะให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ เพราะฉะนั้นเราจึงควรหันมาควบคุมการรับประทานอาหาร เลือกที่ให้คุณประโยชน์ และเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายเพื่อหลีกเลี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหารหรือโรคร้ายอื่นๆที่อาจจะเกิดขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท,โรงพยาบาลเปาโลและโรงพยาบาลกรุงเทพ
8 ผักยอดนิยมที่ไม่ควรกินดิบ แนะปรุงสุกก่อนเสี่ยงสารพิษอันตรายถึงชีวิต
3 สูตรอาหารจากไข่ต้ม เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการในจานโปรดของคุณ