“ไวรัสตับอักเสบ” มีกี่ชนิด? ละเลยเสี่ยง “มะเร็งตับ” อันตรายถึงชีวิต
ภาวะตับอักเสบเฉียบพลัน ใครก็เป็นได้ เช็กเลยไวรัสมีกี่ชนิด ติดเชื้อได้อย่างไร?อาการเป็นอย่างไร? ใครบ้างที่เสี่ยง? รักษาได้หรือไม่?
เมื่อติดเชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ตับจะก่อให้เกิดภาวะตับอักเสบ ส่งผลให้ตับทำงานผิดปกติ มีอาการตับบวมโต อ่อนเพลีย ซึ่งไวรัสตับอักเสบมีหลายชนิด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบเอ, บี, ซี, ดี, อี เป็นต้น แต่ที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขประเทศไทย ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบเอ ไวรัสตับอักเสบบี และ ไวรัสตับอักเสบซี
ร่างกายรับเชื้อไวรัสตับอักเสบได้อย่างไร
- จากกลุ่มพาหะ (Carrier) ซึ่งมักเป็นได้กับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี เท่านั้น
- ติดต่อทางอาหาร น้ำดื่ม การสัมผัสอุจจาระ
8 สัญญาณ “ไขมันพอกตับ”ภัยพฤติกรรมเลี่ยงละเลยอาจพ่วงมะเร็งตับ-ตับแข็ง
7 สิ่ง ทำลายตับเสี่ยง “มะเร็งตับ” อาหารและพฤติกรรมแบบไหนควรเลี่ยง
- ทางเพศสัมพันธ์
- ทางเลือดการใช้เข็มร่วมกัน
- การติดเชื้อจากแม่สู่ลูกสำหรับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี มีโอกาสสูงมาก แต่ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ฉีดให้ทารกหลังคลอดทุกราย ทำให้ป้องกันการติดต่อจากแม่สู่ลูกได้ดีมาก
สัญญาณเตือนของโรคตับอักเสบเฉียบพลัน
ไม่ว่าจะเกิดจากไวรัสตับอักเสบชนิดไหน จะมีอาการคล้ายกัน...แต่น้อยหรือมากขึ้นอยู่กับปริมาณของเชื้อไวรัสที่ร่างกายได้รับ
- อาการอ่อนเพลีย
- จุกแน่นใต้ชายโครงขวา
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- ปวดตามข้อ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- เบื่ออาหาร
- ท้องเสีย
- ปัสสาวะสีเข้ม
- ตัวเหลือง ตาเหลือง ประมาณ 1 – 4 สัปดาห์ อาการตัวเหลือง ตาเหลืองจะหายไป
อาการ “ตับอักเสบเรื้อรัง”
เชื้อไวรัสที่ทำให้ตับอักเสบเรื้อรัง มี 2 ชนิด คือ เชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซี มักไม่แสดงอาการ บางรายอาจรู้สึกอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียนบ้างในช่วงที่มีภาวะตับอักเสบ การติดเชื้อไวรัสจะทำให้เกิดการทำลายของเซลล์ตับทีละน้อยจนเกิดภาวะตับแข็งและเพิ่มโอกาสในการเกิดมะเร็ง สามารถตรวจดูการอักเสบของตับได้จากการตรวจเลือด อาการตับแข็งและมะเร็งตับ ในระยะแรกไม่มีอาการแต่อาจมีอาการเพลียบ้าง มักมาพบแพทย์ด้วยภาวะแทรกซ้อน เช่น ท้องบวม เท้าบวม อาเจียนเป็นเลือด ตัวตาเหลือง
ไวรัสตับอักเสบ เมื่อติดเชื้อแล้ว...ต้องรีบรักษา
- ไวรัสตับอักเสบเอ บี ชนิดเฉียบพลัน และอีส่วนใหญ่ แพทย์จะรักษาแบบประคับประคองรักษาตามอาการ เน้นการรักษาเพื่อลดการอักเสบของตับ เช่น รับประทานอาหารได้น้อย อ่อนเพลียอาจจะให้น้ำเกลือ
- การพักผ่อนมากๆในช่วงที่มีอาการอ่อนเพลีย สามารถทำกิจกรรมที่ไม่ต้องออกแรงมาก การรับประทานอาหารอย่างพอเพียง
- หลีกเลี่ยง อาหารไขมันสูง งดแอลกอฮอล์ และหลีกเลี่ยงยาพาราเซตามอล
- การตรวจติดตามผลเลือดเป็นระยะ
ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี ส่วนใหญ่จะเป็นเรื้อรังถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอาจจะกลายเป็นโรคตับแข็ง มะเร็งตับ และเสียชีวิตในที่สุด การรักษาขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของตับ ถ้าหากตับวาย หรือมะเร็งตับ แพทย์จะไม่รักษาด้วยยารักษาไวรัสตับอักเสบซี เพราะจะเน้นที่การรักษามะเร็งมากกว่า หรือหากมีภาวะตับวายการรักษาจะมีความเสี่ยงสูง ฉะนั้นการรักษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
อาหารล้างพิษตับ ป่วยโรคตับกินแบบไหน ? กินอะไรฟื้นฟูตับได้ ?
ไวรัสตับอักเสบ มีโอกาสรักษาหายหรือไม่?
- ไวรัสตับอักเสบบี เมื่อเป็นในระยะเฉียบพลันแล้ว มีโอกาสหายขาดได้ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่ติดเชื้อ แต่มี 5 – 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นตับอักเสบเรื้อรัง
- ไวรัสตับอักเสบ เอและอี การรักษาจะหายขาด ส่วนใหญ่หายได้เองและมีภูมิต่อโรค ทำให้ไม่เป็นโรคนี้ซ้ำอีก และไม่เป็นตับอักเสบเรื้อรัง ยกเว้นไวรัสตับอักเสบอี ในหญิงตั้งครรภ์ มีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง
- ไวรัสตับอักเสบซี ประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์ เป็นตับอักเสบเรื้อรัง ผลการรักษาขึ้นกับชนิดของไวรัสตับอักเสบซี
การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ
- สามารถออกกำลังกายได้ปกติ แต่ไม่ควรหักโหมในช่วงที่มีอาการตับอักเสบเฉียบพลัน
- ควรพักผ่อนให้พอเพียง
- งดการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะทำให้เชื้อไวรัสแบ่งตัวได้มากขึ้น และทำให้เซลล์ตับเสื่อมเร็วขึ้น
- การรับประทานยาทุกชนิด ควรปรึกษาแพทย์
- การพบแพทย์ตามนัด เพื่อตรวจเลือดดูการทำงานของตับเป็นระยะ
- การมีเพศสัมพันธ์ควรสวมถุงยางอนามัย
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง
- เมื่อมีการผ่าตัดหรือทำฟัน ควรแจ้งแพทย์ทราบเสมอ
- หลีกเลี่ยงความเครียด
- แนะนำให้คนใกล้ชิดที่อยู่บ้านเดียวกัน ให้ตรวจเลือด และฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอและบี
- งดการบริจาคโลหิต
- ดื่มน้ำสะอาด ปรุงสุก ล้างมือให้สะอาด ผักผลไม้ล้างให้สะอาด
อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบอี หญิงตั้งครรภ์จึงต้องระมัดระวังให้มาก ส่วนไวรัสตับอักเสบเอมีวัคซีนป้องกัน ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย ซึ่งอย่างไรกันไว้ย่อมดีกว่าตามแก้ที่หลังอย่างแน่นอน
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท
3 โรคตับคนรุ่นใหม่ จุดเริ่มต้นมะเร็งตับ ป้องกันได้แค่ปรับพฤติกรรม
“มะเร็งตับ-ตับแข็ง” จาก “ไวรัสตับอักเสบบี” เช็กสัญญาณเสี่ยงโรค