กลุ่มอาหารเสริม กินไม่ระวัง ส่งผลเสียกับหัวใจเสี่ยงอาการไม่พึงประสงค์
ท่ามกลางเทรนด์ดูแลสุขภาพ อาหารเสริมนับเป็นทางเลือกของใครหลายคนที่ต้องการร่างกายที่สมบูรณ์แบบ และมีสุขภาพที่ดี แต่รู้หรือไม่ ? การกินอาหารเสริมไม่ระวังและไม่รู้แหล่งที่มา กินไม่ถูกต้อง อาจเสี่ยงต่ออาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ และหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันได้
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ ภาวะที่หัวใจเต้นเร็วไปหรือช้าไป (ปกติหัวใจจะเต้นประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที) ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของการนำกระแสไฟฟ้าในหัวใจหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจ ทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายลดลง อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันได้ในกรณีกลุ่มโรคหัวใจเต้นพริ้ว (Atrial fibrillation) อาการที่สังเกตได้ เช่น หน้ามืด ตาลาย วิงเวียน ใจสั่น หายใจขัด เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก เป็นลมหรือหมดสติ
สมุนไพร-วิตามิน กินมาก-กินนาน ไม่ระวังเสี่ยงตับอักเสบอันตรายถึงชีวิต
“วิตามิน” กินมากไปเสี่ยงตับทำงานหนัก แนะปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน
สาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก ๆ และจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย- ปัจจัยภายนอก ที่สามารถพบได้คือ ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ สภาพแวดล้อม อากาศที่ร้อนจัด ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ การกินอาหารเสริมที่ส่งผลต่อหัวใจ
- ปัจจัยภายใน ได้แก่ อายุที่มากขึ้น โรคประจำตัว เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ ความดันโลหิตสูง ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ โรคไหลตาย เป็นต้น
อาหารเสริมทำหัวใจเต้นผิดจังหวะ ?
การเลือกอาหารเสริมทานเอง สิ่งแรกที่ควรทำคือ ปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือเภสัชกร นอกจากนั้นยังต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ผ่านมาตรฐานการผลิตทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีการปลอมปน และปนเปื้อนจากยาฆ่าแมลงและสารพิษจนสะสมในร่างกายได้หนึ่งในหลายอาการผิดปกติ ที่มักจะพบหลังจากทานอาหารเสริมที่ไม่เหมาะสม คือ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอื่นๆได้ ผู้บริโภคจึงควรศึกษารายละเอียดและทำความเข้าใจก่อนที่จะเริ่มใช้เสมอ
กลุ่มอาหารเสริมที่อาจพบยาต้องห้ามหรือสารปลอมปน และส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อการเต้นของหัวใจ
- ยาลดความอยากอาหาร เช่น Fenfluramine ทำให้ลิ้นหัวใจและที่ยึดระหว่างลิ้นหัวใจกับผนังหัวใจ (Chordae Tendineae) หนาขึ้น
- ยาลดความอยากอาหารและเร่งการเผาผลาญ เช่น Sibutramine ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ใจสั่น เจ็บหน้าอก นอกจากนั้นยังพบว่า ยาไซบูทรามีนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และสโตรกในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ยาไทรอยด์ เช่น Thyroxine ทำให้ไทรอยด์ทำงานหนัก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ความดันสูง ใจสั่น
- มาเต หรือชาบราซิล Maté ทำให้ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว (จากผลของคาเฟอีน)
- ยากลุ่มกระตุ้นการแข็งตัวขององคชาต เช่น Sildenafil, vardenafil, tadalafil acetildenafil, hydroxyacetildenafil, hydroxyhomosildenafil, piperidenafil) ทำให้ร้อนวูบวาบ มึนงง ใจสั่น ความดันตก
- ยาเพิ่มสมรรถนะร่างกายในนักกีฬา ยาสังเคราะห์กลุ่มฮอร์โมนเพศชาย 19‐norandrosterone, metandienone, stanozolol, testosterone ทำให้เกิดภาวะเสี่ยงของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Possible myocardial infarction)
อาหารเสริมไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน หากจำเป็น ควรตรวจการทำงานของตับ เช่น ตรวจเอนไซม์ตับ (AST, ALT) การทำงานของไต (BUN, Cr) ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างการใช้ ควรหยุดใช้ทันทีและปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรดังนั้นหากจะใช้อาหารเสริม ควรที่จะศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์นั้นๆ ว่าเหมาะสมต่อการนำมาใช้หรือไม่ ผ่านมาตรฐานการผลิตหรือไม่ ส่วนผสมมีอะไรบ้าง เพราะหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นจะได้ทราบว่าเกิดจากส่วนผสมชนิดใด จะได้เก็บไว้เป็นข้อมูลและระวังในการใช้ต่อไป
อาการเตือน “หัวใจเต้นผิดจังหวะ” เสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว-หลอดเลือดสมองอุดตัน
การลดโอกาสเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจไม่สามารถป้องกันได้เสมอไป แต่สามารถลดโอกาสเกิดให้น้อยลงได้โดย หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด การสูบบุหรี่ บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตรวจสุขภาพและพบแพทย์สม่ำเสมอ และขอย้ำว่าการเลือกอาหารเสริมทานเอง สิ่งแรกที่ควรทำคือ ปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือเภสัชกร นอกจากนั้นยังต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ผ่านมาตรฐานการผลิตทั้งในประเทศและต่างประเทศนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช
อาการเตือน “หัวใจเต้นผิดจังหวะ” เสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว-หลอดเลือดสมองอุดตัน