8 คำถาม STOP-BANG ทดสอบ "หยุดหายใจขณะหลับ" พบ 3 ข้อควรพบแพทย์
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือ OSA ภาวะอันตรายได้ถึงชีวิตหากรักษาไม่ทัน แนะบททดสอบเช็กลิสต์ 8 ข้อ พบ 3 ข้อขึ้นไปควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยวางแผนการรักษา
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือ obstructive sleep apnea : OSA นับเป็น ภาวะอันตราย หนึ่งในสาเหตุอันดับต้น ๆ ของปัญหาการนอนหลับที่นำไปสู่โรคร้ายแรงอาทิ โรคด้านหัวใจ ภาวะความดันโลหิตสูงได้ซึ่งอันตรายถึงชีวิต ปัจจุบันพบการเกิดภาวะดังกล่าวในผู้ชายประมาณ 25 % และ 10 % ในผู้หญิง โดยสามารถพบผู้ป่วยได้ในทุกกลุ่มอายุ และจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทางการแพทย์ ได้แนะนำให้ทำการทดสอบด้วยตนเองเพื่อให้สามารถรับมือได้อย่างทันท่วงที
“นอนกรน” รู้ตัว รักษาได้ เพิ่มคุณภาพการหลับให้สมองแจ่มใส ลดโรค
นอนกรน-หลับไม่สนิท สัญญาณ “หยุดหายใจขณะนอนหลับ” อันตรายถึงชีวิต
ผ่านการตอบคำถามSTOP-BANG จากคำถาม8 ข้อถ้าหากคุณเข้าข่ายมากกว่า 3 ข้อขึ้นไปถือว่ามีความเสี่ยงเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
8 คำถาม STOP-BANG ทดสอบภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- Snoring : คุณนอนกรนเสียงดังหรือไม่? (อาจบันทึกเสียงไว้หรือคนข้างๆคุณบอก)
- Tired: คุณรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หรือง่วงนอนในตอนกลางวันบ่อย ๆ หรือไม่?
- Observed: เคยมีใครทักคุณว่าคุณมีอาการหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่?
- Pressure: คุณมีอาการหรือกำลังได้รับการรักษาโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่?
- BMI: คุณมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 35 kg/m2 หรือไม่?
- Age: คุณมีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปหรือไม่? (ให้นับตั้งแต่อายุ 51 ปี)
- Neck: คุณมีเส้นรอบคอมากกว่า 40 เซนติเมตรขึ้นไปหรือไม่? (ให้นับตั้งแต่ 41 เซนติเมตร)
- Gender: คุณเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง (ผู้ชายมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้หญิง)
วิธีแก้อาการ "นอนกรน" สัญญาณแบบไหน ? เสี่ยงการหยุดหายใจขณะหลับ
หากตรวจเช็กแล้วพบว่ามีความเสี่ยงเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แนะนำให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการดูแลรักษาโดยเร็ว โดยแพทย์สามารถวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับได้จากประวัติการนอนและการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติระหว่างการนอนหลับ (Polysomnogram, PSG) ซึ่งเป็นการตรวจโดยให้ผู้ป่วยนอนในห้องนอนที่เป็นส่วนตัวเป็นเวลาหนึ่งคืน โดยจะมีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ คลื่นไฟฟ้าสมอง การเคลื่อนไหวของลูกตา การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ การเต้นของหัวใจ ลักษณะการหายใจ รวมถึงปริมาณออกซิเจนในเลือดโดยการติดขั้วโลหะ (Electrode) ที่บริเวณศีรษะและใบหน้า และเซ็นเซอร์ที่จมูก ขา หน้าอก และหน้าท้อง เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป เพื่อให้คุณภาพการนอนของผู้ป่วยดีขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ