“มะเร็งตา” พบได้บ่อยในเด็กเล็กเจอเร็วหายได้ ไม่ต้องควักลูกตาเพื่อรักษา
มะเร็งตา มะเร็งชนิดที่พบมากในเด็กเล็ก คาดไทยพบผู้ป่วยรายใหม่ปีละ 60-70 คน สัญญาณและมีวิธีรักษาที่ไม่ต้องสูญเสียลูกตาเพื่อรักษา
หลายคนติดนิสัยการเล่นโทรศัพท์มือถือในที่มืดและมีความกังวลว่ากับความเชื่อว่านิสัยดังกล่าวเป็นเวลานานหลายๆชั่วโมงอาจทำให้เป็นมะเร็งตาหรือตาบอดถาวร โดยเรื่องดังกล่าวทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงถึงประเด็นนี้ว่ายังไม่มีหลักฐานทางวิชาการยืนยันว่าการเล่นโทรศัพท์มือถือในที่มืดเป็นเวลานานนั้นเสี่ยงหรือเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งตาแต่อย่างใด
ลูกหัวโตผิดปกติ-ปวดหัวเรื้อรัง รีบพบแพทย์ อาจเป็นสัญญาณ “มะเร็งสมองในเด็ก”
“เบาหวานขึ้นตา” ภาวะแทรกซ้อนอันตราย เสี่ยงตาบอด แนะสัญญาณเตือนรีบพบแพทย์
โดยผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือเล่นโทรศัพท์นาน ๆ จะมีการใช้สายตาเพ่งหน้าจอตลอดเวลา ทำให้เกิดอาการตาล้า หรือตาแห้ง ตาแดงเนื่องจากมีการกระพริบตาที่น้อยลงอาจทำให้เกิดอาการเคืองตาได้ง่าย ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีเพราะอาจเป็นปัญหาสะสม
รู้จักโรคมะเร็งในเด็ก มักพบในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี พบได้ 1 ใน 20,000 คน อายุเฉลี่ยที่พบและเริ่มมีอาการ ถ้าเป็นตาเดียวอายุประมาณ 2 ขวบครึ่ง ในประเทศไทยคาดว่า พบผู้ป่วยรายใหม่ปีละ 60-70 คน อาจเป็นตาเดียวหรือเป็นทั้งสองตาพร้อมกัน
สาเหตุของโรคมะเร็งตา เกิดจากเซลล์จอประสาทตาเด็กเจริญผิดปกติกลายเป็นมะเร็ง ส่วนใหญ่ 94% เป็นเอง แต่ประมาณ 6% เป็นพันธุกรรมถ่ายทอดมาจากครอบครัวพ่อหรือแม่
อาการมะเร็งตาในเด็ก
- ตาวาว เกิดจากแสงที่สะท้อนจากตัวก้อนมะเร็ง
- ในจอประสาทตา มีลักษณะจุดสีขาวที่กลางตาดำ เห็นสีขาวในรูม่านตาดำ
- ตาเหล่ ตาโปน ปวดตา
- เลือดออกในช่องด้านหน้าม่านตา
- มีการอักเสบของเนื้อเยื่อรอบลูกตาจากเนื้อเยื่อบริเวณรอบตา
- ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณใบหน้า
- ปวดศีรษะรุนแรง
- ชัก แขนขาอ่อนแรง ปวดกระดูก หรือคลำพบก่อนตามแขนและขา
ทั้งนี้หากเด็กมีอาการตาวาวหรือมองเห็นผิดปกติ รีบพบจักษุแพทย์ทันทีโดยหากตรวจพบในระยะแรกมีโอกาสรักษาให้หายได้ โดยความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบันถ้าคนไข้มาพบแพทย์เร็วอาจเก็บลูกตาไว้ได้ ไม่ต้องควักออก รักษาโดยการฉายเลเซอร์ จี้ตาด้วยความเย็นหรือให้เคมีบำบัดตรงบริเวณก้อน
ขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันราชานุกูล,สภากาชาดไทย และ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม
ข่าวปลอม! ยังไม่มีงานวิจัยชี้ชัด โทรศัพท์ส่งผลต่อคลื่นสมอง ทำให้หลับยาก
เล่นโทรศัพท์ในที่มืด “ตาบอด” จริงหรือไม่? แนะวิธีถนอมสายตาระยะยาว
“แพ้ยาสลบ” พบ 1 ในแสน ส่งต่อผ่านพันธุกรรม อันตรายถึงชีวิตหากยื้อไม่ทัน