แบบทดสอบเช็กความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ ฟรี! รู้ก่อนรักษาก่อนมีโอกาสหายได้!
มะเร็งลำไส้ ปัญหาสารธารณสุขทั่วโลกที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงสูงขึ้นและคุณอาจกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงโดยไม่รู้ตัว เช็กอัพตัวเองผ่านแบบสอบถามออนไลน์ไม่กี่ข้อ รู้ก่อน รักษาก่อน ป้องกันการลุกลามของโรค
มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancer) ชนิดมะเร็งที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นปัญหาในระบบสาธารณสุขทั่วโลก ที่มีปัจจัยหลักมาจากกรรมพันธุ์และพฤติกรรมการกินอาหารไขมันสูง ไหม้เกรียม และแปรรูปมากขึ้นของคนยุคใหม่ ซึ่งในระยะเริ่มแรกอาจไม่ค่อยมีอาการที่ชัดเจนมากนัก สามารถสังเกตได้จากการขับถ่ายที่ผิดปกติเป็นหลัก เช่น ท้องผูก ท้องเสีย สลับกัน ถ่ายมีเลือดปน มีสีคล้ำกว่าปกติ มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ หรือขนาดอุจจาระที่มีลักษณะลีบผิดไปจากเดิมเพราะอาจหมายถึงลำไส้มีความผิดปกติและส่งผลต่อรูปทรงของอุจจาระได้
6 สัญญาณ “มะเร็งลำไส้” พบอัตราสูง10:1แสนคน คาดเชื่อมโยงพฤติกรรมการกิน
มะเร็งลำไส้ คาดพบป่วยเพิ่มอีก 2.4 เท่า ใครเสี่ยงมากกว่าคนอื่น?
การวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
- การซักประวัติ
- การตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น การตรวจทางทวารหนัก
- การตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การตรวจอุจจาระทางห้องปฏิบัติการ การถ่ายภาพเอกซเรย์ด้วยการสวนแป้งทางทวารหนัก ทั้งนี้ เมื่อพบความผิดปกติ จะทำการตรวจอย่างละเอียดโดยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ซึ่งเป็นการส่องกล้องเข้าไปทางทวารหนัก เพื่อให้เห็นภาพภายในลำไส้ใหญ่ทั้งหมด รวมถึงสามารถตัดชิ้นเนื้อที่สงสัยส่งตรวจทางพยาธิวิทยาได้ วิธีนี้จึงเป็นวิธีการตรวจที่มีความแม่นยำมากที่สุด
อย่างไรก็ตามคุณสามารถทำแบบประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นออนไลน์ฟรี! กับโรงพยาบาลสมิติเวช ด้วยตนเองได้เลย “คลิกที่นี่”
คำถามในแบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่เบื้องต้น รวบรวมจากปัจจัยเสี่ยงและอาการที่พบได้บ่อยของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการเหล่านี้อาจคล้ายกับอาการของโรคลำไส้และระบบทางเดินอาหารอื่นๆ ทำให้ผู้ป่วยคิดว่าไม่เป็นอันตราย
ปวดท้องแบบไหน? บอกตำแหน่ง “ลำไส้อุดตัน”ปล่อยไว้อันตรายถึงชีวิต
แบบสอบถามมะเร็งลำไส้ไม่กี่ข้อบอกอะไรกับคุณ
- 0 คะแนน ไม่มีปัจจัยเสี่ยงหรืออาการที่พบได้บ่อยของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่
- 1-21 คะแนน มีปัจจัยเสี่ยง และมีอาการที่พบได้บ่อยของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่อยู่บ้าง แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านโรคทางเดินอาหารและตับ เพื่อวินิจฉัยอาการและแนะนำการดูแลรักษา
- 22-44 คะแนน หมายถึง ท่านมีปัจจัยเสี่ยงสูงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ อย่างน้อย 1 ปัจจัย (อายุ 45 ปีขึ้นไป หรือมีประวัติครอบครัวสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่) อีกทั้งยังมีอาการอื่นๆ ที่พบได้บ่อยของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านโรคทางเดินอาหารและตับ เพื่อวินิจฉัยอาการและแนะนำการดูแลรักษา
- 45-50 คะแนน หมายถึง ท่านมีปัจจัยเสี่ยงสูงทั้ง 2 ปัจจัย (อายุ 45 ปีขึ้นไป และมีประวัติครอบครัวสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่) รวมถึงมีอาการที่พบได้บ่อยของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย แนะนำรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านโรคทางเดินอาหารและตับ เพื่อขอคำปรึกษาและคำแนะนำในการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถรักษาให้หายขาดได้ในระยะแรก เนื่องจากสาเหตุมักมาจากการเกิดติ่งเนื้อ ติ่งเนื้องอกในผนังลำไส้ เป็นเซลล์ผิดปกติที่สามารถกำจัดออกได้ ป้องกันการเพิ่มจำนวนตามอายุของผู้ป่วย และป้องกันไม่ให้ติ่งเนื้อเปลี่ยนเป็นเนื้อร้ายได้อีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช
"ถ่ายเป็นเลือด"แยกให้ออกบอกริดสีดวง-มะเร็งลำไส้หรือไม่?
“อาหารไขมันสูง”กระตุ้นติ่งเนื้อในลำไส้ จุดเริ่มต้นมะเร็งลำไส้ใหญ่