แนวทางดูแลตนเองหลังทำคีโม (เคมีบำบัด)-วิธีรับมือผลข้างเคียงที่พบบ่อย
คีโม หรือการทำเคมีบำบัด หนทางรักษา ป้องกันการลุกลามและประคับประคองผู้ป่วยมะเร็งหากได้รับตามแพทย์การรักษาแล้วหลายคนมักเจอกับผลข้างเคียง แนะวิธีรับมือและแนวทางการดูแลตนเอง
เคมีบำบัด คือ การนำสารเคมีหรือยามาใช้ในการรักษามะเร็ง ยาเหล่านี้ถือว่าเป็นยาต่อต้านมะเร็ง ยาเคมีบำบัดจะเข้าไปขัดขวางขบวนการเจริญเติบโตของวงจรชีวิตเซลล์ทำให้เซลล์ตาย ยาแต่ละตัวออกฤทธิ์แตกต่างกัน ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งอาจให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดอย่างเดียว บางแผนการรักษาประกอบด้วยยาหลายชนิดที่ให้ร่วมกัน หรือให้ร่วมกับการรักษาวิธีอื่นเมื่อให้ยาเคมีบำบัดเข้าสู่ร่างกายจะไปทำลายเซลล์มะเร็ง เเละทำลายเซลล์ปกติบางส่วนทำให้มีผลกระทบต่อเซลล์ปกติด้วย
สปสช. ย้ำ สิทธิบัตรทอง “รักษามะเร็งฟรี” เช็กสถานที่-ขั้นตอนรับบริการ
สัญญาณมะเร็ง 3 อันดับคร่าชีวิตผู้หญิง เจอเร็วโอกาสหายสูง ลดการเสียชีวิต
โดยเฉพาะเซลล์ที่มีการเจริญและแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เช่นเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร, เม็ดเลือด, เส้นผม และระบบสืบพันธุ์ (รังไข่, ลูกอัณฑะ) ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุของอาการข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ระยะหนึ่งในระหว่างการให้ยาแต่ละชุด
อาการข้างเคียงที่พบบ่อย เช่น คลื่นไส้อาเจียน, ผมร่วง, แผลในปาก, ปริมาณเม็ดเลือดลดลง เป็นต้น อาการข้างเคียงที่ต้องปรึกษาแพทย์ เช่น มีเลือดออกหรือเป็นแผลในปากมาก, มีผื่นหรืออาการแพ้, มีไข้ หนาวสั่น, ปวดมากบริเวณที่ฉีด, หายใจลำบาก, ท้องเดินหรือท้องผูกอย่างรุนแรง, ปัสสาวะหรืออุจจาระมีเลือดปน
วิธีปฏิบัติตนเมื่อมีอาการข้างเคียง
- รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย
- รับประทานครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด มีไขมัน และของทอดทุกชนิด
- ทำความสะอาดปากและฟันหลังอาหารทุกมื้อ
- ถ้ารู้สึกคลื่นไส้ ให้พักผ่อนและสูดหายใจยาวๆ ลึกๆ ช้าๆ
- ควรรีบปรึกษาแพทย์ หากมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนมากตลอดวัน และรับประทานอาหารได้น้อยมาก
รับมือ 8 อาการข้างเคียงจากการให้เคมีบำบัด
- ผมร่วง ควรตัดผมสั้นเพื่อสะดวกในการดูแล ใช้แชมพูสระผมชนิดอ่อนๆ เช่น แชมพูเด็ก และไม่ควรสระผมบ่อยใช้แปรงที่มีขนนิ่มๆแปรงผม หรือหวีที่มีซี่ฟันห่างๆ และอย่าหวีผมบ่อยห้ามไดร์ผม ดัดผม หรือย้อมผม ควรเตรียมวิกผมไว้ล่วงหน้าก่อนผมร่วงหมด เพราะวิกผมที่เตรียมไว้จะเข้ากับรูปหน้าที่มีผมตาม ธรรมชาติมากกว่าซื้อวิกผมเมื่อผมร่วงมากแล้ว
- แผลในปาก ใช้แปรงฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม และบ้วนปากทุกครั้งหลังรับประทานอาหารทุกมื้อ รับประทานอาหารอ่อนๆอมน้ำแข็งบด จะช่วยให้รู้สึกสบายขึ้น
- ท้องเสีย รับประทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุกแล้ว ควรรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย เช่น กล้วยรับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย ครั้งละน้อยๆหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น ถั่ว โซดาควรงดดื่มนม ชา และกาแฟ ตลอดจนน้ำผลไม้ทุกชนิด ดื่มน้ำมากๆ เช่น น้ำอุ่นๆ น้ำชาอุ่นๆ เป็นต้นรับประทานยาแก้ท้องเสียตามคำสั่งแพทย์
- ท้องผูก รับประทานอาหารที่มีกากใยมาก เช่น ผัก และผลไม้ ข้าวกล้อง หรือข้าวซ้อมมือ ดื่มน้ำมากๆ วันละไม่ต่ำกว่า 3 ลิตร อาจจะเป็นน้ำผลไม้ก็ได้ ออกกำลังกายให้เพียงพอและสม่ำเสมอ ใช้ยาถ่าย หรือ ยาระบาย ตามคำสั่งแพทย์
- ผิวหนังและเล็บ ยาบางชนิดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง และเล็บ ผิวหน้าอาจมีฝ้าขึ้น หรือสีคล้ำ ผิวหนังแห้งเล็บมีรอยดำคล้ำ อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นชั่วคราว หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดจ้า ด้วยการสวมเสื้อแขนยาว ใช้ร่ม หรือสวมหมวก ทายากันแดดที่หน้า เพื่อป้องกันฝ้า ทาครีมหรือน้ำมันที่ผิวหนังเพื่อช่วยให้ชุ่มชื่น
- การป้องกันการติดเชื้อ ยาเคมีบำบัดอาจทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วง 7-14 วัน หลังให้ยาไม่ควรไปในที่ที่ฝูงชนแออัด เช่น ศูนย์การค้า ตลาดนัด โรงภาพยนตร์ หลีกเลี่ยงให้ห่างจากคนที่เป็นโรคติดต่อ เช่น เป็นหวัด ไข้หวัดใหญ่ หัด ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร และภายหลังจากเข้าห้องน้ำทุกครั้ง ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อประกอบด้วยมีไข้สูง หนาวสั่น เจ็บคอ ไอมาก ควรรีบมาพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยากินเอง
- เพศสัมพันธ์ ยาเคมีบำบัดอาจมีผลกับอวัยวะสืบพันธ์ได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย แต่ไม่เสมอไปซึ่งผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดได้นั้นขึ้นอยู่กับยาที่ผู้ป่วยได้รับ อายุ และสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วยเอง ในเพศชายยาเคมีบำบัดจะทำให้มีการผลิตอสุจิน้อยลง ขึ้นอยู่กับยาที่ได้รับแต่ผู้ป่วยก็สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติและสามารถมีบุตรได้โดยการเก็บอสุจิไว้กับธนาคารฯ ก่อนได้รับยาเคมีบำบัดโดยผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ในเรื่องเหล่านี้
ปวดท้อง! สัญญาณมะเร็งรังไข่-เนื้องอกปากมดลูก แนะ “ตรวจภายใน” ลดเสี่ยง
- ประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ หรือขาดประจำเดือนช่องคลอดแห้ง เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ควรใช้ครีมหล่อลื่นช่วยนอกจากนี้ควรคุมกำเนิดในระหว่างรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเพราะทารกในครรภ์อาจเกิดความผิดปกติได้
- อารมณ์ ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดอาจมีอารมณ์แปรปรวนเนื่องจากกังวลต่อโรคที่เป็น และต่ออาการอันเกิดจากผลข้างเคียงของยา บางรายอาจมีความวิตกถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาอีกด้วย ครอบครัว ญาติ และเพื่อน ควรมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ป่วยโดยการดูแลเอาใจใส่ และพูดคุยให้กำลังใจ เพื่อให้รู้สึกสบายใจ มีกำลังใจขึ้น และคลายความวิตกกังวล ไม่ควรท้อแท้ หรือหมดกำลังใจ และหยุดการรักษาโดยที่การรักษายังไม่ครบกำหนด ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นจากการได้รับยาเพื่อบรรเทาอาการให้น้อยลง หรืออาจพิจารณาปรับแผนการรักษา ถ้าเกิดมีอาการรุนแรง อาการข้างเคียงที่เกิดไม่ได้หมายความว่าอาการของโรคมะเร็งเป็นมากขึ้น ความรุนแรงของอาการข้างเคียงก็ไม่มีความสัมพันธ์กับผลของยาเคมีบำบัดต่อเซลล์มะเร็ง
อย่างไรก็ตามอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจะหายไปเมื่อสิ้นสุดการให้ยาเคมีบำบัด อาการข้างเคียงจะขึ้นกับชนิดของยาเคมีบำบัดที่ได้รับ และปฏิกิริยาตอบสนองต่อยาของร่างกายผู้ได้รับยาเคมีบำบัดนั้น เมื่อหยุดยาเซลล์เหล่านี้ก็จะฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติได้เร็ว การให้มีระยะพักระหว่างให้ยาแต่ละครั้งก็เพื่อให้เซลล์เหล่านี้ฟื้นตัวกลับสู่สภาพปกติ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
“มะเร็งตับ” ทำไมชายวัย 50+ ต้องระวัง - ปัจจัยเสี่ยงไม่ใช่แค่ดื่มเหล้า
“ไวรัสตับอักเสบซี” ภัยเงียบไม่มีวัคซีนป้องกัน เสี่ยงตับแข็ง-มะเร็งตับ