มะเร็งคืออะไร? เช็กสัญญาณรีบพบแพทย์ ยิ่งเจอเร็วยิ่งอัตราอยู่รอดยิ่งสูง
มะเร็งโรคที่คนรุ่นใหม่เป็นเยอะขึ้น แพทย์เผยอาจเป็นเพราะพฤติกรรมชีวิตสุดโต่ง เช็กสัญญาณโรคที่ต้องรีบพบแพทย์ยิ่งเจอเร็วยิ่งมีอัตรารอดชีวิตสูง เผย 5 ระยะโรคมะเร็งระยะไหนรักษาหายขาดได้ ระยะไหนทำได้แค่ประคับประคอง
โรคมะเร็ง คือ เกิดจากการมีเซลล์ผิดปกติในร่างกายและเซลล์เหล่านี้มีการเจริญเติบโตรวดเร็วเกินปกติ ร่างกายควบคุมไม่ได้ เซลล์เหล่านี้จึงเจริญลุกลามและแพร่กระจายทั่วร่างกาย ส่งผลให้เซลล์ปกติของเนื้อเยื่อ/ อวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตในที่สุด ได้แก่ ปอด ตับ สมอง ไต กระดูก และไขกระดูก
- โรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชาย ได้แก่ มะเร็งตับ,มะเร็งปอดและมะเร็งลำไส้ใหญ่
- โรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิง ได้แก่ มะเร็งเต้านม,มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งตับ
7 สัญญาณ “โรคมะเร็ง” เนื้อร้ายคุกคามชีวิตรู้เร็วรักษาได้
5 สารพิษปนเปื้อนในอาหารปลุกเซลล์มะเร็ง-แนะวิธีกินให้ถูกหลัก
กระบวนการเกิดโรคมะเร็ง
เมื่อร่างกายได้รับสารก่อมะเร็ง เช่น สารเคมี ไวรัส รังสี สิ่งเหล่านี้จะทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงและในที่สุดเซลล์ปกติก็จะกลายเป็นเซลล์มะเร็ง ถ้าระบบภูมิต้านทานของร่างกายไม่สามารถทำลายเซลล์นั้นได้ เซลล์มะเร็งก็จะแบ่งตัวอย่างรวดเร็วกลายเป็นก้อนมะเร็งต่อไป
สาเหตุโรคมะเร็ง
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของโรคมะเร็ง แต่เชื่อว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งอยู่หลายปัจจัย ดังนี้
สาเหตุจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย
สารเคมีบางชนิด เช่น
- สารเคมีในควันบุหรี่และเขม่ารถยนต์
- สารพิษจากเชื้อรา
- สารพิษที่เกิดจากเนื้อสัตว์รมควัน ปิ้ง ย่าง ทอดจนไหม้เกรียม
- สีย้อมผ้า สารเคมีบางชนิดที่เกิดจากขบวนการทางอุตสาหกรรม
- รังสีต่าง ๆ รวมทั้งรังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดด
การติดเชื้อเรื้อรัง เช่น
- ไวรัสตับอักเสบชนิดบี มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งตับ
- ฮิวแมน แพพพิโลมา ไวรัส (Human Papilloma Virus หรือ HPV) อาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งของเซลล์เยื่อบุต่าง ๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก
- เอบสไตน์ บาร์ ไวรัส (Epstein Barr Virus) มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองหรือมะเร็งโพรงหลังจมูก
- เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลรัย (Helicobacter Pylori) มีความสัมพันธ์กับมะเร็งกระเพาะอาหาร
- พยาธิ เช่น พยาธิใบไม้ตับ มีความสัมพันธ์กับมะเร็งท่อน้ำดีในตับ
สาเหตุภายในร่างกาย
- กรรมพันธุ์ที่ผิดปกติ
- ความไม่สมดุลทางฮอร์โมน
- ภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง
- การระคายเคืองที่เกิดซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน
- ภาวะทุพโภชนาการ
ทำไมคนรุ่นใหม่เป็นมะเร็งเยอะขึ้น
“โรคมะเร็ง” กลายเป็นโรคร้ายที่พบได้บ่อยมากในปัจจุบัน ในขณะที่อายุของผู้ป่วยเองก็เริ่มลดน้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งหนึ่งในสาเหตุมาจาก พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ที่เป็นโทษต่อสุขภาพร่างกาย
พฤติกรรมผิดๆ ของคนรุ่นใหม่ ยิ่งทำยิ่งเสี่ยงมะเร็ง
- สูบบุหรี่หรือดื่มเหล้า
- ชอบทานอาหารไขมันสูง
- เครียดจัด นอนดึก กินดึก
- ไม่ชอบทานผัก เน้นหนักประเภทเนื้อแดง
- ทานอาหารแช่แข็ง อาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง
- ชอบทานอาหารปิ้งย่าง อาหารทอด
- กลั้นปัสสาวะบ่อย
อาการน่าสงสัยว่าเป็นมะเร็ง
ไม่มีอาการเฉพาะของโรคมะเร็ง แต่เป็นอาการเช่นเดียวกับการอักเสบของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่เป็นมะเร็ง โดยที่แตกต่างคือ มักเป็นอาการที่แย่ลงเรื่อย ๆ และเรื้อรัง ดังนั้นเมื่อมีอาการต่าง ๆ นานเกิน 1 – 2 สัปดาห์ จึงควรรีบพบแพทย์ อย่างไรก็ตามอาการที่น่าสงสัยว่าเป็นมะเร็ง ได้แก่
- มีก้อนเนื้อโตเร็วหรือมีแผลเรื้อรัง ไม่หายภายใน 1 – 2 สัปดาห์หลังจากการดูแลตนเองในเบื้องตัน
- มีต่อมน้ำเหลืองโต คลำได้ มักจะแข็ง ไม่เจ็บ และโตขึ้นเรื่อย ๆ
- ไฝ ปาน หูดที่โตเร็วผิดปกติหรือเป็นแผลแตก
- หายใจหรือมีกลิ่นปากรุนแรงจากที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
- เลือดกำเดาออกเรื้อรัง มักออกเพียงข้างเดียว (อาจออกทั้งสองข้างได้)
- ไอเรื้อรังหรือไอเป็นเลือด
- มีเสมหะ น้ำลาย หรือเสลดปนเลือดบ่อย
สปสช. ย้ำ สิทธิบัตรทอง “รักษามะเร็งฟรี” เช็กสถานที่-ขั้นตอนรับบริการ
ทั่วไปโรคมะเร็งมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 – 4 ซึ่งทั้ง 4 ระยะ อาจแบ่งย่อยได้อีกเป็นอีกเป็น เอ (A) บี (B) หรือ ซี (C) หรือ เป็น (1) หรือ (2) เพื่อแพทย์โรคมะเร็งใช้ช่วยประเมินการรักษา ส่วนโรคมะเร็งระยะศูนย์ (0) ยังไม่จัดเป็นโรคมะเร็งอย่างแท้จริง เพราะเซลล์เพียงมีลักษณะเป็นมะเร็ง แต่ยังไม่มีการรุกราน (Invasive) เข้าเนื้อเยื่อข้างเคียง
- ระยะ 0 อยู่บนชั้นของเซลล์ปกติยังไม่แทรกเข้าไปในเนื้อเยื่อปกติ
- ระยะที่ 1 ขนาดเล็กยังไม่ลุกลาม
- ระยะที่ 2 ก้อนแผลมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มลุกลามภายในเนื้อเยื่อ อวัยวะ
- ระยะที่ 3 ก้อนแผลมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มลุกลามเข้าเนื้อเยื่ออวัยวะข้างเคียง และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เนื้อเยื่อ/อวัยวะที่เป็นมะเร็ง
- ระยะที่ 4 : ก้อนแผลมะเร็งขนาดโตมาก และ/ หรือลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ/ อวัยวะข้างเคียง จนทะลุ และ/ หรือเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ก้อนมะเร็ง โดยพบต่อมน้ำเหลืองโตคลำได้ และ/ หรือมีหลากหลายต่อม และ/ หรือ แพร่กระจายเข้ากระแสโลหิต และ/ หรือ หลอดน้ำเหลือ / กระแสน้ำเหลือง ไปยังเนื้อเยื่อ/ อวัยวะที่อยู่ไกลออกไป เช่น ปอด ตับ สมอง กระดูก ไขกระดูก ต่อมหมวกไต ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง ในช่องอก และ/ หรือต่อมน้ำเหลืองเหนือกระดูกไห
มะเร็งเป็นโรคที่รักษาหายได้ แต่ทั้งนี้โอกาสรักษาหายขึ้นอยู่กับ
- ระยะโรค
- ชนิดเซลล์มะเร็ง
- ผ่าตัดได้หรือไม่ ถ้าผ่าตัดได้สามารถผ่าตัดก้อนมะเร็งออกได้ทั้งหมดหรือไม่
- มะเร็งเป็นชนิดดื้อต่อรังสีรักษา และ/ หรือ ยาเคมีบำบัด และ/ หรือ ยารักษาตรงเป้าหรือไม่
- อายุ
- สุขภาพผู้ป่วย
โอกาสรักษามะเร็งได้หาย ในภาพรวมโดยประมาณ อัตราอยู่รอดที่ 5 ปี
- โรคระยะ 0 อัตรารอดชีวิต 90 – 95 %
- โรคระยะที่ 1 อัตรารอดชีวิต 70 – 90 %
- โรคระยะที่ 2 อัตรารอดชีวิต 70 – 80 %
- โรคระยะที่ 3 อัตรารอดชีวิต 20 – 60 %
- โรคระยะที่ 4 อัตรารอดชีวิต 0 – 15 %
ทั้งนี้การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง คือ การตรวจให้พบโรคมะเร็งตั้งแต่ระยะยังไม่มีอาการ (มักเป็นมะเร็งในระยะ 0 หรือระยะ 1) พราะโรคมะเร็งในระยะนี้มีโอกาสรักษาได้หายสูงกว่าโรคมะเร็งในระยะอื่น ๆ การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ คือ การตรวจที่เมื่อพบโรคแล้ว ภายหลังการรักษาผู้ป่วยจะมีอัตรารอดจากมะเร็งสูงขึ้นหรือมีอัตราเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลดลงนั่นเอง ปัจจุบันการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ คือ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ และ โรงพยาบาลเปาโล
“Targeted Therapy”ยืดอายุผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย และการดูแลแบบประคับประคอง
3 โรคตับคนรุ่นใหม่ จุดเริ่มต้นมะเร็งตับ ป้องกันได้แค่ปรับพฤติกรรม