รู้จัก “Middle Insomnia” โรคตื่นกลางดึกเวลาเดิมสัญญาณหยุดหายใจขณะหลับ
ใครบ้างเคยตื่นกลางดึกเวลาเดิม รู้หรือไม่ ? คุณอาจกำลังป่วย?
ปัญหาการนอนนับว่าเป็นปัญหาที่เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย ขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยเกิดโรค และมีบางคนที่ต้องเจอกับ อาการตื่นกลางดึกในเวลาเดิมซ้ำๆ รู้หรือไม่ ? นั้นคือโรค “Middle Insomnia” ตื่นกลางดึกเวลาเดิม ที่เป็นสัญญาณของโรคหยุดหายใจขณะหลับ สะท้อนความเครียดด้วย เช็กปัจจัยก่อโรค อาการ ความรุนแรง และ วิธีรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
คุณหมอโอ๊ต นายแพทย์พงศกร จินดาวัฒนะ ผู้อำนวยการอาวุโสโครงการพิเศษพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสาร ประจำศูนย์การแพทย์ รพ.กรุงเทพ
Middle Insomnia | อาการน่าเป็นห่วง EP.76 | PPTV HD 36
นอนกรน-หลับไม่สนิท สัญญาณ “หยุดหายใจขณะนอนหลับ” อันตรายถึงชีวิต
เปิดเผยถึง สาเหตุของ โรค “Middle Insomnia” ตื่นกลางดึกเวลาเดิม และไม่สามารถหลับตาไม่ได้ สาเหตุเกิดจากอะไรและอันตรายหรือไม่ ?
โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) ในทางการแพทย์แบ่งออกเป็น 3 แบบ
- อาการหลับยาก (initial Insomnia ) กว่าจะมีอาการหลับได้ แต่ต้องใช้ระยะเวลาเป็นชั่วโมง
- อาการหลับไม่ทน (Middle Insomnia) มักตื่นกลางดึก เช่น หัวค่ำอาจพอหลับได้ แต่ไม่นานก็จะตื่น ในบางคนอาจตื่นแล้วกลับหลับอีกไม่ได้
- ตื่นเร็วและหลับต่อไม่ได้(terminal insomnia) ตื่นเร็วกว่าเวลาที่จะเป็น และไม่สามารถนอนต่อไป
"Middle Insomnia" ตื่นกลางดึกเวลาเดิม น่ากังวลหรือไม่?
คุณหมอโอ๊ต ระบุว่าเป็นอาการ Middle Insomnia ตื่นกลางดึก น่ากังวลกว่าการนอนไม่หลับอีก 2 แบบ เพราะร่างกายพักผ่อนไม่เต็มที่ เพิ่มความเสี่ยงความดันโลหิตสูง เบาหวาน เพิ่มความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุด้วย มีโอกาสสูงที่จะง่วงกลางวันและหลับใน ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับการสังเกตอาการและรักษา ซึ่ง Middle Insomnia สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย พบมากในวัยนักเรียน นักศึกษาที่เพิ่งจบและเริ่มทำงาน มากพอๆกับวัยทำงานและผู้สูงอายุ ขึ้นอยู่กับความเครียดของแต่ละคน
สัญญาณ Middle Insomnia ตื่นกลางดึกบ่อยแค่ไหนควรพบแพทย์
ตื่นกลางดึกอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ติดต่อกัน 3 เดือนขึ้นไป
ปัจจัยเกิด Middle Insomnia ตื่นกลางดึก
- ปัจจัยภายนอก
- การไปอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังกลางดึก เช่นสถานบันเทิง สถานก่อสร้างที่ไม่ได้มีการควบคุมเรื่องเวลา
- การดื่มคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ก่อนนอนที่เข้าไปรบกวนการนอน
- ห้องนอนไม่เหมาะสม มีงานวิจัยเกี่ยวกับที่นอน ที่บางคนใช้ที่นอนที่เริ่มเสื่อมคุณภาพทำให้นอนไม่สบาย ทำให้คุณภาพการนอนลดลงไม่ราบรื่น ซึ่งอาจจะแก้ไขจากตรงนี้ อีกทั้งควรปรับห้องนอนให้เหมาะสมมืดสนิดและอากาศถ่ายเท หลีกเลี่ยงการเล่นโทรศัพท์ก่อนนอน
- ปัจจัยภายใน
- ปัจจัยทางกาย เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือ obstructive sleep apnea : OSA ที่หลับไปสักพักจนร่างกายผ่อนคลายแต่มีลิ้นหย่อนเข้าไปอุดช่องทางหายใจจนทำให้สะดุ้งตื่น
- ปัจจัยจิตใจ เช่น ความเครียด ที่ทำให้เข้ารบกวนการนอน
แนะนำว่าให้ทำ Sleep diary เพื่อจดบันทึกการนอนหากมีการเกิดขึ้นแบบซ้ำๆ แพทย์จะนำมาวิเคราะห์ได้ว่าอะไรคือสาเหตุหลัก
ผลกระทบจากโรค Middle Insomnia
- อารมณ์เปลี่ยนแปลงและหงุดหงิดง่าย หากสะสมมากอาจส่งกระทบต่อการใช้ชีวิตและเกิดอุบัติเหตุได้
- ร่างกายไม่ได้พักผ่อนและซ่อมแซมตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ
- เพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคเบาหวานความดัน
- เพิ่มความเสี่ยง โรคซึมเศร้ามากขึ้น
นอนแล้วขากระตุกจนสะดุ้งตื่น ภาวะที่ยังไม่ทราบสาเหตุแต่อาจแฝงโรค
ยานอนหลับช่วย Middle Insomnia ได้หรือไม่ ?
คุณหมอโอ๊ต ระบุว่า ยานอนหลับเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและแนะนำว่าให้ดูชนิดของยานอนหลับว่าเป็นการออกฤทธิ์ในระยะสั้นหรือระยะยาว เพราะหากออกฤทธิ์ระยะยาว การนอนหลับต่อในชั่วโมงที่น้อย อาจจะเกิดอาการเมายานอนหลับค้าง และเกิดอาการเวียนหัวได้ เพราะฉะนั้นการแก้ Middle Insomnia จากสาเหตุจะเป็นการแก้ที่ตรงจุดมากกว่า
วิธีรักษา Middle Insomnia ระยะแรกเริ่ม
- กำจัดปัจจัยภายนอก จัดสถานที่ห้องนอนให้เหมาะสม
- ออกกำลังกาย ฟังเพลงกล่อม
- เข้านอนให้เป็นเวลาเป็นประจำ
- ดื่มนมอุ่นๆ ก่อนนอนช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น
- จำกัดการใช้โทรศัพท์ให้เหมาะสม
- ใช้ยาประเภทเมลาโทนิน(Melatonin)เสริม ก็ช่วยได้เช่นกันแต่ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะบุคคล
ทั้งนี้หากพบอาการนอนไม่หลับจนส่งผลกระทบต่อชีวิต โดยไม่ต้องให้วินิจจัยว่าเป็นโรค Middle Insomnia แนะนำว่าให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อวางแผนการรักษา แก้ไขให้ตรงจุดเพื่อให้คุณภาพการนอนของคุณมีประสิทธิภาพร่างกายได้พักผ่อนและซ่อมแซมตัวเองอย่างเต็มที่
ข้อมูลสุขภาพ : บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) : BDMS
ทางเลือกเพื่อการนอนหลับ “เมลาโทนิน” ใครบ้างควรใช้ แล้วควรกินอย่างไร?
8 คำถาม STOP-BANG ทดสอบ "หยุดหายใจขณะหลับ" พบ 3 ข้อควรพบแพทย์