นอนแล้วขากระตุกจนสะดุ้งตื่น ภาวะที่ยังไม่ทราบสาเหตุแต่อาจแฝงโรค
หลานคนอาจเคยนอนๆอยู่แล้วสะดุ้งตื่นอย่างไม่ทราบสาเหตุ นั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะขากระตุกขณะหลับที่พบได้ทุกเพศทุกวัย และอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางชนิดด้วย
ภาวะขากระตุกขณะหลับ โรคที่มีการกระตุกของขาซ้ำๆ ขณะนอนหลับ (Periodic Limb Movement Disorder, PLMD) ส่งผลต่อคุณภาพการนอน ทำให้หลับได้ไม่สนิทผู้ป่วยอาจตื่นระหว่างคืนหลายครั้งและอาจทำให้ง่วงได้ในตอนกลางวัน โรคนี้สามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ อายุตั้งแต่50-65 ปี และอาจพบในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ โดยจะพบอาการรุนแรงในช่วงสองไตรมาสหลัง
อาการของภาวะขากระตุกขณะหลับ
ผู้ป่วยอาจตื่นตอนกลางคืนหลายครั้งจากการที่ขากระตุก
สะดุ้งตื่นเพราะตะคริว! เช็กความผิดปกติ ปล่อยไว้เรื้อรังอาจก่อโรค
“ตะคริวตอนกลางคืน” เป็นบ่อยอันตราย? แล้วอาการแบบไหนควรพบแพทย์
ทำให้สมองมีการตื่นตัวบ่อย ๆ ขณะหลับ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าสู่ภาวะหลับลึกได้ จึงมักมีอาการเหมือนคนนอนไม่เต็มอิ่มง่วงนอนในเวลากลางวัน
- มักพบอาการกระตุกหรือมีการขยับที่ขา เข่า หรือ สะโพก แต่ก็สามารถเกิดขึ้นกับอวัยวะอื่น ๆ ได้
- การกระตุกหรือการขยับนี้มักจะเกิดเป็นจังหวะ โดยทั่วไปอาจเกิดทุก 20-40 วินาที
- ตัวผู้ป่วยเองอาจไม่รู้ตัวว่ามีอาการเหล่านี้แต่การกระตุก หรือการขยับขาอาจสร้างความรบกวนให้แก่คู่นอน
- ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งคืนแรกของ
- การนอนหลับความผิดปกตินี้อาจพบร่วมกับกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Legs Syndrome)
โรคนี้อาจไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่โรคนี้ก็มีความเกี่ยวข้องกับโรคอื่น ๆ เช่น โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โรคไต โรคกล้ามเนื้อผิดปกติหรือการขาดสารอาหารบางชนิด หรือ โรคอุดกั้นทางเดินหายใจขณะนอนหลับ โดยการวินิจฉัยโรคนี้ต้องใช้การตรวจการนอนหลับ (Polysomnography)
การรักษาภาวะขากระตุกขณะหลับ
หากรู้สาเหตุที่แน่ชัดสามารถทำได้โดยรักษาที่สาเหตุของโรคนั้น แต่ถ้าไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัด หรือมีอาการกระตุกอย่างรุนแรงส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ อาจรักษาได้โดยรับประทานยา เพื่อช่วยลดอาการกระตุกและทำให้สามารถนอนหลับพักผ่อนได้ดียิ่งขึ้น
- รักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น การให้ธาตุเหล็กเพื่อรักษา ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก หาและงดปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุ เช่น ยาบางกลุ่มข้างต้น หลีกเลี่ยงคาเฟอีน ในชากาแฟน้ำอัดลม ช็อคโกแลต ที่พบว่าทำให้ PLMD เป็นมากขึ้นได้
- การใช้ยารักษา เช่น dopamine agonist, ยาที่ใช้รักษาโรคลมชัก และยากลุ่ม benzodiazepines ซ่ึงส่วนใหญ่แล้วยาจะสามารถทำให้อาการ ดีขึ้นมากจนหายไปได้แต่จำเป็นต้องกินยาต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามไม่ควรละเลยภาวะดังกล่าว หากเป็นหนักเกินไปควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป
ลุกปัสสาวะบ่อยกลางดึก สัญญาณบอกโรคและภาวะหยุดหายใจ
ขอบคุณข้อมูลจาก : สภากาชาดไทย และ มหาวิทยาลัยมหิดล