“ความดันโลหิตสูง” ปล่อยไว้นานเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจหนาอันตรายถึงชีวิต
หากปล่อยให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงนาน ๆ แล้วไม่รักษา เสี่ยงทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ ส่งผลทำให้หัวใจโตและเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในที่สุด
รู้หรือไม่ ? สาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา กว่า 90% เกิดจากโรคความดันโลหิตสูง ทำให้ความดันในหลอดเลือดแดงสูงขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายทำงานหนักและหนาตัวขึ้น เลือดดีจากปอดและหัวใจห้องบนซ้ายไม่สามารถไหลลงหัวใจห้องล่างซ้ายได้ ส่งผลทำให้หัวใจโตและเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในที่สุด
อาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจไม่จำเป็นต้องมีอาการผิดปกติแต่ถ้าหากมีอาการ ส่วนใหญ่มักจะเป็นอาการเนื่องจากโรคที่เป็นสาเหตุ หรือผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่น
- อาการปวดศีรษะ
- เวียนศีรษะ มึนงง หรือตามัว
- เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
เช็กอาการ "ความดันโลหิตสูง" กำเริบหลังส่ง"ทักษิณ" ส่ง รพ. กลางดึก
7 สัญญาณเตือนเสี่ยง “โรคหัวใจ” อันตรายใกล้ตัวเฉียบพลันถึงชีวิต
การตรวจภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา
แพทย์ผู้รักษา สามารถให้การวินิจฉัยได้ โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกายโดยละเอียด โดยเฉพาะการตรวจร่างกายระบบหัวใจและหลอดเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงหัวใจ
การรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา
การรักษาตามสาเหตุของโรค เช่น ถ้าสาเหตุเกิดจากโรคความดันโลหิตสูง จะรักษาโดยให้ควบคุมอาหารเค็ม รวมถึงการใช้ยาลดความดันโลหิต โดยต้องรับประทานยาต่อเนื่อง พร้อมติดตามความดันโลหิตเป็นระยะ เพื่อควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ และลดผลแทรกซ้อนระยะยาว ค่าความดันปกติ ค่าบนต้องไม่เกิน 120 มิลลิเมตรปรอทและค่าล่างต้องไม่เกิน 80 มิลลิเมตรปรอท ถ้าค่าความดันโลหิตค่าบนมากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอทหรือค่าล่างมากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ทั้งนี้หากปล่อยทิ้งไว้หัวใจจะลดลง ทำให้เกิดโรคหัวใจระยะสุดท้ายและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ในที่สุด
4 วัยทันโรคหัวใจ ป้องกัน“ภาวะหัวใจล้มเหลว”ได้ตั้งแต่ในท้อง!
หน้ามืด-ใจสั่นบ่อย สัญญาณ “โรคหัวใจ” ที่คนอายุน้อยเป็นมากขึ้น!
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก : โรงพยาบาลพญาไท
ภาพจาก : Shutterstock