“มะเร็งรังไข่” ปัจจัยและกลุ่มอายุ-พฤติกรรมเสี่ยงภัยเงียบผู้หญิง
มะเร็งรังไข่ นับเป็นภัยเงียบของผู้หญิงที่แทบไม่มีสัญญาณเตือนอีกทั้งยังพบเป็นอันดับ 6 มะเร็งในประเทศไทย เช็กความเสี่ยงช่วงอายุ รู้หรือไม่ ใช้แป้งฝุ่นโรยบริเวณอวัยวะเพศก็เสี่ยง!
สถิติขององค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2551 พบว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ โดยสูงถึง 13% ของการเสียชีวิตของคนทั่วโลก แต่หากพูดถึงมะเร็งรังไข่ภัยร้ายที่ผู้หญิงต้องระวัง ซึ่งไทยพบมะเร็งรังไข่เป็นอันดับ 6 ของโรคมะเร็งในสตรี มีอุบัติการณ์ของการเกิดโรคประมาณ 6.8/100,000 คนต่อปี นับว่าเป็นภัยใกล้ตัวที่แทบไม่มีอาการนำหรือสัญญาณเตือนกว่าจะรู้ตัวมะเร็งร้ายก็ลุกลามรุนแรงไประยะท้ายๆแล้ว
“มะเร็งรังไข่” โรคร้ายระบบอวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิงอาการนำและระยะลุกลาม
ถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) ไม่รีบรักษาเสี่ยงมะเร็งเต้านม-เบาหวาน
มะเร็งรังไข่ ยังไม่มีหลักฐานยืนยันที่แน่ชัดเกี่ยวกับสาเหตุหลัก แต่จากสมมุติฐานของการเกิดโรค คาดว่าน่าจะมีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดบาดแผลที่รังไข่บ่อยๆ ประกอบกับการที่รังไข่ได้รับตัวกระตุ้นหรือสารก่อมะเร็งไปพร้อมๆ กัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งรังไข่ โดยสิ่งหนึ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้รังไข่ได้รับบาดเจ็บคือ การมีรอบเดือนในผู้หญิง เนื่องจากไข่ที่ตกในทุกๆ เดือนจะทำให้รังไข่มีแผลเล็กๆ ที่หายได้เอง หากได้รับการกระตุ้นให้มีไข่ตกบ่อยๆ ก็จะมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งรังไข่ได้เช่นกัน รวมถึงคนที่ยังไม่มีลูกก็จะถือว่ามีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิงที่มีบุตรแล้ว
กลุ่มเสี่ยงมะเร็งรังไข่
- พบมากในกลุ่มคนอายุมากกว่า 50-60 ปี หรือ พบได้ในเด็กอายุน้อยกว่า 20 ปี
- ปัจจัยทางพันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องประมาณ 20
- กลุ่มผู้หญิงที่มีการตกไข่ต่อเนื่องโดยไม่เว้นพักการตกไข่ เช่น การตั้งครรภ์
- บริโภคอาหารไขมันสูง เป็นปัจจัยอาหารก่อมะเร็ง
- ใช้แป้งฝุ่นโรยบริเวณอวัยวะเพศของผู้หญิง ทั้งในคุณแม่ที่ชอบทาแป้งให้ลูกหลังอาบน้ำ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์จะพบว่า แป้งฝุ่นมีโอกาสเล็ดลอดเข้าไปในช่องท้องกระตุ้นให้เกิดมะเร็งได้เช่นกัน
- กลุ่มคนที่รับประทานยาคุมกำเนิดซึ่งไปยับยั้งการตกไข่ เพราะฉะนั้นกลุ่มคนที่รับประทานยาคุมกำเนิดมีการศึกษาพบว่า เป็นมะเร็งรังไข่น้อยกว่ากลุ่มคนที่ไม่ได้รับประทานยาคุมกำเนิด
อาการแฝงที่ซ่อนเร้นของมะเร็งรังไข่
- อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- กินอาหารนิดเดียวก็รู้สึกอึดอัดในช่องท้อง
- อาการปวดท้อง คลื่นไส้ ท้องเสีย ท้องผูก เบื่ออาหาร
- น้ำหนักขึ้นหรือลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ปัสสาวะบ่อย
กรกฎาคม เดือนรณรงค์ป้องกันมะเร็งรังไข่ แนะวิธีหลีกเลี่ยงลดความเสี่ยง
อาการข้างเคียงที่จะพบได้บ่อยๆ มักมีอาการท้องอืดเสียดแน่นท้อง อาหารไม่ย่อยท้องโตขึ้น แต่อาการเหล่านี้ก็ใกล้เคียงกับโรคกระเพาะ ทำให้ผู้ป่วยบางส่วนไปตรวจด้วยเรื่องสงสัยโรคกระเพาะอาหารอักเสบอยู่เป็นจำนวนมาก กว่าจะเข้ารับการรักษาที่ตรงโรคก็เมื่อเป็นระยะลุกลามมีอาการมากๆ สิ่งที่ไม่ควรละเลยคือการตรวจภายในเป็นประจำทุกปี เนื่องจากหากตรวจพบมีก้อนรังไข่โตในระยะแรกเริ่ม การรักษาจะทำได้ง่ายกว่าและโอกาสหายขาดก็สูงกว่าเช่นกัน
สำหรับมะเร็งรังไข่ ถือว่าเป็นอัตราการเสียชีวิตมากที่สุดของมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิง เพราะส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งรัง ไข่มักเป็นระยะที่ 3 สะท้อนภัยเงียบที่ควรได้รับการป้องกันดีกว่าการรักษาเมื่อตรวจพบในระยะลุกลาม การป้องกันโรคยังหาสาเหตุไม่ได้ แต่ควรตรวจเช็คสุขภาพอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไทและคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ภาพจาก : shutterstock
เช็กเลย! อาการแบบนี้ ซีสต์ธรรมดา หรือ มะเร็งรังไข่ ใครบ้างเสี่ยง?
ผู้หญิงรูปร่าง “ลูกแพร์-แอปเปิล” เสี่ยงมะเร็ง-โรคหัวใจกว่าหลายเท่า