สัญญาณ 7 โรค NCDs มะเร็ง-เบาหวานเรื้อรังเสี่ยงเสียชีวิตก่อนวันอันควร
NCDs คือกลุ่มโรคเรื้อรังที่ไม่เกิดจากโรคติดต่อ แต่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและปัจจัยอื่นๆที่กระตุ้นให้เกิดโรค เช็กสัญญาณ 7 โรค NCDs
กลุ่มโรค NCDs (Non – Communicable Diseases) กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ โรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่มีการติดต่อระหว่างคนสู่คน แต่เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคลที่ขาดความระมัดระวังเป็นเวลานาน สะสมและนำไปสู่โรค NCDs ซึ่งหากไม่รีบรักษาอาจทำให้สุขภาพแย่ลงและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาว
สัญญาณกลุ่มโรค NCDs
โรคเบาหวาน เกิดจากการที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กลุ่มโรค NCDs จากพฤติกรรมใช้ชีวิตไม่ติดต่อเรื้อรังแต่อันตรายถึงชีวิต
"โซเดียม" ตัวการก่อโรคNCDs ไม่ติดต่อแต่เรื้อรังอันตรายถึงชีวิต
จากความผิดปกติของร่างกายในการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยกว่าปกติหรือดื้อต่ออินซูลิน ระดับน้ำตาลในเลือดปกติจะต้องน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตรหากมากกว่านี้ถือว่ามีความเสี่ยง หากปล่อยไว้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนกับเส้นเลือดและระบบประสาท ร้ายแรงถึงขั้นสูญเสียอวัยวะได้
สัญญาณโรคเบาหวาน
- อาการปัสสาวะบ่อย
- หิวบ่อย
- น้ำหนักลดร่วมด้วย
โรคความดันโลหิตสูง เกิดจากการที่ค่าความดันเลือดสูงกว่าปกติ คือมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดความเสียหายของหลอดเลือดแดง ทั้งการแข็งตัว อุดตัน และหลอดเลือดแตกได้ นำมาซึ่งโรคแทรกซ้อนอย่างหัวใจวาย อัมพาต สมองเสื่อม ฯลฯ ดังนั้นการควบคุมค่าความดันเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงสำคัญ
สัญญาณความดันโลหิตสูง
- หลังตื่นนอนมึนงงตาพร่า
- เลือดกำเดาออกบ่อย
- ปวดหัวบ่อย
- เหนื่อยง่าย ใจสั่น
โรคไขมันในเลือดสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดมากกว่าปกติ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ โรคบางอย่าง เช่น เบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อย เป็นต้น ระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด ไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร, ไตรกลีเซอไรด์ ไม่ควรเกิน 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากปล่อยให้ไขมันในเลือดสูงเรื้อรัง ไขมันจะไปเกาะผนังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งจนเกิดหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน อาจร้ายแรงถึงขั้นสมองขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหัวใจวายได้ในที่สุด
สัญญาณไขมันในเลือดสูง
- เริ่มมีภาวะอ้วน
- ความดันโลหิตสูงขึ้น
- วิงเวียนศีรษะ
- ปวดหัวบ่อย
โรคอ้วนลงพุง เกิดจากการสะสมไขมันในช่องท้องมากเกินไป ส่งผลให้ระบบการเผาผลาญผิดปกติ นำมาซึ่งโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันพอกตับ มะเร็ง เป็นต้น
สัญญาณโรคอ้วนลงพุง
- รูปร่างคล้ายลูกแพร
- ทำอะไรเหนื่อยง่าย
- ช่องท้องมีไขมันสะสม
- อาจมีอาการปวดเข่าข้อแพราะรับน้ำหนักไม่ไหว
โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง เกิดจากคราบไขมันไปเกาะที่บริเวณผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน อัมพาต เป็นต้น
สัญญาณโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
- แขนขาอ่อนแรงเฉียบพลัน
- ปลายมือเท้าชา
- ปวดร้าวที่อกซ้าย
- หายใจหอบ เหนื่อย
โรคมะเร็ง เกิดจากการเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ ทำให้เกิดเนื้องอก และอาจลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้ มะเร็งที่พบบ่อยได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปากมดลูก ฯลฯ ซึ่งหากรู้ไม่ทันปล่อยให้มะเร็งลุกลามนั้นอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
สัญญาณโรคมะเร็ง
- ระบบขับถ่ายผิดปกติ อาทิ โรคมะเร็งลำไส้จะมีอาหารท้องผูกสลับกับท้องเสียลักษณะอุจจาระลีบเล็กเนื่องจากถูกบีบรัด
- แผลเรื้อรังที่รักษาไม่หาย
- เลือดไหลผิดปกติตามทวารใด ๆ ของร่างกาย
- คลำพบก้อนที่เต้านมหรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
- กลืนอาหารลำบากหรือระบบการย่อยผิดปกติ
- ไฝหรือหูดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติหรือมีเลือดออก
- มีอาการไอที่ผิดปกติ เช่น ไอปนเลือด ไอเรื้อรัง หรือเสียงแหบ
โรค NCDs สาเหตุการตายอันดับ 1 ของโลก พบไทยป่วยสูง 14 ล้านคน
โรคถุงลมโป่งพอง เกิดจากการขยายตัวของถุงลมที่แตกหรือมีการอักเสบเรื้อรัง ส่งผลให้พื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่ปอดลดลง ร่างกายไม่ได้รับออกซิเจนอย่างเต็มที่ โดยมีสาเหตุหลักมาจากการสูบบุหรี่ ซึ่งหากมีอาการกำเริบเฉียบพลันที่ส่งผลให้ระบบหายใจล้มเหลว ผู้ป่วยระยะนี้ต้องนอนพักที่โรงพยาบาลและได้รับการใส่เครื่องช่วยหายใจ
สัญญาณโรคถุงลมโป่งพอง
- หายใจเหนื่อยหอบ หายใจตื้น
- ไอเรื้อรัง อาจมีหรือไม่มีเสมหะได้
- อาจเบื่ออาหาร ผอมลง
จะเห็นได้ว่า แม้โรค NCDs จะไม่ใช่โรคติดต่อหรือเกิดจากเชื้อไวรัสอันตรายแต่ล้วนก่อมาจากพฤติกรรมส่วนตัวทั้งสิ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีกรรมพันธุ์เสี่ยงอยู่แล้วยิ่งกระตุ้นให้โรคก่อรวดเร็วขึ้น ฉะนั้นนอกจากการออกกำลังกายกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดอาหารรสจัดแล้ว การตรวจสุขภาพประจำปีนั้นสำคัญมาก เพราะช่วยให้ค้นพบโรคและทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที รวมถึงดูแลป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่หากเรื้อรังรุนแรงอาจอันตรายจนถึงชีวิต
อ่านต่อที่ : โรงพยาบาลกรุงเทพ
ภาพจาก : shutterstock
เคล็ดลับอาหารลดโรคเรื้อรังNCDs และสูตรกินเจลดโรคอ้วน
5 อาหารสุดแซ่บ แต่กินมากเกินไปอาจกระตุ้นเซลล์มะเร็งลำไส้-โรคเรื้อรัง