"โซเดียม" ตัวการก่อโรคNCDs ไม่ติดต่อแต่เรื้อรังอันตรายถึงชีวิต
อีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน คือการบริโภคอาหารหรือการใช้เครื่องปรุงที่มีโซเดียมมากเกินไป ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของกลุ่มโรค NCDs ที่เป็นสาเหตุหลักการตายอันดับ 1 ของโรค
โซเดียม แร่ธาตุสำคัญในการทำหน้าที่ปรับสมดุลน้ำ ของเหลว และความดันโลหิตให้ร่างกาย แต่หากมีปริมาณโซเดียมในร่างกายจำนวนมากและขับออกไม่ทันก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ระดับความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยสำคัญทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases) หรือโรค NCDs เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน ซึ่งโรค NCDs เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของประชากรโลกมากถึง 39.5 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 70 ของจำนวนประชากรที่เสียชีวิตทั้งหมด
โรค NCDs สาเหตุการตายอันดับ 1 ของโลก พบไทยป่วยสูง 14 ล้านคน
กลุ่มโรค NCDs จากพฤติกรรมใช้ชีวิตไม่ติดต่อเรื้อรังแต่อันตรายถึงชีวิต
องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำแนะนำว่าปริมาณโซเดียมที่เหมาะสมต่อร่างกายคือไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมหรือไม่เกิน 5 กรัมต่อวัน ขณะที่ข้อมูลปริมาณการบริโภคโซเดียม ปี 2562-2565 พบคนไทยบริโภคโซเดียมเกินกว่ามาตรฐานเกือบ 2 เท่า ล่าสุด พบคนรุ่นใหม่ อายุ 17-24 ปี บริโภคโซเดียมเกินถึง 3,194 มิลลิกรัมต่อวัน ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของโรค NCDs เสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไต หัวใจและหลอดเลือดเร็วขึ้น
แหล่งอาหารที่มีโซเดียม
- อาหารโซเดียมเป็นส่วนประกอบปริมาณน้อย คือจำพวกอาหารที่ยังไม่ผ่านการแปรรูป หรือแปรรูปน้อย เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว นม ไข่ แต่จะมีปริมาณโซเดียมสูงกว่าพวกผักผลไม้ธัญพืช และถั่วเมล็ดแห้ง ที่ยังไม่แปรรูป
อาหารที่มีโซเดียมปริมาณมาก
- ซอสหรือเครื่องปรุงต่าง ๆ (น้ำปลา ซีอิ้ว ผงปรุงรส)
- อาหารหมักดอง
- อาหารแปรรูปหรือ เนื้อสัตว์
- ปรุงรส (อาหารกระป๋อง หมูหยอง ไส้กรอก แหนม)
- อาหารสำเร็จรูป (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป)
- น้ำจิ้ม หรือ น้ำพริก (ที่รสจัดหรือมีหลายรส)
- ขนมที่มีการใช้ผงฟูเป็นส่วนประกอบ เช่น ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ เพราะในผงฟูจะมีปริมาณโซเดียมสูง
- เครื่องดื่มเกลือแร่ที่นักกีฬานิยมดื่ม หากดื่มมากกว่าปริมาณที่แนะนำก็จะได้รับโซเดียมมากเกินไป
- น้ำผลไม้คั้นสดหรือแปรรูปที่ขายตามท้องตลาด มักมีการเติมเกลือหรือมีการใส่ส่วนประกอบอื่นๆ ในการปรุงรส ซึ่งมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ
กลุ่มเสี่ยงโรค NCDs ภัยแฝงวัยทำงานสาเหตุเสียชีวิตอันดับ 1
ลดการกินเค็มและโซเดียม
- เลือกรับประทานอาหารสดตามธรรมชาติ หากต้องการปรุงอาหารควรเลือกใช้เครื่องปรุงรสให้น้อยที่สุด หรือเลือกชนิดโซเดียมต่ำ
- หลีกเลี่ยงการใส่ผงชูรส
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหมักดอง อาหารแปรรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ขนมกรุบกรอบ และเบเกอรี่ทุกชนิด
- ลดการใช้ซอสปรุงรสหรือน้ำจิ้มประกอบการกินอาหาร
- ปรับนิสัยการรับประทานอาหารให้กินรสจืดขึ้น เพื่อลดการเติมเครื่องปรุงรส
- อ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อหรือก่อนรับประทาน โดยเฉพาะดูปริมาณโซเดียมในอาหารนั้นๆ
การลดการกินเค็มที่ดี คือการปรับพฤติกรรมการกินให้เหมาะสม เน้นกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่กินอาหารรสจัดหรือรสเค็มมากเกินไป เพราะการกินเค็มจะส่งผลต่อการทำงานของไต ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคต่างๆ ที่สำคัญควรสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ หากพบความเสี่ยงหรือรอยโรคใดๆ แพทย์จะได้แนะนำเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรค หรือรีบทำการรักษาอย่างตรงจุด ก่อนที่โรคจะลุกลามจนกลายเป็นโรคเรื้อรังที่ยากต่อการรักษา
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไทและมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
ภาพจาก : shutterstock
กินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทุกวัน ระวังโซเดียมทะลุ เสี่ยงโรคหัวใจ-ไตวาย
“ผงชูรส” เครื่องปรุงโซเดียมสูง กินเยอะอาจเสี่ยงโรคอ้วน ดื้ออินซูลิน