กลุ่มเสี่ยงโรค NCDs ภัยแฝงวัยทำงานสาเหตุเสียชีวิตอันดับ 1
วัยทำงาน วัยที่กำลังสร้างเนื้อสร้างตัว และหากมีไลฟ์สไตล์สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์และกินอาหารไขมันสูง ไม่ออกกำลังกาย อาจสร้างโรคภัยได้เช่นกัน รู้จัก โรค NCDs ใครบ้างเสี่ยงมากกว่าคนอื่น!
NCDs (Non-Communicale diseases) เป็นโรคที่ไม่ได้มาจากเชื้อโรค หรือติดเชื้อ ไม่ใช่โรคติดต่อแต่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยง ต่างๆ จนกลายเป็นภัยเงียบที่แฝงตัวในกลุ่มคนทำงานสืบเนื่องจากเป็นวัยที่ทำงานหนัก มีภาวะเครียด พักผ่อนน้อย ทานอาหารไม่เป็นเวลา ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมากลุ่มโรค NCDs จากการรายงานข้อมูลของ WHOพบประชากรทั่วโลก เสียชีวิตจากโรค NCDs มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก 38 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ68ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากรโลก)
กลุ่มโรค NCDs จากพฤติกรรมใช้ชีวิตไม่ติดต่อเรื้อรังแต่อันตรายถึงชีวิต
"ตรวจสุขภาพ"ก่อนเริ่มงานจำเป็นแค่ไหน-ต้องตรวจอะไรบ้าง?
ในปีพ.ศ. 2555 เป็น 41 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 71 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากรโลก) ในปีพ.ศ. 2559 โดยกลุ่มโรค NCDs ที่พบการเสียชีวิตมากที่สุด
กลุ่มโรค NCDs มีโรคอะไรบ้าง
- โรคเบาหวาน
- โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคถุงลมโป่งพอง
- โรคมะเร็ง
- โรคอ้วนลงพุง
กินจุ-กินบ่อย-กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน สัญญาณเบาหวาน รู้ทันรักษาทัน!
พฤติกรรมเสี่ยงก่อโรค NCDs
สาเหตุหลักสำคัญของกลุ่มโรค NCDs คือพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินชีวิต เช่น
- การสูบบุหรี่
- ดื่มแอลกอฮอล์
- ทานอาหาร Fast food
- ออกกำลังกายน้อย
- มีความเครียดสะสม
- การรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เช่น ยาแก้ปวด ยาชุด ยาสมุนไพร ยาลูกกลอน
ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเช่นนี้ จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค NCDs ได้มากกว่าคนอื่นๆซึ่งเราสามารถปรับพฤติกรรมของเราได้เพื่อลดความเสี่ยงโรค NCDs ที่อาจนำมาซึ่งภาวะติดเตียง อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล,โรงพยาบาลพญาไท และ กระทรวงสาธารณสุข
ภาพจาก : shutterstock
“ไขมันในเลือดสูง” สาเหตุโรคหัวใจ ที่ผู้หญิงเสี่ยงเสียชีวิตเฉียบพลันมากกว่า!
อาหารกระตุ้นการอักเสบของร่างกาย สะสมนานเป็นเหตุก่อโรคเรื้อรัง