พัฒนาการวินิจฉัยและรักษา “โรคอัลไซเมอร์” ของไทยในปัจจุบัน
ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่าโรคอัลไซเมอร์เกิดจากการสะสมของโปรตีนที่ผิดปกติในสมองที่เรียกว่าโปรตีนอะไมลอยด์เบต้าและโปรตีนเทาว์ จึงนำไปสู่การค้นพบวิทยาการใหม่ๆ เผยวินิจฉัยและรักษาโรคอัลไซเมอร์ในปัจจุบัน
โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของภาวะสมองเสื่อมทั่วโลก และเชื่อว่ามีผู้สูงอายุประมาณ 6-7 แสนคนในประเทศไทยที่มีภาวะสมองเสื่อม ขณะที่โครงการอนามัยโลก ประมาณการว่าในปี 2593 หรือ 28 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมกว่า 2,400,000 คน แต่เดิมอาศัยวิธีประเมินอาการซึ่งยืนยันการวินิจฉัยได้แน่ชัดจากการตรวจชิ้นเนื้อสมองหลังเสียชีวิตเท่านั้น และยาที่ใช้รักษายังเป็นเพียงการประคับประคองอาการยังไม่มีแนวทางรักษาให้หายขาด
อัลไซเมอร์คืออะไร? ทำไมถึงถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามในสังคมผู้สูงอายุ
สัญญาณอัลไซเมอร์ ขี้ลืมแบบไหน? รีบพบแพทย์ก่อนสูญเสียการใช้ชีวิต
อย่างไรก็ตามในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่าโรคอัลไซเมอร์เกิดจากการสะสมของโปรตีนที่ผิดปกติในสมองที่เรียกว่าโปรตีนอะไมลอยด์เบต้าและโปรตีนเทาว์ จึงนำไปสู่การค้นพบวิทยาการใหม่ๆ การวินิจฉัยปัจจุบันมีการส่งตรวจพิเศษ
- การตรวจภาพถ่ายรังสีนิวเคลียร์ด้วยเครื่องเพทสแกน ซึ่งจะตรวจจับโปรตีนและปริมาณการกระจายตัวในการสะสมของโปรตีนบนส่วนต่างๆ ของสมอง เพื่อแปลผลผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ แยกโรคสมองเสื่อมอื่นๆ มีโอกาสกลายเป็นสมองเสื่อมเต็มขั้นมากแค่ไหน
- การตรวจระดับโปรตีนโดยตรงจากน้ำไขสันหลังและในเลือด และได้มีการพัฒนาชุดตรวจและเครื่องมือทำให้ความแม่นยำเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 90 และล่าสุดในช่วงสองปีที่ผ่านมาในอเมริกาและยุโรปได้มีการรับรองชุดตรวจในเลือดเพื่อใช้ในการวินิจฉัย สามารถใช้เพียงการเจาะเลือด 3-5 ซีซี ก็สามารถวินิจฉัยโรคได้ และยังพัฒนาเครื่องมือตรวจให้ใช้สะดวกมากขึ้น ในรูปแบบของแผ่นตรวจสำเร็จรูป โดยหยดเลือดลงไปในแผ่นตรวจก็อาจจะตรวจจับโปรตีนเหล่านี้ได้ (แบบเดียวกับการใช้ชุดตรวจโควิด) โดยอยู่ในขั้นตอนการศึกษาทดลอง
กระทรวงสาธารณสุขยังกล่าวต่อว่า แต่เดิมรักษาโรคอัลไซเมอร์ด้วยยาและใช้ยาตามอาการเพื่อเพิ่มสารสื่อประสาทในสมอง แต่ไม่สามารถชะลอการเสื่อมถอยและการฝ่อของสมองได้ ทำให้ล่าสุดองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้รับรองให้สามารถใช้ยาlecanumab สำหรับการรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ระยะต้นได้เดือนกรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา และมีการผลิตยาใหม่ๆอีกมากมายที่อาจมีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่มีราคาแพงมาก และยังต้องมีการประเมินผลดีของยาระยะยาว ผลข้างเคียงที่ต้องเฝ้าระวัง อาจติดตามข้อมูลหลังการใช้จริงในต่างประเทศอีกระยะหนึ่ง จึงสามารถนำมาใช้ในวงกว้างได้ทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยด้วย
โรคและภาวะอันตรายเสี่ยงสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ อันตรายถึงชีวิต
วิธีป้องกันชะลอสมองไม่เสื่อม
- กินอาหารที่ดีมีส่วนช่วยลดและชะลอความเสื่อมของเซลล์สมองและสารสื่อประสาท พบในธัญพืชต่างๆ จมูกข้าวสาลี ถั่วลิสง ข้าวกล้อง มันฝรั่ง กล้วย กะหล่ำปลี นมสด ผักต่างๆ ช็อกโกแลต
- หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง อาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล ของหวาน ผลไม้รสหวานจัด กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โปรตีนเน้นเนื้อปลา หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม ของหมักดอง และอาหารที่ใส่ผงชูรส หลีกเลี่ยงกาเฟอีนในเครื่องดื่มพวกชากาแฟหรือโคล่า เพราะอาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้ ทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ ส่งผลให้วิตามินแร่ธาตุที่สำคัญเช่น วิตามินบีรวม โปรแตสเซียม สังกะสีถูกทำลาย สมองทำงานแย่
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น ทำโยคะ หรือไทเก๊กที่เหมาะสมกับสุขภาพกาย ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินพิกัด
- หลีกเลี่ยงบุหรี่และแอลกอฮอล์
- อย่าลืมดูแลตัวเองด้านจิตสังคมด้วย รวมทั้งด้านกายภาพบำบัดและกิจกรรมฟื้นฟูความจำ จัดกิจกรรมสำหรับตัวเองให้ใช้ความคิดอย่างสม่ำเสมอ เช่น คิดเลขเมื่อไปจ่ายตลาด บวกเลขทะเบียนรถ นับเลขถอยหลังจาก 500-1 เป็นต้น
สำหรับผู้ที่สงสัยว่ามีญาติหรือผู้ใกล้ชิดมีความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ สามารถไปรับการตรวจเบื้องต้นที่คลินิกผู้สูงอายุสถานพยาบาลใกล้บ้าน กรณีที่ตัวโรคมีความซับซ้อนจะมีการส่งตัวผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลในระดับที่สูงกว่าตามความเหมาะสม สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ สามารถให้บริการส่งตรวจระดับโปรตีนของโรคอัลไซเมอร์ในน้ำไขสันหลังได้เช่นกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : กระทรวงสาธารณสุข และ โรงพยาบาลราชวิถี
ภาพจาก Freepik
บริษัทยาเผยผลทดลอง “ยาโดเนนาแมบ” ชะลออัลไซเมอร์ได้สูงสุด 60%