17 พฤศจิกายน วันทารกเกิดก่อนกำหนดโลก เผยวิธีรับมือเพื่อสุขภาพที่ดีของเด็ก
ภาวะทารกคลอดก่อนกำหนด พบไทยคลอดก่อนกำหนด 8-12% หรือราว 800,000 คนต่อปี นับเป็นภาวะอันตรายที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนควรทราบ ถึงสัญญาณที่ต้องรีบพบแพทย์ รวมถึงวิธีดูแลทารกกลุ่มเสี่ยงอย่างไรให้ปลอดภัยเพื่อพัฒนาการที่สมวัยแข็งแรง
ปัจจุบันคุณแม่ยุคใหม่จำนวนไม่น้อยต้องเผชิญกับภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ต่างๆ สิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาใหญ่ของการตั้งครรภ์ก็คือ การคลอดก่อนกำหนด ทำให้คุณแม่เกิดความวิตกกังวลใจเกี่ยวกับอาการของลูกน้อยว่าจะมีอันตรายมากน้อยแค่ไหน ด้วยเหตุนี้ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) จึงได้กำหนดให้ทุกวันที่ 17 พฤศจิกายน เป็นวันทารกคลอดก่อนกำหนดโลก (World Prematurity Day) เพื่อให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญอันตรายของการคลอดก่อนกำหนด
“กล้วยบด” ไม่ใช่อาหารเด็กทารก เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต ย้ำนมแม่ดีที่สุด
เริ่มวันนี้! ตรวจ 24 โรคหายากใน "เด็กแรกเกิด" ฟรี ลดพิการ-เสียชีวิต
ช่วยให้เด็กคลอดอย่างแข็งแรงปลอดภัย และเตรียมพร้อมรับมือในการดูแลเพื่อให้เจ้าตัวน้อยสุขภาพแข็งแรงมีพัฒนาการที่สมวัย
ภาวะคลอดก่อนกำหนดคืออะไร?
การคลอดก่อนกำหนด (Preterm Labor) คือภาวะที่ปากมดลูกเปิด ผลมาจากการหดตัวและขยายตัวของมดลูกก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ (หรือประมาณ 8 เดือน) ซึ่งทารกที่มีภาวะคลอดก่อนกำหนดจะมีภาวะความเสี่ยงสูงในการเกิดโรค และการเสียชีวิต เนื่องจากอวัยวะระบบต่างๆในร่างกายยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ รายงานของWHOได้แสดงให้เห็นแล้วว่า การคลอดก่อนกำหนดเป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป โดยพบข้อมูลทารกคลอดก่อนกำหนดมากกว่า 1ใน10คนทุกปี1 -ขณะที่ประเทศไทยพบอุบัติการณ์การคลอดก่อนกำหนดเฉลี่ยประมาณ 8-12% หรือราว 800,000 คน ต่อปี ด้วยเหตุนี้ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจึงต้องได้รับความดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ทารกมีพัฒนาการที่ดีขึ้นและกลับไปอยู่ในอ้อมอกของ พ่อ-แม่ อย่างปลอดภัย
สัญญาณเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
- ความดันโลหิตสูง เป็นสัญญาณหนึ่งของอาการครรภ์เป็นพิษ
- มีมูกหรือเลือดออกทางช่องคลอด
- มีอาการน้ำเดิน คือภาวะที่เกิดจากการรั่วของถุงน้ำคร่ำ ทำให้มีน้ำคร่ำไหลออกมา
- รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยกว่าปกติ
- มีอาการเจ็บครรภ์เป็นช่วงๆ
สัญญาณเตือนเหล่านี้สามารถเกิดกับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ใกล้ครบกำหนดคลอด ซึ่งถ้ามีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจครรภ์ในทันที
ภาวะความเสี่ยงของทารกคลอดก่อนกำหนด
ภาวะคลอดก่อนกำหนดเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีทั่วโลก โดยภาวะดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการของทารก เนื่องจากอวัยวะและระบบการทำงานของร่างกายไม่สมบูรณ์ เด็กกลุ่มนี้จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรง และมีภาวะแทรกซ้อนได้สูงกว่า เช่น
- ภาวะหายใจลำบาก
- ภาวะเลือดออกในสมอง
- ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ
- ติดเชื้อก่อโรคต่างๆ ได้ง่ายและมีอาการรุนแรงเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่สมบูรณ์
เปิดรับบริจาคนมแม่ เข้าสู่ธนาคารนมแม่เพื่อเด็กป่วย-ทารกคลอดก่อน
การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด
- ปรึกษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ระหว่างที่ทารกอยู่ในช่วงวัยที่ร่างกายกำลังพัฒนา พ่อและแม่ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาลอย่างเคร่งครัด คอยสังเกตและรายงานความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หรือหากพบความผิดปกติของลูกน้อย ต้องรีบแจ้งแพทย์โดยทันที
- สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ถือเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย เนื่องจากมีความปลอดภัย ปลอดเชื้อ และอุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาร่างกายและอวัยวะที่สำคัญ และยังช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อและป้องกันอาการป่วยจากโรคต่างๆ
- ป้องกันระมัดระวังการติดเชื้อกับลูกน้อย
พ่อและแม่ควรให้ความสำคัญกับการปกป้องทารกจากเชื้อก่อโรคต่างๆ รวมถึงไวรัสอย่าง RSV เป็นการติดเชื่อทางเดินหายใจ ทั้งส่วนบนและส่วนล่าง สาเหตุมาจากไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสลูก รักษาความสะอาดของสิ่งของเครื่องใช้ หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่แออัด รวมถึงการให้ลูกเข้ารับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- เตรียมความพร้อมให้กับคุณแม่ก่อนกลับไปที่บ้าน
คุณแม่ควรใช้เวลาอยู่กับลูกให้ได้มากที่สุดเพื่อสร้างความผูกพันและดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด ทารกกลุ่มนี้ใช้เวลาอยู่ที่โรงพยาบาลนานกว่าคนอื่นๆ พ่อกับแม่ควรทำความเข้าใจว่าเป็นเรื่องปกติที่ลูกน้อยอาจจะยังไม่ชินในการอยู่บ้าน หรืออาจจะหาข้อมูลในการดูแลทารกที่คลอดก่อนกำหนด การเสริมสร้างพัฒนาการ เพื่อเป็นประโยชน์ในการดูแลลูกน้อย
ลูกน้อยจะเกิดมาพร้อมกับความเสี่ยงและต้องเผชิญกับความยากลำบากตั้งแต่วินาทีแรก แต่ทารกที่คลอดก่อนกำหนดหลายคนได้พิสูจน์แล้วว่า เขาสามารถเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้นและเติบโตขึ้นอย่างปลอดภัย แข็งแรง มีพัฒนาการที่สมวัยได้ ด้วยความรักและการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล,สมาคมเวชศาสตร์ปริกำเนิดแห่งประเทศไทยและแอสตร้าเซนเนก้า
ภาพจาก : Freepik
“นมแม่”เหมือนยาวิเศษยิ่งทารกป่วย ยิ่งต้องกิน ลดภาวะลำไส้เน่าได้ถึง 50%
เตือน! อย่าซื้อนมแม่ที่โพสต์ขายให้ลูกกิน เสี่ยงโรคอันตรายสารพัด!