บุหรี่ไฟฟ้าเสี่ยงซึมเศร้า 2.39 เท่า กระตุ้นวิตกกังวล หงุดหงิดง่าย
กรมควบคุมโรค เตือนสูบบุหรี่ไฟฟ้าเสี่ยงเกิดภาวะซึมเศร้าสูงถึง 2.39 เท่า รวมถึงกระตุ้นปัญหาสุขภาพจิตรุนแรงยิ่งขึ้น เผย 2ช่องทางบริการเลิกบุหรี่ไฟฟ้าถาวร
นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า “บุหรี่ไฟฟ้า” เป็นสินค้าทำลายสุขภาพ มีสารพิษ หากเสพติดก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหลายส่วน ทั้งต่อระบบทางเดินหายใจและปอด ระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงระบบประสาทและสมอง นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าที่มีผลต่อสุขภาพจิต โดยพบว่า ผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีโอกาสได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้ามากถึง 2.10 เท่า และการสูบบุหรี่ไฟฟ้าที่บ่อยครั้ง
เตือน! สารนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้า อันตรายผู้สูบและส่งต่อบุหรี่มือสองให้คนรอบข้าง
เทียบอันตรายบุหรี่ไฟฟ้า-บุหรี่มวนก่อมะเร็งปอดได้เหมือนกันหรือไม่?
ยังมีโอกาสที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าสูงถึง 2.39 เท่า และจะมีภาวะวิตกกังวล หงุดหงิดง่าย รวมถึงปัญหาสุขภาพจิตที่มีอยู่จะรุนแรงยิ่งขึ้นนายแพทย์ธงชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมควบคุมโรค ห่วงใยประชาชนที่คิดจะเริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงผู้ที่สูบอยู่ในปัจจุบัน ควรเลิกสูบบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพ ทั้งต่อตัวผู้สูบและคนใกล้ชิด ทั้งนี้ สามารถขอรับบริการช่วยเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบได้ 2 ช่องทาง คือ
- สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขใกล้บ้าน
- ขอรับคำปรึกษาที่ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ โทร. 1600 ฟรี
หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค โทร 0 2590 3850
ผลสำรวจวัยรุ่นติดบุหรี่ไฟฟ้าเนื่องจากเพื่อนชวน-พบสูบร่วมบุหรี่มวน