สัญญาณ “โรคหลอดเลือดสมอง” ป้องกันลดเสี่ยงก่อนหลอดเลือดสมองแตกเฉียบพลัน
อย่าคิดว่าตัวเองแข็งแรงและมองข้ามภัยเงียบอย่างโรคหลอดเลือดสมอง เช็ก สัญญาณและความเสี่ยงโรค อาทิ ภาวะน้ำหนักเกิน โรคประจำตัว หรือความเครียด สาเหตุเสี่ยงเสียชีวิตเฉียบพลันไม่รู้ตัวได้!
Stroke หรือโรคหลอดเลือดสมอง มีสาเหตุมาจากหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอ จนทำให้สมองขาดเลือด และทันทีที่สมองขาดเลือด เซลล์สมองต่างๆ จะค่อยๆถูกทำลาย ส่งผลให้สมองสูญเสียหน้าที่จนเกิดเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้
โรคหลอดเลือดสมอง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
โรคหลอดเลือดสมองตืบตัน หรือ Ischemic Stroke เกิดจากการสะสมของไขมัน หรือหินปูนบริเวณผนังหลอดเลือดชั้นใน จนทำให้ขนาดของหลอดเลือดค่อยๆ แคบลงหรือตีบ
กลุ่มโรคNCDs ตรวจสุขภาพป้องกันได้ เตือน!ค่าปริ่มเพดานยิ่งต้องระวัง!
นอนกรนแบบไหนสัญญาณอันตราย ? เสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับเผยสาเหตุ-วิธีรักษา

- ส่งผลให้ประสิทธิภาพการลำเลียงเลือดลดลง และรวมถึงสาเหตุจากการปริแตกของคราบไขมันบริเวณผนังหลอดเลือด ทำให้ลิ่มเลือดมาเกาะและเกิดเป็นภาวะหลอดเลือดอุดตันได้ในที่สุด
- โรคหลอดเลือดสมองแตก หรือ Hemorrhagic Stroke ทันทีที่ผนังหลอดเลือดปริแตก เซลล์สมองจะขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงทันที ส่งผลต่อเนื้อสมองโดยตรง และภายในระยะเวลาไม่นานเนื้อสมองจะตายลง ทำให้ผู้ป่วยมักเสียชีวิตในเวลาอันสั้น เป็นภาวะที่พบได้มากในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีหลอดเลือดโป่งพอง โรคตับ และโรคเลือดผิดปกติ
ปัจจัยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- โรคความดันโลหิตสูง
- คอเลสเตอรอลในเลือดสูง
- โรคเบาหวาน
- โรคอ้วน
- สูบบุหรี่
- ความเครียด
- ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ ทำให้ลิ่มเลือดไปอุดตันที่สมอง
- ผู้ที่ต้องนั่งรถหรือเครื่องบินเป็นเวลานานๆ ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เกิดเป็นการสะสมของลิ่มเลือดบริเวณหัวเข่า
สัญญาณเฉียบพลันเสี่ยง Stroke
- อาการแขนขาอ่อนแรง เดินเซ สูญเสียการทรงตัว
- ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดไม่ออก ใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง
- การมองเห็นมีปัญหา มองเห็นภาพซ้อน หรือมองเห็นภาพครึ่งเดียว
- สับสน หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรงแบบไม่เคยเป็นมาก่อน
ทำไมต้องรีบส่งผู้ป่วยมาโรงพยาบาลทันที!?
เนื่องจากโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นโรคที่แสดงอาการแบบเฉียบพลัน ทันทีที่ผู้ป่วยมีอาการ ต้องรีบพาตัวผู้ป่วยไปโรงพยาบาลให้ไวที่สุด โดยผู้ป่วยต้องได้รับการฉีดยาละลายลิ่มเลือดภายในระยะเวลา 4.30 ชั่วโมง ถึงจะได้ผลดีที่สุดและมีโอกาสรอดชีวิตหรือลดความเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาตได้มากที่สุด
“ความเครียดสูง” เสี่ยงพัฒนาซึมเศร้า-วิตกกังวล อันตรายถึงขั้นฆ่าตัวตาย
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก จึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องดูแลตัวเองเป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้กลับมาเป็น Stoke ซ้ำสอง ไม่ว่าจะเป็นการดูแลโรคประจำตัว รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ พบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น งดอาหารที่มีไขมันสูง งดอาหารเค็มจัด งดแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท
“ความเครียดสูง” เสี่ยงพัฒนาซึมเศร้า-วิตกกังวล อันตรายถึงขั้นฆ่าตัวตาย
เทคนิคเริ่มต้นมือใหม่หัดออกกำลังกาย ปลุกไฟให้สุขภาพดีรับปีใหม่!