เปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ลดปัจจัยเสี่ยงตายก่อนวัยอันควร
โรคหลอดเลือดสมองภัยเงียบวัยทำงาน เสี่ยง แต่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงได้อัมพฤกษ์ อัมพาต เสียชีวิตก่อนวัยอันควร
โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือ ภาวะที่เนื้อเยื่อและเซลล์สมองถูกทำลายอันเนื่องมาจากหลอดเลือดสมองตีบ อุดตันหรือแตก ส่งผลให้เกิดอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือรุนแรงจนกระทั่งเสียชีวิตได้ ภาวะผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก คือภาวะที่สมองขาดเลือดและ ภาวะเลือดออกในสมอง อาการสำคัญ ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัว แขนขาอ่อนแรง หรือมีการพูดไม่ชัด มีอาการชาครึ่งซีกบริเวณใบหน้า ซึ่งเป็นภาวะของอัมพฤกษ์ ในบางรายอาจรุนแรงจนถึงขั้นเป็นอัมพาต หรืออาจรุนแรงจนกระทั่งเสียชีวิตก็เป็นได้
โรคหลอดเลือดสมอง ส่งผลต่อการทำงานของสมองซีกซ้าย-ซีกขวาอย่างไร?
วิธีรักษาโรคหลอดเลือดสมองไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ สัญญาณ F.A.S.T. ควรระวัง!
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
- พฤติกรรม การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป การสูบบุหรี่
- ภาวะอ้วน ก็จะเสี่ยงต่อการเกิด stroke มากกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวปกติ
- กลุ่มคนที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง น้ำตาลสูง ความดันโลหิตสูง
- เพศชายมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิง
- อายุที่มากขึ้น ทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเกิดการเสียหาย
- พันธุกรรม ถ้ามีญาติพี่น้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรคหลอดเลือดสมอง
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
- คนที่มีภาวะความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน ควรควบคุมดูแลให้มีระดับความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับปกติ
- ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเลิกสูบบุหรี่ เพราะทั้งสองปัจจัยนี้จะทำให้หลอดเลือดเกิดความเสียหายได้
- รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับปกติ
- กินอาหารที่มีประโยชน์ และรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม โดยเน้นกลุ่มอาหารที่มีใยอาหารเป็นองค์ประกอบ เช่น ธัญพืชต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วเปลือกแข็ง ผักผลไม้ ลดหวาน เน้นโปรตีนจากพืชและปลา เน้นอาหารจากธรรมชาติ หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว หลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูปและอาหารสำเร็จรูป และลดโซเดียมในอาหาร
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- จัดการความเครียดเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาหรือความวิตกกังวล
สาเหตุโรคหลอดเลือดสมองปริแตก-อุดตัน สาเหตุการเสียชีวิตเฉียบพลัน
อาหารป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (Dietary for Stroke Prevention)
- เน้นกินปลาที่มีโอเมก้า 3 สูง ได้แก่ ปลาแม็คคลอเรล ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน หรือจะเป็นปลาไทยๆ ก็ได้ เช่น ปลาจะละเม็ดขาว ปลากะพงขาว ปลาดุก ปลาสวาย ปลาทู ปลาสลิด ปลาตะเพียน เป็นต้น รวมทั้งโปรตีนจากพืช เช่น เต้าหู้ นมพร่องมันเนยหรือขาดมันเนย
- หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป และเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการถนอมอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ ลูกชิ้น ไข่เค็ม ปลาเค็ม
- เน้นคาร์โบไฮเดรตที่มีใยอาหารเป็นองค์ประกอบ เช่น ข้าวกล้อง ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง ผักหลากหลายสี และผลไม้ไม่หวานจัด
- หลีกเลี่ยงหรือบริโภคเพียงเล็กน้อยในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตขัดขาว อาหารที่มีน้ำตาลสูง เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง รวมถึงน้ำผลไม้ เพราะเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายดูดซึมได้ง่าย หากกินมากเกินไปจะมีผลทำให้ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง สะสมเป็นไขมันอยู่ตามหลอดเลือด และระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงอย่างต่อเนื่องจากการกินอาหารที่มีดัชนี้น้ำตาลสูงหรือคาร์โบไฮเดรตที่ขัดขาวหรือน้ำตาล จะทำให้หลอดเลือดแข็ง ขาดความยืดหยุ่น ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลราชวิถี
สัญญาณ “โรคหลอดเลือดสมอง” ป้องกันลดเสี่ยงก่อนหลอดเลือดสมองแตกเฉียบพลัน
เช็ก! อาการปวดหัวอันตราย - วิธีแก้เบื้องต้นด้วยตัวเอง เลี่ยงกินยาพร่ำเพรื่อ