มะเร็งกระเพาะอาหาร ตัวการและระยะของมะเร็ง-กรุ๊ปเลือดไหนเสี่ยงที่สุด?
มะเร็งกระเพาะอาหาร 1 ใน 10 มะเร็งที่คนไทยเป็นเยอะที่สุด เช็กความเสี่ยงและตัวการก่อมะเร็ง และกรุ๊ปเลือดที่เสี่ยงที่สุด!
1 ใน 10 มะเร็งที่คนไทยเป็นกันมากคือ มะเร็งกระเพาะอาหารข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (GLOBOCAN) 2020 ระบุว่า เป็นชนิดมะเร็งสาเหตุการตายอันดับที่ 4 ของการตายจากโรคมะเร็งทั้งหมดทั่วโลกและมีอุบัติการณ์เป็นอันดับที่ 5 ของโรคมะเร็งทั้งหมด สำหรับมะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric Cancer) เกิดขึ้นจากเซลล์เยื่อบุผิวด้านในกระจายมายังเยื่อบุผิวด้านนอก สามารถเกิดขึ้นหลายลักษณะ ได้แก่ เยื่อบุกระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมน้ำเหลืองกระเพาะอาหาร มะเร็งเนื้อเยื่อ
สัญญาณแรก “มะเร็งกระเพาะอาหาร” ไม่ต้องรอให้แก่ก็เป็นได้ รู้ก่อนลุกลาม!
ปัจจัย“มะเร็งกระเพาะอาหาร” ติดเค็มเป็นกรดไหลย้อนเรื้อรังเสี่ยงมากกว่า
Freepik/suttipunfpik
มะเร็งกระเพาะอาหาร

ตัวการก่อมะเร็งกระเพาะอาหาร
- การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter Pylori. (H.pylori) ซึ่งเชื้อแบคทีเรียตัวนี้เมื่อเข้าไปอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารจะสร้างสารพิษ ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังเป็นแผลในกระเพาะอาหาร แผลในลำไส้เล็ก ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของเซลล์ กลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้ในที่สุด
- อาหารที่มีสารกลุ่ม Polycyclic Aromatic Hydrocarbon (PAH) ปนเปื้อน ส่งผลให้เสี่ยงต่อมะเร็ง พบในส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหารปิ้ง ย่าง รมควัน
- อาหารที่มีสารโพลาร์ (Polar Compounds) จากการใช้น้ำมันทอดซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง
- อาหารที่มีสาร Acrylamide มักพบในอาหารอบกรอบ ทอด ปิ้ง คั่ว
- อาหารที่มีสารไนโตรซามีน (Nitrosamine) พบในของหมักดอง อาหารกระป๋อง อาหารปิ้งย่าง อาหารเค็มจัด
- อาหารที่มีสาร Heterocyclic Animes (HCAs) จากเนื้อสัตว์ที่ประกอบอาหารด้วยการผ่านความร้อน เช่น อบ ย่าง ต้ม หรือทอด เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะอาหาร มากน้อยแตกต่างกันไปตามลักษณะของการให้ความร้อน
- อายุที่มากขึ้น ยิ่งอายุมากขึ้นยิ่งเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้น
- เพศ ผู้ชายมีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง
- พฤติกรรมการใช้ชีวิต การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารให้สูงขึ้น
- ผู้ที่เคยมีประวัติได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหาร
- เชื้อชาติ ชาวเอเชียพบมากกว่าชาวตะวันตก โดยเฉพาะญี่ปุ่น จีน เกาหลี
- มะเร็งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหรือมะเร็ง GIST จากความผิดปกติของเซลล์ในกระเพาะอาหารโดยไม่มีสาเหตุ
- พันธุกรรม คนในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ทำให้มีความเสี่ยงสูงถึง 70%
- ผู้ที่มีเลือดกรุ๊ป A มีความเสี่ยงมากกว่ากรุ๊ปอื่น 20% โดยอ้างอิงการศึกษาเมื่อปี 2010 ของสถาบัน Karolinska ในประเทศสวีเดน เมื่อเทียบกับผู้ที่มีหมู่เลือด O และ B เพราะส่วนใหญ่แล้วจะมีกรดในกระเพาะต่ำ ซึ่งทำให้ระบบการย่อยอาหารและระบบภูมิคุ้มกันไม่ดีเท่าที่ควร
มะเร็งกระเพาะอาหารมีรักษาทางพยาธิสภาพหลายชนิด
- มะเร็งกระเพาะอาหารชนิดที่เกิดจากต่อม (adenocarcinoma) พบมากที่สุดถึงร้อยละ 95 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารทั้งหมด มีลักษณะคล้ายเป็นแผลในกระเพาะอาหาร ดังนั้นถ้าเป็นแผลในกระเพาะอาหาร รักษาไม่ดีขึ้น ต้องตรวจว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารหรือไม่
- มะเร็งจีสต์ (gastrointestinal stromal tumors) ร้อยละ 60 ของมะเร็งชนิดนี้เกิดที่กระเพาะอาหาร วินิจฉัยโดยการย้อมพิเศษ เรียกว่าการย้อม c-kit หรือ CD117 ตอบสนองดีต่อยาต้านยีนมะเร็ง kit เรียกว่ายาก imatinib เป็นยารับประทาน
- มะเร็งกระเพาะอาหารที่เกิดจากต่อมน้ำเหลือง (lymphoma) มีหลายชนิดเช่น mucosa associated lymphomatoid tissue (MAL) และ diffuse large B-cell lymphoma
กรุ๊ปเลือดเสี่ยงโรค? เช็กสุขภาพของแต่ละกรุ๊ป ใครเสี่ยงอะไรบ้าง?
ระยะมะเร็งกระเพาะอาหารออกเป็น 4 ระยะ
- ระยะที่ 1 มะเร็งที่อยู่ที่ผิวด้านในของผนังกระเพาะอาหาร และอาจลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 6 ต่อมหรือลุกลามไปถึงขั้นกล้ามเนื้อของผนังกระเพาะอาหาร แต่ยังไม่เข้าต่อมน้ำเหลือง
- ระยะที่ 2 มะเร็งกระเพาะอาหารอยู่ที่ผิวด้านในของกระเพาะอาหารและเข้าต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 15 ต่อม หรือลุกลามเข้าถึงชั้นกล้ามเนื้อของผนังกระเพาะอาหารและเข้าต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 6 ต่อมหรือมะเร็งกระเพาะอาหารลุกลามถึงผิวนอกของผนังกระเพาะอาหารแต่ยังไม่เข้าต่อมน้ำเหลือง
- ระยะที่ 3 มะเร็งกระเพาะอาหารอยู่ที่ชั้นกล้ามเนื้อและเข้าต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 15 ต่อม หรือมะเร็งลุกลามถึงผิวนอกของกระเพาะอาหารและเข้าต่อมน้ำเหลืองไม่เกิน 15 ต่อม หรือลุกลามไปถึงอวัยวะใกล้เคียงแต่ไม่เข้าต่อมน้ำเหลือง
- ระยะที่ 4 มะเร็งกระเพาะอาหารแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ หรือเข้าต่อมน้ำเหลือง มากกว่า 15 ต่อม หรือมะเร็งกระเพาะอาหารที่ลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงและเข้าต่อมน้ำเหลือง
ทั้งนี้ในระยะแรกของมะเร็งมักไม่แสดงอาการแต่หากมีอาการผิดปกติ อาทิ ท้องอืดบ่อย ถ่ายดำ เลือดปนในอุจจาระ ปวดท้องอาเจียนเป็นเลือดน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุท้องบวมจากน้ำในช่องท้อง รีบพบแพทย์เพราะนั้นคือสัญญาณของมะเร็งกระเพาะอาหารระยะลุกลามแล้ว ฉะนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคือ การตรวจสุขภาพประจำปีและหากมีความเสี่ยงควรตรวจคัดกรองมะเร็งกระเพาะอาหารโดยเฉพาะ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ, ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย และ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
10 อาหารอันตราย เจือปนสารพิษก่อมะเร็ง หากินง่ายของโปรดของใครหลายคน!
5 กายบริหารทำได้ทุกเช้า! ช่วยกระตุ้นลำไส้ ลดท้องอืด ท้องเฟ้อ แถมลดพุง!