วิจัยเผย! มลพิษทางอากาศ PM2.5 เพิ่มภาวะหยุดหายใจขณะหลับกว่า 60%
มลพิษทางอากาศอย่าง PM2.5 นอกจากจะเพิ่มความเสี่ยงสารพัดโรคทางเดินหายใจแล้ว การรับในปริมาณที่มากและยาวนานเพิ่มภาวะหยุดหายใจขณะหลับกว่า 60% เลยทีเดียว!
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) เกิดจากการที่มีทางเดินหายใจแคบมากในเวลาหลับ โดยที่เมื่อยังหลับไม่สนิทจะยังเป็นการกรนที่สม่ำเสมอ แต่เมื่อหลับสนิทจะเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ และจะมีช่วงหยุดกรนไปชั่วระยะหนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการหยุดหายใจ (Obstructive sleep apnea) ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับการกลั้นหายใจ ทำให้เกิดอันตรายจากระดับออกซิเจนในเลือดแดงจะลดต่ำลงอย่างมาก ทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ปอด และสมอง ซึ่งร่างกายจะมีกลไกตอบสนองต่อภาวะนี้
“ควันธูป” พบปนเปื้อนสารก่อมะเร็งหลายชนิด กระตุ้นพาร์กินสันในผู้สูงอายุ
พันธุกรรมมะเร็ง เพิ่มโอกาสเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน? ใครบ้างควรคัดกรอง?
โดยสมองของเราจะถูกปลุกหรือกระตุ้นให้ตื่นขึ้นหรือมีอาการคล้ายๆ กำลังสำลักน้ำลายตนเอง หรือบางคนอาจมีอาการหายใจอย่างแรงเหมือนขาดอากาศ ยิ่งหยุดหายใจมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งส่งผลให้กลางวันง่วงมากหรือเพลียมากเท่านั้น
แน่นอนว่า เมื่อการนอนหลับถูกรบกวน จึงก่อให้เกิด โรคต่างๆตามมาเช่น ความดันสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก ภาวะอ้วน โรคซึมเศร้า ภาวะนอนไม่หลับ โดยพบมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ผู้ชายมากกว่าผู้หญิง หรือกลุ่มคนที่น้ำหนักตัวมาก
งานวิจัยสหรัฐอเมริกา พบว่าการสัมผัสมลภาวะ PM2.5 เป็นระยะเวลานานๆทำให้เสี่ยงกรนหยุดหายใจมากขึ้นได้อีกด้วย
การศึกษานี้วัดมลภาวะรอบบ้านของคนจำนวน 1,974 คน เป็นเวลานาน 5 ปี พบว่า การสัมผัสกับมลภาวะ ฝุ่นPM2.5 และก๊าซ ไนโตรเจน ไดออกไซด์ เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหยุดหายใจขณะหลับโดยทุกๆการหายใจเอา 10 ppbของไนโตรเจน ไดออกไซด์ ที่เพิ่มขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหยุดหายใจขณะหลับ 39 % และการหายใจเอาทุกๆ 5 µg/m3 ของ PM2.5 ที่เพิ่มขึ้น จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหยุดหายใจขณะหลับถึง 60% อย่างไรก็ตามการวิจัยนี้ได้ตัดปัจจัยความเสี่ยงอื่นๆที่อาจส่งผลเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหยุดหายใจขณะหลับออกแล้ว เช่นเพศ ความอ้วน เป็นต้น
ข้อเท็จจริง! กินเปลือกมะนาว-ไม่เปลี่ยนผ้าอนามัย ก่อมะเร็งจริงหรือไม่?
ขณะที่สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัดแต่คาดว่าอาจเกิดจากการอักเสบและการบวมของทางเดินหายใจส่วนต้นร่วมกับการที่ฝุ่นเข้าสู่สมองได้โดยตรงไปมีผลกับสมองที่ควบคุมการหายใจโดยตรง โดยสรุปก็คือปัจจัยเรื่องฝุ่นมลภาวะเป็นอีกปัจจัยเสี่ยงนึงที่ไม่ควรมองข้าม เพราะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาอย่างมากมายเลยทีเดียว
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช และ โรงพยาบาลกรุงเทพ
ฝุ่น PM2.5 เพิ่มเสี่ยงสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ 3 เท่า-พัฒนาการเด็กช้าลง
"ไรฝุ่น" สารก่อภูมิแพ้ที่พบมากที่สุด ปัจจัยใหญ่ควบคุมหอบหืดได้ยาก