ผู้สูงอายุนอนทั้งวัน สัญญาณสุขภาพต้องระวังอัลไซเมอร์ เสี่ยงซึมเศร้า
ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด หากมีอาการนอนผิดปกติเรื้อรังนานเกิน 3 เดือนควรปรึกษาแพทย์!
หลายคนคงสังเกตว่าผู้ใหญ่ในบ้านมักนอนน้อยกลางคืนและตื่นแต่เช้ามืด และหลับตอนกลางวันแทน หรือผู้สูงอายุบางคนนอนตลอดทั้งวัน บางครั้งอาจจะตลอดทั้งวันไม่ลุกหากไม่ปลุกขึ้นมารับประทานอาหารหรือทำกิจกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งต้องได้รับการใส่ใจ สาเหตุและปัจจัยการนอนหลับที่ผิดปกติและสัญญาณที่ควรพบแพทย์
ปัญหาการนอนหลับผู้สูงอายุอาจจะมีปัจจัยทางด้านสุขภาพที่ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่ตนเองชอบจึงทำให้เกิดอาการเบื่อและนอนมากขึ้น
กลุ่มเสี่ยงกระดูกพรุน ไม่ใช่แค่สูงอายุ เผยสัญญาณที่ควรรีบพบแพทย์
วิธีดูแลผู้สูงอายุ แข็งแรงทั้งกายใจ ลดโรคแทรกซ้อนสุขภาพจิตดี
นอกจากนี้ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะใช้ยาหลายชนิด โดยที่ร่างกายมีการจัดการและกำจัดยาเปลี่ยนแปลงไป อาจเกิดยาตีกัน ทำให้ผลข้างเคียงของยามากขึ้น ยาที่อาจทำให้เกิดอาการง่วง เช่น ยาคลายกังวล ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ยาแก้แพ้ ยาจิตเวชบางชนิด เป็นต้น
ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการปรับยาหรือเลือกชนิดยาที่เหมาะสม
ปัจจัยภายในของการนอนหลับผู้สูงอายุ
- ภาวะซึมเศร้า ซึ่งอาจแสดงออกโดยการสูญเสียความสนใจในเรื่องที่เคยสนใจ มีภาวะอารมณ์แปรปรวน แยกตัวออกจากสังคม รู้สึกหมดคุณค่า รู้สึกพลังงานลดลง นอนมากขึ้น
- ภาวะสมองเสื่อม
ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์มักมีปัญหาในเรื่องการนอนหลับและการนอนหลับให้สนิท โดยเฉพาะในระยะท้ายของโรค เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถนอนหลับเพียงพอในเวลากลางคืนได้ จึงทำให้มีอาการง่วงและนอนหลับมากขึ้นในเวลากลางวัน
- การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
ภาวะทางด้านร่างกายหรือโรคต่าง ๆ อาจแสดงออกโดยการนอนมากขึ้นหรือซึมลงในผู้สูงอายุ เช่น การขาดสารอาหารและน้ำ ติดเชื้อ การขาดวิตามินบางชนิด โรคหลอดเลือดสมอง ความบกพร่องของฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นต้น หรืออาจมีความเจ็บป่วยเรื้อรังต่าง ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถหลับสนิทได้ในเวลากลางคืน
นอนมากแค่ไหน จึงจะเรียกว่าผิดปกติ
หากผู้สูงอายุใช้เวลานอนมากกว่า 7 ชั่วโมง แต่ยังคงมีอาการง่วงและอ่อนเพลียอยู่ ปลุกให้ตื่นได้ยาก หรือใช้เวลานอนมากเกินไปจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น นอนมากจนไม่อยากรับประทานอาหาร ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ หรือส่งผลเสียต่อร่างกาย ควรรีบพาผู้สูงอายุพบแพทย์
อาการนอนหลับมากผิดปกติอาจเป็นอาการแสดงของโรคและภาวะต่าง ๆ ได้ เช่น ภาวะซึมเศร้า สมองเสื่อม โรคร้ายแรงที่รบกวนการนอนในเวลากลางคืน เช่น โรคที่ส่งผลให้ปวด เช่น โรคข้ออักเสบ ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก โรคหัวใจ โรคปอด โรคหยุดหายใจขณะหลับ เป็นต้น ดังนั้น หากผู้สูงอายุมีภาวะนอนหลับมากผิดปกติ ผู้ที่ให้การดูแลควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและดำเนินการแก้ไข
ความถี่ที่ควร “ตรวจสุขภาพ” ผู้สูงอายุ วางแผนป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ
เทคนิคผู้สูงอายุที่นอนหลับมากผิดปกติ
- ลองปรับอุณหภูมิห้องนอนให้เหมาะสม
- ปรับสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เงียบและมืดสนิท
- จัดตารางเข้านอนให้เป็นเวลา
- ไม่นอนหลับเวลากลางวันมากเกินกว่า 30 นาที และไม่นอนหลังช่วงเวลาบ่าย
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน งดสูบบุหรี่
- ไม่รับประทานอาหารมื้อหนักก่อนเข้านอน ไม่ปล่อยให้ท้องว่างเกินไป
- เลือกเตียงที่สามารถนอนหลับได้สบาย
- ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่งดการออกกำลังกายก่อนเข้านอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
- ใช้ดนตรีบรรเลงช่วยในการนอนหลับ
ผู้ดูแลควรสังเกตถึงลักษณะ ความถี่ ระยะเวลา อาการอื่น ๆ ที่มีร่วมด้วย หากอาการนอนหลับมากผิดปกติเป็นอยู่นานเกิน 3 เดือน หรือมีอาการแสดงของโรคอื่น ๆ ที่เป็นอันตราย ควรปรึกษาแพทย์
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช
สัญญาณซึมเศร้าผู้สูงอายุ มีอาการมากกว่า 2 สัปดาห์ควรรีบพบแพทย์
3 เมนูสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการบดเคี้ยว ป้องกันภาวะขาดสารอาหาร