กลุ่มเสี่ยงกระดูกพรุน ไม่ใช่แค่สูงอายุ เผยสัญญาณที่ควรรีบพบแพทย์
โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่ทำให้กระดูกเปราะและหักง่ายโดยที่อาจเกิดกระดูกหักเองหรือเกิดแรงกระทำที่ไม่รุนแรงเช่น หกล้มขณะยืนหรือเดิน
กระดูกพรุน โรคที่เกิดได้ทั้งจากพันธุกรรมหรือเกิดขึ้นตามธรรมชาติที่อายุมากขึ้น กระดูกจะบางลงจากฮอร์โมนเพศที่น้อยลง เช่น กระดูกพรุนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เกิดจากโรคหรือยาบางอย่าง เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง โรคฮอร์โมนคอร์ติซอลสูง ยาสเตียรอยด์ ยารักษาโรคมะเร็งเต้านมบางชนิด (Aromatase Inhibitor) และอื่น ๆ
กลุ่มเสี่ยงโรคกระดูกพรุน
- ผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไปและผู้ชายอายุ 70 ปีขึ้นไป
วิธีออกกำลังกายเพิ่มมวลกระดูก ลดภาวะกระดูกพรุนเพิ่มความแข็งแรงของหัวใจ
10 อาหารเพิ่มแคลเซียมชะลอกระดูกพรุน ดูแลตัวเองไม่ต้องรอให้สูงอายุก่อน!

- ผู้หญิงที่มีภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำ เช่น ผู้หญิงหมดประจำเดือนก่อนอายุุ 45 ปี ผู้ที่ถูกตัดรังไข่ทั้งสองข้าง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางอายุรกรรม
- คนที่ออกกำลังกายอย่างหนักเป็นระยะเวลานาน
- ผู้ชายที่มีโรคหรือได้ยาที่ทำให้ฮอร์โมนเพศชายต่ำ เช่น จากการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก โรคพันธุกรรมที่มีฮอร์โมนเพศชายต่ำ
- ผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์ขนาดเทียบเท่าหรือมากกว่า Prednisolone 5 มิลลิกรัม/วัน ต่อเนื่องตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป
- มีบิดาหรือมารดากระดูกสะโพกหักจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง
- น้ำหนักตัวน้อยมาก คือ ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 20 กิโลกรัม/ตารางเมตร
- ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ดื่มสุรามาก สูบบุหรี่ กินแคลเซียมไม่เพียงพอ วิตามินดีในเลือดต่ำ ไม่ออกกำลังกาย
ส่วนใหญ่ในระยะแรกจะไม่มีอาการ แต่จะแสดงอาการเมื่อมีกระดูกหักแล้ว ทำให้ต้องนอนติดเตียงถ้าไม่ได้รับการผ่าตัด
อาการเตือนโรคกระดูกพรุน
- ไม่สบายติดเชื้อบ่อย
- หลังโก่ง
- ปวดเมื่อยตามตัว
- กระดูกยุบ ความสูงลดลง
- กระดูกหักบ่อย บริเวณข้อมือ ต้นแขน สะโพก หรือ กระดูกสันหลัง
มะเร็งชนิดไหนลุกลามมาที่กระดูกได้? เสี่ยงแตกหักง่ายภาวะกดทับไขสันหลัง
การรักษาโรคกระดูกพรุน
- การรักษาทางยา มียาหลายชนิดที่ใช้รักษาโรคกระดูกบาง โดยเฉพาะหญิงวัยทอง กลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคกระดูกพรุน ได้แก่
- ฮอร์โมนเอสโตรเจน มักให้ในกลุ่มผู้ป่วยตัดรังไข่ หรือ เพื่อลดอาการจากการหมดประจำเดือน
- SWEMs (selective estrogen receptor modulators) เป็นยาที่สังเคราะห์ขึ้นคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดอุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งเต้านม สามารถลดการสูญเสียมวลกระดูก และลดอุบัติการณ์ของกระดูกเปราะหักได้
- แคสซิโนติน (Calcitonin) เป็นฮอร์โมนธรรมชาติที่สกัดจากปลาแซลมอน ช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก และลดอุบัติการณ์กระดูกสันหลังหัก มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดได้
- บิสฟอสพอเนต (Bisphoshonates) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสลายกระดูก ช่วยลดความเสี่ยงต่อกระดูกสันหลังหักยุบ และกระดูกสะโพกหักได้
- ฮอร์โมนพาราไธรอยด์ ในผู้ป่วยที่กระดูกพรุนรุนแรง หรือไม่ตอบสนองต่อยากลุ่มอื่น
- การรักษาโดยการผ่าตัด เพื่อแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากภาวะกระดูกหัก เช่น การฉีดซีเมนต์ที่กระดูกสันหลัง ในรายที่กระดูกสันหลังหัก ยุบ หรือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในรายที่กระดูกสะโพกหัก
สิ่งที่จะทำให้ทราบได้ว่ากระดูกมีการเสื่อมสภาพหรือไม่ ทำได้โดยการปรึกษาแพทย์เพื่อซักประวัติ เอกซเรย์ ตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก และหากพบความผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลที่ถูกต้อง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล และ โรงพยาบาลกรุงเทพ
ปวดขาหนัก!ตอนกลางคืน แบบไหนอันตราย? ควรรีบพบแพทย์!
มะเร็งชนิดไหนลุกลามมาที่กระดูกได้? เสี่ยงแตกหักง่ายภาวะกดทับไขสันหลัง