หน้าร้อน! แนะระวังโรคจากอาหารและน้ำ อาจติดเชื้อท้องร่วงจนเสียชีวิตได้!
เรื่องที่ต้องระวังช่วงหน้าร้อน คือโรคที่มากับน้ำและอาหาร เช็กอันตรายและวิธีป้องกัน บางรายติดเชื้อหนักอาจอันตรายถึงชีวิต
ช่วงหน้าร้อน ไม่เพียงทำให้รู้สึกหงุดหงิด เพราะความเหนอะหนะตัว ที่แด้วยการอาบน้ำหรือไม่ออกไปเจออากาศร้อน แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคบางอย่างได้ง่ายขึ้น ยิ่งปีนี้คาดว่าจะมีอุณหภูมิสูงกว่าปีที่แล้วยิ่งต้องระวังเพราะยิ่งร้อน เชื้อโรคบางชนิดจะเจริญเติบโตได้ดี จึงควรระมัดระวังด้วยการรู้เท่าทันและหาทางป้องกันไว้ก่อน
โรคต้องระวังหน้าร้อน!
-
โรคอุจจาระร่วง หรือท้องเสีย
เกิดจากน้ำและอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคต่างๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว พยาธิ
รับมือพายุฤดูร้อน ดูแลสุขภาพป้องกันสุขอนามัยป้องกันโรคจากน้ำและอาหาร
สธ. แนะวิธีปฐมพยาบาล “ฮีทสโตรก” คาดปีนี้อุณหภูมิจะสูงกว่าปีที่ผ่านมา!

หรือในบางรายอาจได้รับเชื้อโรคจากการใช้มือหยิบจับสิ่งของที่ปนเปื้อนแล้วนำเข้าปาก
อาการผู้ป่วยคือการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำอย่างน้อย 3 ครั้งขึ้นไปต่อวัน หรือถ่ายเป็นมูกปนเลือด 1 ครั้งขึ้นไปต่อวัน หากปล่อยไว้ร่างกายจะสูญเสียน้ำและเกลือแร่ ทำให้อ่อนเพลีย อวัยวะต่างๆ เสียสมดุลการทำงาน และเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาจนทำให้เกิดภาวะช็อก หมดสติ และเสียชีวิตได้
-
อาหารเป็นพิษ
โรคในระบบทางเดินอาหารที่เกิดจากการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ หรืออาหารดิบ
อาหารเป็นพิษ จะมีหลายอย่าง เช่น มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว ปวดท้อง ท้องร่วง บางรายอาจถ่ายเหลวเป็นน้ำจนร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ หรือเกิดการติดเชื้อไปยังอวัยวะอื่นๆ หากเกิดในเด็กทารกหรือผู้สูงอายุอาจทำให้ภูมิต้านทานลดลงมากจนทำให้เสียชีวิตได้
-
อหิวาตกโรค
ชื่อดูน่ากลัวและก็น่ากลัวตามชื่อ โดยสาเหตุมาจากการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี (Vibrio Cholerae) ปนเปื้อนอยู่ โดยเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะทำปฏิกิริยากับเยื่อบุผนังลำไส้เล็ก ส่งผลให้ถ่ายเหลวอย่างรุนแรง โดยไม่มีอาการปวดท้อง หากปล่อยไว้ อาจก่อให้เกิดอาการขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว จนทำให้หมดสติ
บางรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
-
โรคบิด
เกิดจากการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียหรืออะมีบา อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เมื่อเชื้อเข้าสู่กระเพาะอาหารจะผ่านเข้าสู่ลำไส้ จากนั้นผนังลำไส้จะเกิดอาการบวม อักเสบ ทำให้มีไข้ขึ้น ปวดเมื่อยตามตัว ปวดท้องแบบปวดเบ่งที่ทวารหนักคล้ายถ่ายไม่สุด และถ่ายเป็นมูกปนเลือดบ่อยครั้ง
-
โรคไข้ไทฟอยด์ หรือโรคไข้รากสาดน้อย
เกิดจากการกินอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลล่า ไทฟี่ (Salmonella typhi) ซึ่งโรคไข้ไทฟอยด์จะทำให้ผู้ป่วยมีไข้สูงลอย ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร อาจท้องผูกหรือท้องเสียร่วมด้วย ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และแม้จะหายจากโรคแล้วก็ยังเป็นพาหะแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้
-
ฮีทสโตรก (Heat stroke)
โรคดังกล่าว มักเกิดในหน้าร้อน ที่ร่างกายเกิดความร้อนสะสม อุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส โดยอาการที่สังเกตได้ คือ รู้สึกเมื่อย ล้า อ่อนเพลีย ตัวร้อนมาก ปวดศีรษะ หน้ามืด จากนั้นอุณหภูมิในร่างกายจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จนรูขุมขนปิด ทำให้เหงื่อไม่ออก ชีพจรเต้นเร็ว ใจสั่น จนถึงขั้นชักกระตุก เกร็ง และหมดสติได้
หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที อาจทำให้หัวใจหยุดเต้นและถึงแก่ชีวิตได้ โดยความรุนแรงของโรคลมแดด (Heat Stroke) จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น โรคประจำตัวอย่างเบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือมีภาวะขาดน้ำ โดยในกลุ่มที่ติดสุราเรื้อรังโรคก็จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น
-
โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีอยู่ในน้ำลายสัตว์ ผ่านการกัด ข่วน หรือถูกเลียบริเวณแผล หรือแม้แต่น้ำลายนั้นเข้าตา ปาก จมูก หลังการติดเชื้อผู้ป่วยจะมีอาการทางระบบประสาท เช่น ชัก ประสาทหลอน หรืออัมพาต ที่สำคัญเมื่อมีอาการแล้วจะเสียชีวิตทุกราย
หากถูกกัดควรรีบล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง แล้วรีบไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
8 วิธีช่วยประหยัดไฟในช่วง "หน้าร้อน"
ป้องกันโรคหน้าร้อน
จะเห็นได้ว่า โรคที่มากับหน้าร้อนส่วนใหญ่ มักเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
- เลือกกินอาหารที่ปรุงสุก สะอาด ไม่บูด หรือไม่นำวัตถุดิบที่เริ่มเสียมาปรุงอาหาร
- งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
- ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ทั้งก่อนและหลังมื้ออาหาร รวมถึงหลังใช้ห้องน้ำ
- ดื่มน้ำที่สะอาด เช่น น้ำดื่มบรรจุขวดที่มีเครื่องหมาย อย. หรือน้ำต้มสุก
- ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว โดยจิบบ่อยๆ ทั้งวัน
- หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ
นอกจากนี้ การตรวจเช็กสุขภาพประจำปีก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เราได้รู้จักร่างกายของตนเองดีขึ้น จะได้ระมัดระวังโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ซึ่งหากมีอาการใดๆ ที่ผิดสังเกต ก็ควรรีบพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับการตรวจและรักษาอย่างทันท่วงที ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงอยู่กลางแดดเป็นเวลานานและดื่มน้ำให้เพียงพอด้วยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
เตือนภัยหน้าร้อน! ฮีทสโตรก เสี่ยงรุนแรงทำลายระบบสมอง! อันตรายถึงชีวิต
หน้าร้อน! ระวังเรื่องอาหารบูดง่าย เช็กก่อนกิน เสี่ยงอาหารเป็นพิษ