รับมือพายุฤดูร้อน ดูแลสุขภาพป้องกันสุขอนามัยป้องกันโรคจากน้ำและอาหาร
เมื่อประเทศไทยเข้าสู่หน้าร้อนอย่างสมบูรณ์แบบ และสิ่งที่ตามมาคือพายุฤดูร้อนที่ต้องระวังทั้งปัญหาสุขภาพและภัยธรรมชาติ!ป้องกันโรคจากอาหารและน้ำ
ฤดูร้อนมักจะเกิดพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง มีลมกระโชกแรง เป็นเหตุให้อาคารบ้านเรือนของประชาชนได้รับความเสียหายและป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ที่อยู่ในสภาพเก่า ชำรุด ไม่มั่นคงแข็งแรง ขณะที่ในด้านสุขภาพ นั้นควรติดตามสถานการณ์ พายุฤดูร้อน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงประสบภัย
- เฝ้าระวังทางสุขภาพของกลุ่มเปราะบาง หรือกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพในครอบครัว เช่น ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวโดยสังเกตอาการป่วย
หน้าร้อน! ระวังเรื่องอาหารบูดง่าย เช็กก่อนกิน เสี่ยงอาหารเป็นพิษ
เตือนภัยหน้าร้อน! ฮีทสโตรก เสี่ยงรุนแรงทำลายระบบสมอง! อันตรายถึงชีวิต

- เตรียมจัดเก็บบรรจุยาสามัญประจำบ้าน ยาที่ต้องใช้เป็นประจำ และอุปกรณ์ช่วยพยุงตัวอื่น ๆ ให้พร้อมอยู่เสมอ เพื่อรองรับหากมีการแจ้งให้อพยพจากพื้นที่ได้รับผลกระทบรุนแรง
ความปลอดภัยของตนเองช่วงพายุฤดูร้อน
- หากเกิดน้ำท่วมเฉียบพลันและเกิดเหตุภายในบ้านเรือน ให้รีบยกสะพานไฟภายในบ้านลง เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่วไหล หากมีการแจ้งให้อพยพ ให้รับเคลื่อนย้ายออกจากบ้าน ตามที่เจ้าหน้าที่แจ้งโดยเร่งด่วน
- หลีกเลี่ยงการเล่น หรือสัมผัสน้ำเน่าขัง อาจส่งผลให้เชื้อโรคอาจเข้าตา ปาก จมูก และบาดแผลอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงตายได้ หากจำเป็นต้องสัมผัสน้ำเน่าเสียจากน้ำท่วมขังยาวนาน ต้องสวมรองเท้ายางหรือชุดป้องกันน้ำท่วม และหลังสัมผัสน้ำเน่าเสียต้องล้างด้วยสบู่และน้ำสะอาดทันที
- ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลโดยหมั่นล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงการกินอาหารค้างคืนหรืออาหารที่มีกลิ่นและรสชาติที่ผิดไปจากปกติ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ เช่น โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคอาหารเป็นพิษ เป็นต้น และอย่าทิ้งขยะ อุจจาระ เศษอาหาร ลงในน้ำให้ใส่ถุงดำ มัดปากถุงให้แน่น
- เฝ้าระวังสัตว์มีพิษและแมลงนำโรคที่มากับน้ำ กรณีการเกิดน้ำท่วมเฉียบพลัน เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง รวมทั้งแมลงก้นกระดก ที่อาจส่งผลทำให้เกิดอันตราย เจ็บป่วยและเสียชีวิต
อาหารรับฤดูร้อน อะไรกินดีรักษาสมดุลสุขภาพ อาหารแบบไหนเสี่ยงร้อนใน!
อย่างไรก็ตาม กรณีไม่ได้อยู่ที่บ้าน และต้องอยู่กลางแจ้ง ให้รีบเข้าไปในอาคารหรือที่กำบังที่มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันอันตรายจากลมแรงและฟ้าผ่า ไม่หลบพายุในพื้นที่เสี่ยงอันตราย โดยเฉพาะบริเวณต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้า หรือสิ่งปลูกสร้างไม่มั่นคงแข็งแรง หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า อยู่ให้ห่างจากวัตถุที่เป็นโลหะหรือสื่อนำไฟฟ้า งดใช้เครื่องมือสื่อสารและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดทำให้เสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่าได้!
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมอนามัย
วิตามินบี 3 ตัวท็อปช่วยดูแลผิว ป้องกันการอักเสบ เพิ่มชุ่มชื้นหน้าร้อน
“ผดผื่นคัน” โรคผิวหนังที่มาพร้อมกับหน้าร้อน เช็กอาการ-วิธีรักษา