เปิด 2 เทคนิคออกกำลังกาย เพิ่มมวลกระดูก ลดปัญหากระดูกพรุน!
สมัยนี้ไม่ต้องรอให้สูงอายุก็กระดูกพรุนได้ หากมีปัจจัยเสี่ยงร่วม แนะการออกกำลังกายให้กระดูก ช่วยป้องกันกระดูกพรุน!
รู้หรือไม่ ? สถิติโรคกระดูกพรุนทั่วโลกเพิ่มขึ้นและมีอายุเฉลี่ยน้อยลงเรื่อยๆ หากคุณชอบมีอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดสะโพก หรือปวดเข่า อยู่บ่อยๆ การตรวจมวลกระดูกโดยไม่ต้องรอให้สูงวัย ตลอดจน “ออกกำลังกาย” ก็สามารถช่วยบำรุงกระดูกได้เหมือนกันนะ!
มวลกระดูกลดลง เสี่ยงกระดูกพรุน
กระดูกของคนเราจะมีทั้งความแข็งแรง ยืดหยุ่น ทนทานต่อแรงกดดันและแรงกระแทก ในขณะที่ “ภาวะกระดูกพรุน” คือ ภาวะที่ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดน้อยลง
มะเร็งกระดูก สัญญาณแรกรีบพบแพทย์ แพทย์เผยมะเร็งชนิดไหนบ้าง ลามกระดูก!
“แคลเซียม” ช่วยเรื่องกระดูกได้จริงหรือไม่? เปิดข้อมูลการแพทย์

ส่งผลให้กระดูกมีความแข็งแรงลดลงไปด้วย โดยปกติความหนาแน่นของมวลกระดูกจะสูงสุดเมื่ออายุ 30 ปี และค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ ทำให้ภาวะกระดูกพรุนมีโอกาสเกิดขึ้นในคนสูงอายุมากกว่านั่นเอง
ออกกำลังกายเพิ่มมวลกระดูก
- Weight Bearing Exercise หรือการออกกำลังกายโดยใช้เท้าและขา หรือมือและแขน ในการรับน้ำหนักของตัวเอง เช่น การเต้นแอโรบิก ฟุตบอล บาสเก็ตบอล แบดมินตัน วิ่ง หรือการเดิน ทั้งนี้การออกกำลังกายวิธีนี้ไม่เพียงช่วยให้กระดูกแข็งแรง แต่ยังส่งผลดีต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจอีกด้วย
- Strengthening / Resistance Exercise หรือการออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักหรือแรงต้านจากร่างกายของเราเอง พร้อมกับใช้แรงต้านหรือน้ำหนักจากภายนอก เช่น การยกน้ำหนัก (Weight Training) ที่เราพบเห็นบ่อยๆ ตามฟิตเนส
เปิดสาเหตุ “มะเร็งกระดูก” เผยเกิดจากมะเร็งชนิดอื่นลุกลามกว่า 20%
การออกกำลังกายประเภทนี้จะส่งเสริมให้กระดูกได้ทำงานมากที่สุดและช่วยเพิ่มมวลกระดูกได้มากกว่าวิธีแรก แต่การออกกำลังกายลักษณะนี้อาจเหมาะกับหนุ่มสาววัยรุ่นหรือวัยทำงานมากกว่าวัยสูงอายุ
กระดูกพรุน ภัยเงียบที่อาจเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นก่อนออกกำลังกายโดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบที่ใช้ความแข็งแรง เช่น เวทเทรนนิ่ง อาจต้องมีการตรวจเช็คมวลกระดูกเพื่อเลือกประเภทการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับความแข็งแรงของกระดูกมากที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 2
วิจัยพบออกกำลังกายช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ ลดการตื่นกลางดึกได้!
7 ท่าออกกำลังกาย คนนั่งนาน ป้องกันปวดขา- ขาบวมหลอดเลือดดำอุดตัน!