“ปวดกระดูก” สัญญาณแรกมะเร็งลุกลามเข้ากระดูก ภาวะแทรกซ้อนอันตราย!
กระดูก อวัยวะที่มะเร็งอวัยวะอื่นแพร่กระจายเข้าไปกัดกินได้ง่าย ซึ่งเป็นการซ้ำเดิมโรคของผู้ป่วย สัญญาณและภาวะแทรกซ้อนอันตราย
เชื่อหรือไม่ ? มะเร็งทุกชนิดมีโอกาสแพร่กระจายไปยังกระดูก หรือที่เราเรียกว่า มะเร็งทุติยภูมิ แต่ส่วนใหญ่ มักมาจากมะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งไต มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา มะเร็งรังไข่ และมะเร็งไทรอยด์
กระดูกที่พบการลุกลาของมะเร็งมากที่สุด คือ กระดูกสันหลัง รองลงมาได้แก่ กระดูกส่วนสะโพก ต้นขา ต้นแขน ซี่โครง และกะโหลกศีรษะกลไกมะเร็งเมื่อเข้าไปยังกระดูกแล้ว จะไปหยุดการทำงานหรือเร่งการทำงาน เกิดการทำลายกระดูกที่มากเกินไป หรือสร้างมากเกินไป ทำให้กระดูกบอบบางและหักได้ง่ายกว่าปกติ
มะเร็งกระดูก สัญญาณแรกรีบพบแพทย์ แพทย์เผยมะเร็งชนิดไหนบ้าง ลามกระดูก!
เปิดสาเหตุ “มะเร็งกระดูก” เผยเกิดจากมะเร็งชนิดอื่นลุกลามกว่า 20%
Freepik/freepik
ผู้ป่วยมะเร็ง

อาการของการแพร่กระจายไปกระดูก
- อาการปวดกระดูก
สัญญาณแรก ซึ่งในระยะแรกอาการอาจเป็นๆหายๆ และเริ่มเป็นหนักขึ้น มักปวดมากช่วงกลางคืน และจะมีอาการดีขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว ระยะต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการถี่ขึ้น และแย่ลงเมื่อมีการเคลื่อนไหวร่างกาย กระดูกเมื่อบางลงจะเกิดโอกาสหักได้ง่าย
- กระดูกหัก
เนื่องจากกระดูกบาง จึงเป็นสาเหตุให้กระดูกหักได้ง่ายเพียงแค่ทำกิจกรรมปกติในชีวิตประจำวันเท่านั้น การเกิดมักเกิดขึ้นเร็วและมีอาการปวดมาก โดยมักเกิดบริเวณกระดูกยาวเช่นกระดูกแขน กระดูกขา หรือกระดูกสันหลัง
- การกดทับของไขสันหลัง
เมื่อเกิดกระดูกหัก การผ่าตัดเป็นการรักษาหลักเพื่อเข้าไปใส่อุปกรณ์เพื่อเสริมบริเวณที่หัก ไม่ให้หักหรือเสียหายมากขึ้น และควรได้รับการฉายรังสีตามหลังเพื่อป้องกันการแพร่กระจายไปกระดูกมากขึ้นในส่วนนั้น
เปิด 2 เทคนิคออกกำลังกาย เพิ่มมวลกระดูก ลดปัญหากระดูกพรุน!
- ภาวะกดทับไขสันหลัง
เมื่อเซลล์มะเร็งเข้าไปที่กระดูกหลัง มันสามารถขยายตัวใหญ่ขั้นและไปกดทับไขสันหลังได้ อาการแรกๆที่เกิดขึ้นคืออาการปวด อาการต่อมาผู้ป่วยอาจมีอาการแขนหรือขาทั้งสองข้างอ่อนแรงหรือชา และอาจมีอาการไม่สามารถกลั้นปัสสาวะ อุจจาระได้
เป็นภาวะฉุกเฉิน ซึ่งควรได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ภายใน 24-48ชั่วโมง
- แคลเซียมในเลือดสูง
การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งที่ไปที่กระดูกนั้น ทำให้มีการสลายของแคลเซียมออกจากกระดูกเข้ามาที่กระแสเลือดมากขึ้น เกิดภาวะแคลเซียมสูงในเลือด ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น อาการท้องผูก ปัสสาวะบ่อย ซึมลง กล้ายเนื้ออ่อนแรง สับสน หมดสติ หรือไตวายได้
อย่างไรก็ตามหากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ และอยู่ในการดูแลของแพทย์เพื่อควบคุมโรคเดิมให้อยู่เพื่อป้องกันการลุกลามเข้ากระดูกเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับตนเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
เปิดแคลเซียม“งาขาว งาดำ” แนะควรกินวันละช้อนเสริมสุขภาพ!
“แคลเซียม” ช่วยเรื่องกระดูกได้จริงหรือไม่? เปิดข้อมูลการแพทย์