มะเร็งไทรอยด์ กับ ไทรอยด์เป็นพิษ อาการต่างกันอย่างไร?
รู้หรือไม่ ? ไทรอยด์เป็นพิษไม่ใช่มะเร็งไทรอยด์ อาการสัญญาณของโรคต่างกันอย่างไร? แนะวิธีวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง
หลายคนมักเข้าใจแบบเหมารวมว่า “โรคไทรอยด์” คือโรคไทรอยด์เป็นพิษ หรือมะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ เพราะอาการมักคล้ายๆ กัน แต่จริงๆแล้ว โรคไทรอยด์ มีหลากหลายกลุ่มการ ดังนั้นเราต้องทำความรู้จักกับต่อมไทรอยด์ และโรคไทรอยด์ผิดปกติให้มากขึ้น เพื่อจะเป็นเเนวทางในการป้องกัน และลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งที่ต่อมไทรอยด์
โรคไทรอยด์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่
- กลุ่มฮอร์โมนไทรอยด์สูงหรือกลุ่มไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroid)
- กลุ่มฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroid)
- กลุ่มที่มีก้อนที่คอ
มะเร็งต่อมไทรอยด์ สัญญาณอันตราย ก้อนที่คอแบบไหนเสี่ยง!
ปัจจัยเสี่ยง “มะเร็งไทรอยด์” ลักษณะก้อนที่คอแบบไหนต้องระวัง
อาการของก้อนที่ต่อมไทรอยด์
- คลำได้ก้อนที่คอ
- มีอาการเจ็บก้อนที่คอ
- มีอาการที่เกิดจากการกดเบียด เช่น การหายใจลำบาก การกลืนติด
- อาการอื่นๆ จากฮอร์โมนผิดปกติ เช่น ฮอร์โมนสูงจะมีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น เหงื่อออกมาก หิวบ่อย เครียด นอนไม่หลับ บางรายอาจมีอาการถ่ายอุจจาระวันละ 2-3 ครั้งขึ้นไป
- อาการที่เกิดจากการทำลายเส้นประสาท เช่น กลืนสำลัก เสียงแห้ง
ไทรอยด์เป็นพิษต่างจากมะเร็งไทรอยด์อย่างไร?
- ไทรอยด์เป็นพิษ เป็นภาวะ หรือ โรคที่เกิดจากการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ มีการทำงานมากเกินไป เกิดการสร้างฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์มากผิดปกติ ทำให้การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายผิดปกติตามไปด้วย อาการที่พบคือ ใจสั่น หงุดหงิด ขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย กินจุแต่น้ำหนักไม่เพิ่มหรือกลับผมลง บางคนมีผิวค่อนข้างชื้น บางคนมีอาการท้องเสีย ส่วนบางคนก็ตาโปนออก ฯล
รักษาไทรอยด์เป็นพิษ
หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น แพทย์จะตรวจเลือด เมื่อพบว่าการทำงานของต่อมไทรอยด์มากผิดปกติ ก็สามารถวินิจฉัยโรคได้ การรักษาหลักของไทรอยด์เป็นพิษ คือ การกินยา เมื่ออาการดีขึ้น แพทย์จะค่อยๆลดยาลง และ หยุดยาได้ในที่สุด หากกินยาแล้วไม่ดีขึ้น อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด หรือ การกินไอโอดีนกัมมันตรังสี ระยะเวลาเฉลี่ยในการรักษามักจะประมาณ 2 ปี
- มะเร็งไทรอยด์ เป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในต่อมไทรอยด์ กลายเป็นเนื้อร้าย ซึ่งมะเร็งไทรอยด์มักจะเริ่มเป็นก้อนเฉยๆ ที่บริเวณต่อมไทรอยด์(ด้านหน้าลำคอ) ต่อมาก้อนจะโตขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโตมากขึ้น อาจมีการแพร่กระจายของโรคมะเร็งเกิดเป็นก้อนขึ้นที่ด้านข้างลำคอ (ต่อมน้ำเหลือง) หรือมีก้อนตามตัวที่ส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ เช่น ศีรษะ ซี่โครง สะโพก ฯลฯ บางคนอาจมีอาการเสียงแหบ หรือก้อนใหญ่ขึ้นจนหายใจไม่สะดวก
รักษามะเร็งไทรอยด์
มะเร็งไทรอยด์ เมื่อเป็นน้อยๆ มักไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ นอกจากก้อนที่ต่อมไทรอยด์ ดังนั้น เมื่อพบก้อนที่บริเวณด้านหน้าลำคอ ที่เคลื่อนขึ้น-ลง ตามการกลืนน้ำลาย ควรพบแพทย์ แพทย์จะทำการใช้เข็มขนาดเล็กเจาะเซลล์จากต่อมไทรอยด์มาตรวจ (fine needle aspiration) ซึ่งสามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ ไทรอยด์เป็นพิษไม่ใช่มะเร็งไทรอยด์
ระยะ “มะเร็งไทรอยด์” รู้ทันก่อนลุกลามไปอวัยวะอื่น ยากเกินควบคุม!
การวินิจฉัยโรคไทรอยด์
- ตรวจเลือด TFT ดูค่าฮอร์โมนไทรอยด์
- U/S หาก้อนไทรอยด์ ต่อมน้ำเหลือง ดูว่าลักษณะก้อนเป็นอย่างไร เเละดูจำนวนก้อน
- FNA เจาะก้อนเพื่อตรวจเซลล์ ว่ามีความเสี่ยงมะเร็งไทรอยด์หรือไม่
- Thyroid Scan ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งมักใช้ตรวจในกลุ่มโรคฮอร์โมนไทรอยด์สูง
การรักษาโรคไทรอยด์
โดยทั่วไปจะรักษาโรคไทรอยด์ด้วยการใช้ยา การผ่าตัด หรือการกลืนเเร่ ซึ่งจะเลือกวิธีรักษาตามชนิดและความรุนแรงของอาการที่วินิจฉัยที่ได้ หากมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งไทรอยด์สูงจะพิจารณาเลือกรักษาด้วยการผ่าตัด หรือถ้าผลเลือดผิดปกติและไม่พบมะเร็ง ก็อาจใช้การรักษา ด้วยยา เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 และ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
แหล่งไอโอดีนจากผักและผลไม้ ช่วยให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนได้ตามปกติ!
“ไทรอยด์”เชื่อมโยงระบบเผาผลาญ เช็กความผิดปกติน้ำหนักก่อนอันตรายถึงชีวิต