3 วิธีคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และช่วงเวลาที่แม่นยำที่สุดสำหรับคุณผู้หญิง
ตรวจมะเร็งปากมดลูก หลายคนอาจจะหลีกเลี่ยงกันอยู่ เพราะคิดว่าทั้งน่ากลัวและน่าอาย ทั้งที่จริงการปล่อยให้เป็นมะเร็งต่างหากที่น่ากลัวมากกว่า เผย 3 วิธีตรวจมะเร็งปากมดลูก และช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการคัดกรองมะเร็งสำหรับคุณผู้หญิง
มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) มะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้หญิง ที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่เกิดขึ้นบริเวณปากมดลูก ซึ่งสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ เลย หากได้รับการตรวจคัดกรองตามคำแนะนำของแพทย์ เพราะมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกมักไม่ค่อยมีสัญญาณ ทำให้เมื่อมีอาการก็มักจะเป็นในขั้นรุนแรงแล้ว มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่จะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papollpmavirus) ที่มีอยู่หลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์หลัก เกิดการติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศของทั้งผู้ชายและผู้หญิงนั่นก็คือ สายพันธุ์ 16 และ 18
10 สัญญาณมะเร็งปากมดลูก เผยพฤติกรรมและช่วงอายุเสี่ยงโรค
“มะเร็งปากมดลูก” ทำไมบางคนเสี่ยงมากกว่า? วิธีป้องกันตามช่วงอายุ
3 วิธีตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
- วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกแปปเสมียร์ (Pap smear) เป็นการตรวจที่แพทย์จะใช้ไม้พายเก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก ก่อนนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้กันมานาน เป็นวิธีการตรวจที่ราคาไม่สูง แต่ด้านความแม่นยำอาจไม่มากนัก อยู่ที่ประมาณ 50 %
- วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกตินเพร็พ (ThinPrep) วิธีนี้พัฒนามาจากวิธีแปปเสมียร์ มีประสิทธิภาพและความแม่นยำอยู่ที่ประมาณ 90-95% โดยเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูกด้วยอุปกรณ์เฉพาะ จากนั้นใส่ลงในขวดน้ำยาตินเพร็พ ก่อนส่งตรวจผลในห้องปฏิบัติการ
- วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกตินเพร็พ (ThinPrep) + การตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV DNA Test) เป็นการตรวจที่เชื่อว่าดีที่สุด เพราะเป็นการตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกร่วมกับตรวจดีเอ็นเอของเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งปากมดลูก ร่วมกับการเจาะลึกให้มากขึ้นว่ามีการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ 16 และ 18 หรือไม่ ซึ่งถ้าไม่มีการติดเชื้อก็สามารถมั่นใจได้ถึง 99 % ว่าในช่วง 1-2 ปีที่รับการตรวจโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกจะน้อยมาก
ระยะมะเร็งปากมดลูก เช็กอาการก่อนลุกลามกระดูก-ต่อมน้ำเหลือง
ช่วงเวลาที่ดีที่สุด ในการตรวจมะเร็งปากมดลูก
ความจริงแล้ว คุณผู้หญิงไม่ต้องเตรียมตัวอะไรกันมาก แค่เตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อม ในการตรวจ คือช่วง 10-20 วันหลังจากมีประจำเดือน นั่นหมายความว่าเมื่อเรานับจากวันแรกที่มีประจำเดือนเป็นวันที่ 1 และนับต่อไปอีกสิบวันจนวันที่ 11 ถึงวันที่ 20 ช่วงนี้ร่างกายจะมีความสะอาดมาก ซึ่งทำให้มีค่าเบี่ยงเบนน้อย จึงเหมาะกับการตรวจคัดกรอง
ทั้งนี้การเข้ามาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจคัดกรองนี้สามารถทำได้ทุกเวลา ยกเว้นเพียงแค่ช่วงมีประจำเดือนเท่านั้นสามารถป้องกันด้วยการฉีควัคซีน HVP ที่จะช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกได้ เพราะปัญหาภายในของผู้หญิงล้วนเซนซิทีฟและไม่มีสัญญาณเตือนในระยะแรก จึงไม่ควรละเลยมองข้ามการตรวจภายใน
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย4