9 สัญญาณต้องสงสัยออทิสติกในเด็ก รู้ทันรักษาหายขาดได้!
พูดช้า ไม่มองหน้า ไม่สบตา เรียกชื่อไม่หัน หนึ่งในหลายอาการที่ต้องสงสัยภาวะออทิสติก พบได้บ่อยในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง พบเร็วรักษาหายได้เร็วกว่า!
ภาวะออทิสติก หรือ Autistic Spectrum Disorder คือ กลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของพัฒนาการทางสมอง ทำให้เกิดความบกพร่องของพัฒนาการทางภาษาและการสื่อสาร การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และมีพฤติกรรมบางอย่างที่ผิดปกติไป อาการส่วนใหญ่จะเริ่มปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนเมื่ออายุประมาณ 2 ปี โดยจะมีอาการมากหรือน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
อาการต้องสงสัยภาวะออทิสติก
-
ไม่ค่อยสบตา
-
ไม่ค่อยตอบสนองต่อเสียงเรียกชื่อ
-
ไม่แสดงท่าทางหรือชี้ เพื่อบอกความต้องการ
“ผู้สูงอายุ” ควรวางแผนตรวจสุขภาพอะไรบ้าง? เผยโรคเรื้อรังที่พบบ่อย!
ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุแบบเชิงลึกคืออะไร ดีต่อผู้สูงวัยมากน้อยแค่ไหน?

-
ไม่ชี้เพื่อบอกสิ่งที่สนใจ หรือไม่สนใจเวลาชี้ชวนให้ดูสิ่งต่าง ๆ
-
ไม่เลียนแบบสีหน้า ไม่เข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น
-
ใช้ภาษาของตัวเองที่คนอื่นฟังแล้วไม่เข้าใจ (ภาษาต่างดาว)
-
พูดตามเลียนแบบซ้ำ ๆ โดยไม่เข้าใจความหมาย
-
พูดช้ากว่าวัย
-
มีพัฒนาการถดถอย โดยเฉพาะด้านภาษาและการสื่อสาร
ความผิดปกติทางพฤติกรรม
-
ชอบทำอะไรซ้ำ ๆ เดิม ๆ เช่น ทานอาหารซ้ำ ๆ ใช้ของซ้ำ ๆ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ยาก
-
ทำท่าทางที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวซ้ำ ๆ เช่น เดินเขย่งเท้า กระโดดสะบัดมือเวลาดีใจ เอานิ้วมือตัวเองมามองและขยับไปมาใกล้ใบหน้า
-
สนใจในบางเรื่องจนหมกมุ่นมากเป็นพิเศษ
-
เล่นของเล่นซ้ำ ๆ มองส่วนที่สนใจเป็นพิเศษ เช่น มองล้อรถหมุน ๆ
-
ไม่เล่นสมมติตามวัย
-
ตอบสนองต่อสิ่งเร้าบางอย่างมากหรือน้อยเกินไป เช่น กลัวเสียงไดร์เป่าผมอย่างมาก หรือไม่ตอบสนองกับความเจ็บปวด
-
ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมและบุคคลรอบข้าง ชอบแยกตัว เล่นกับคนอื่นไม่เป็น
ภาวะออทิสติก รู้เร็ว รักษาเร็ว ด้วยการฝึกกระตุ้นพัฒนาการ กิจกรรมบำบัด ปรับพฤติกรรม และอรรถบำบัดตั้งแต่ยังเล็ก จะช่วยให้มีพัฒนาการที่ใกล้เคียงกับพัฒนาการปกติตามวัยได้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อเข้ารับการบำบัดรักษาเมื่ออายุน้อยกว่า 3 ปี จะส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อการรักษาและพัฒนาการทุกด้าน รวมถึงช่วยลดอาการลงได้
ดังนั้นหาก สงสัยว่าลูกอาจมีความเสี่ยงหรือเข้าข่าย ภาวะออทิสติก ควรพามาพบกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการหรือพฤติกรรมเด็ก เพื่อรับการตรวจประเมินเพิ่มเติม และการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 2
ป้องกันการหกล้มผู้สูงอายุ ลดพิการ-เสียชีวิต แนะวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น!
วิธีหายใจให้เต็มปอด 5 เทคนิคเสริมระบบภูมิคุ้มกัน แข็งแรงไม่แก่ง่าย!