สัญญาณ "ซึมเศร้าในผู้สูงอายุ" รายงานพบวัย 60+ เสี่ยงป่วยกว่า 30%
หนึ่งในภัยสุขภาพผู้สูงอายุที่ไม่ควรมองข้าม คือ “ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ” ที่เกิดได้จากหลากหลายปัจจัย ทั้งโรคภัยและการสูญเสียคนรัก เช็กสัญญาณและการปรับพฤติกรรม
โรคซึมเศร้า ในกลุ่มผู้สูงอายุ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่พบได้มากกว่าวัยอื่น ๆ โดยมีรายงานพบว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป เสี่ยงเกิดภาวะซึมเศร้าได้สูงถึง 30% เลย
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคซึมเศร้า
- ทางกาย : อาจเกิดจากโรคบางอย่าง เช่น ภาวะสมองเสื่อม, โรคพาร์กินสัน, โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง หรือหลอดเลือดสมองอุดตัน รวมทั้งผลกระทบจากการใช้ยาบางประเภท
"ผู้สูงอายุ" กินยาเท่าที่จำเป็น-ตามแพทย์สั่ง ปลอดภัยไม่เป็นพิษร่างกาย
“ผู้สูงอายุ” การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย แนะวิธีการปรับตัวตามวัย
- ทางจิตใจ : อาจเกิดจากภาวะการสูญเสียคนที่รัก หรือภาวะที่ทำให้เกิดความเสียใจ ความทุกข์ใจ จนมีผลกระทบด้านอารมณ์การตอบสนองต่อปัญหาหรือความเครียดที่เกิดขึ้น
สัญญาณเสี่ยงโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
- ความสนใจในกิจกรรมที่ทำเป็นปกติลดลง หรือความสนุกสนานเพลิดเพลินหายไป
- นอนหลับยาก ซึ่งสัญญาณนี้เป็นอาการเริ่มต้นที่นำไปสู่ภาวะซึมเศร้า
- น้ำหนักลด เบื่ออาหาร
- มีความกังวลเกี่ยวกับการเป็นภาระ มีความรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า
- ขี้หลงขี้ลืม ขาดสมาธิต่อการจดจ่อต่อกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
- เบื่อหน่าย เบื่อชีวิต และมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย
หากสังเกตเห็นว่าผู้สูงอายุมีอาการข้างต้นมากกว่า 2 สัปดาห์ ลูกหลาน ญาติ หรือผู้ดูแลควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญถึงสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้นเพื่อหาทางรับมือที่เหมาะสม
ผู้สูงอายุโมโหร้าย อาจเป็นสัญญาณสภาพจิตใจย่ำแย่ เผยอาการพาพบแพทย์
ปรับพฤติกรรมผู้สูงอายุหลีกหนีซึมเศร้า
- พาไปร่วมกิจกรรมหรือพบปะเพื่อน
- สมาชิกในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ
- กระตุ้นให้ออกกำลังกาย
- จัดสรรโภชนาการให้เหมาะสม
- ดูแลให้รับประทานยาและพบแพทย์ตามนัดหมาย
การดูแลผู้สูงอายุอย่างครอบคลุม จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่แข็งแรงขึ้นได้ เพราะผู้สูงวัยมักไม่บอกถึงเจ็บปวดทางกายหรือทางใจให้ใครรู้ เมื่อพบว่ามีโอกาสเสี่ยงภาวะซึมเศร้า ควรรีบพาท่านไปพบแพทย์ ก่อนเหตุการณ์ที่เราไม่คาดคิดจะเกิดขึ้น!
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย4 และ Chulalongkornhospital
10 วิธีดูแลผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย ลดการหกล้ม โรคแทรกซ้อน
เช็กอาการที่พบบ่อยเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุ เผยทำไมต้องตรวจสุขภาพ?