“ไตเสื่อม”อายุน้อยก็เป็นได้ คันตามตัว กล้ามเนื้อกระตุกต้องระวัง
ไตเสื่อม รุนแรงไม่แพ้ไตเรื้อรัง เพราะนำมาซึ่งโรคอันตรายหลายอย่าง เผยสัญญาณและปัจจัยเสี่ยงที่คนอายุน้อยก็เป็นได้
โรคไตเรื้อรัง เรียกว่าเป็นปัญหาสำคัญในระบบสาธารณสุขของไทย เพราะเป็นโรคที่มีความชุกเพิ่มขึ้นและส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของผู้ป่วยอย่างมาก ข้อมูลปี 2566 พบว่าไทย มีผู้ป่วยไตเรื้อรัง จำนวน 11.6 ล้านคน และมีจำนวนมากกว่า 1 แสนคนที่ต้องล้างไต และจากรายงานของ The United States Renal Data System (USRDS) พบว่า ประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่มีอัตราการเกิดโรคไตสูงที่สุด
9 นิสัยเสี่ยงโรคไต ภัยเรื้อรังจากพฤติกรรมเสี่ยงทำซ้ำทำนานอันตราย!
สัญญาณแรกโรคไต หมั่นสังเกตปัสสาวะช่วยได้ พร้อมเปิดสาเหตุโรคไม่ควรละเลย

ทำให้มีผู้ป่วยต้องฟอกเลือด ฟอกไตทางช่องท้อง และปลูกถ่ายไตเพิ่มมากขึ้นขณะที่สถานการณ์การบริจาคอวัยวะขาดแคลนและมีผู้ป่วยรอเข้าคิวเพื่อปลูกถ่ายถึง 95 %ของความต้องการอวัยวะทั้งหมด
นอกจากไตเรื้อรังแล้วโรคไตเสื่อมเองก็รุนแรงไม่แพ้กัน เพราะการทำงานของไตจะทำงานลดลงอย่างช้าๆ และสูญเสียเนื้อไต มักจะแสดงอาการเมื่อไตเริ่มเสื่อมมากขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงไตเสื่อมคนอายุน้อยก็เป็นได้
- โรคประจำตัวและปัญหาสุขภาพ อย่าง โรคเบาหวานที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
- โรคทางพันธุกรรม
- อาหารที่มีรสเค็ม โดยเฉพาะอาหารที่มีค่าโซเดียมสูง บ่อยและถี่คนกระทบกับไต
- สูบบุหรี่
- กินยาสมุนไพรบางชนิด ยาชุด โดยไม่ปรึกษาแพทย์
- พักผ่อนน้อย ไม่ออกกำลังกาย
ลักษณะ“ปัสสาวะ”บอกโรคไต แพทย์เผยสัญญาณอันตรายไตเสื่อม-ภาวะโปรตีนรั่ว
อาการโรคไตเสื่อมควรรีบปรึกษาแพทย์
- ผิวหนังมีสีซีดหรือคล้ำขึ้น อาจมีอาการคันด้วย
- เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน บางรายอาจมีเลือดออกที่ทางเดินอาหาร
- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ขี้หลงขี้ลืม ความจำไม่ดี
- ปวดหัวง่าย จาม คัดจมูก เป็นหวัดง่าย
- ปัสสาวะสีแดงหรือเข้มขึ้นปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยหลับไม่สนิทหรือนอนไม่ค่อยหลับ
- กล้ามเนื้อกระตุก ปวดตามตัว ปลายเท้าและปลายมือชาเนื่องจากปลายประสาทอักเสบ เป็นตะคริวและชัก
ทั้งนี้หากไตวายมาก จะมีการคั่งของเกลือและน้ำ ความดันโลหิตสูง มีอาการบวมเนื่องจากหัวใจวาย บางรายมีอาการเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ อย่างไรก็ตามไตเสื่อมนั้นไม่เลือกว่าจะเกิดกับวัยไหน เพราะส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ฉะนั้นหากมีอาการอย่างที่กล่าวมาแล้วล่ะก็ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คว่าไตของเรายังแข็งแรงและทำงานได้ปกติหรือไม่
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
เปิดหน้าที่ของ"ไต"อวัยวะสำคัญ แพทย์เผยจะเกิดอะไรขึ้นหากไตทำงานไม่ปกติ!
“มีไตข้างเดียว” ใช้ชีวิตเหมือนเดิมได้ไหม และ ควรดูแลสุขภาพอย่างไร?