9 นิสัยเสี่ยงโรคไต ภัยเรื้อรังจากพฤติกรรมเสี่ยงทำซ้ำทำนานอันตราย!
95%ของผู้รอรับบริจาคอวัยวะ คือ “ไต” ที่สาเหตุของโรคไตเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงเผย 9 นิสัยควรเปลี่ยนก่อนป่วยรุนแรง
รู้หรือไม่? ไต คืออวัยวะที่มีผู้รอรับบริจาคมากที่สุดในบรรดาอวัยวะทั้งหมด ถึง 95% สอดคล้องกับแนวโน้มของผู้ป่วยที่เติมขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกๆปี ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีการฟอกไตเพื่อยื้อชีวิตผู้ป่วย แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่า ไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตแบบเดิมได้ และหนึ่งในปัจจัยการก่อโรค คือพฤติกรรมที่หลายคนทำเป็นประจำ ทำซ้ำๆนานๆ จนเข้าไปเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคไตได้ โดยเฉพาะเมื่อปฏิบัติติดต่อกันเป็นเวลานาน
“โปรตีนคุณภาพ” สำหรับผู้สูงอายุ ป้องกันสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ
“วัคซีน RSV” สำคัญต่อผู้สูงอายุมากแค่ไหน? เผยอาการควรรีบพบแพทย์
Freepik/freepik
นิสัยเสี่ยงโรคไต

9 พฤติกรรมควรเลี่ยงช่วยถนอมไต!
- การบริโภคเกลือโซเดียมมากเกินไป การรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือโซเดียมสูง สามารถเพิ่มความดันโลหิต ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคไตได้
- ดื่มน้ำน้อยเกินไป การดื่มน้ำไม่เพียงพอสามารถทำให้ไตทำงานหนักขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไต
- ใช้ยาเกินขนาดหรือกินยาแก้ปวดบางชนิดเป็นประจำ ยาบางชนิด โดยเฉพาะยาแก้ปวด หากมีการบริโภคมากเกินไปหรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจส่งผลเสียต่อการทำงานของไต รวมถึงผู้ที่ซื้อนำมาทานเองโดยไม่ได้รับคำสั่งจากแพทย์ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคไตได้
- การบริโภคโปรตีนสูงมากเกินไป การรับประทานโปรตีนในปริมาณมากสามารถเพิ่มภาระให้กับไตในการกรองของเสียออกจากร่างกาย
- ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูงและส่งผลต่อการทำงานของไต
วิธีอยู่ร่วมกับผู้สูงอายุ ช่วยลดช่องว่างระหว่างวัย ไม่บั่นทอนสุขภาพจิต
- การสูบบุหรี่ สามารถทำลายเส้นเลือดและลดการไหลเวียนของเลือดไปยังไต ทำให้ไตเสียหายได้
- กินอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่มีไขมันสูงสามารถนำไปสู่การเป็นโรคอ้วนและเบาหวาน ซึ่งทั้งสองโรคนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไต
- ไม่ออกกำลังกาย สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของไต
- การไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือผู้ที่ต้องใช้ยาบางชนิดที่ส่งผลต่อการทำงานของไต ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อควบคุมโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับไต
พฤติกรรมเหล่านี้หากปรับเปลี่ยนได้จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไต และหากตนเองหรือคนใกล้ชิดมีอาการหรือความกังวลเกี่ยวกับโรคไต ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและได้รับการตรวจเช็คร่างกายอย่างละเอียด
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
อาหารกระป๋อง กับ อาหารปรุงสด โภชนาการเท่ากันหรือไม่?
10 วิธีดูแลผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย ลดการหกล้ม โรคแทรกซ้อน