“โปรตีนคุณภาพ” สำหรับผู้สูงอายุ ป้องกันสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ
โปรตีน สารอาหารสำคัญสำหรับผู้สูงอายุในหลายด้านเผย 4 โปรตีนคุณภาพสำหรับผู้สูงอายุ และข้อควรระวังที่ควรกินแต่พอดี
“โปรตีน” สารอาหารสำคัญต่อผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นสารอาหารที่ช่วยให้เรื่องของการสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง อีกทั้งยังช่วยส่งผลให้กล้ามเนื้อกระชับเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูก และช่วยให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น การที่ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารประเภทโปรตีนอย่างเพียงพอจะช่วยให้ผู้สูงอายุพลังมากขึ้นทำให้รู้สึก สดชื่นกระปรี้กระเปร่า และทำให้การทำงานของกลไกต่างๆ ของร่างกายทำงานอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากเอนไซม์ต่างๆ ในร่างกายล้วนประกอบด้วยโปรตีน
“คะน้า” ผักแสนอร่อยแคลเซียมสูง ช่วยลดเสี่ยงหลอดเลือดหัวใจตีบ
อาหารกระป๋อง กับ อาหารปรุงสด โภชนาการเท่ากันหรือไม่?
โปรตีนยังช่วยรักษามวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ป้องกันภาวะกล้ามเนื้อลีบ และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ผู้สูงอายุที่ได้รับโปรตีนไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายมักจะอ้วนได้ง่ายกว่าผู้สูงอายุที่รับประทานโปรตีนอย่างเพียงพอ เนื่องจากโปรตีนมีส่วนช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุคงที่ ทำให้ไม่รู้สึกหิวง่าย ช่วยให้ผู้สูงอายุควบคุมการกินและควบคุมน้ำหนักได้
แหล่งโปรตีนที่เหมาะกับผู้สูงอายุ
โปรตีนมีอยู่มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเนื้อสัตว์ นม และไข่ แต่เรามักพบว่าผู้สูงอายุบริโภคเนื้อสัตว์ในมีปริมาณลดลงเนื่องจากลักษณะรสสัมผัสของเนื้อสัตว์ที่เหนียว เคี้ยวยาก รับประทานลำบาก ทำให้ผู้สูงอายุเลือกที่จะหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ ดังนั้นโอกาสที่ผู้สูงอายุได้รับโปรตีนจึงลดลงไป จึงขอแนะนำให้เตรียมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีรสสัมผัสอ่อนนุ่ม ไม่ติดหนังหรือไขมันมากเกินไป
-
เนื้อปลา เป็นแหล่งโปรตีนที่ดีมากเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากเนื้อนุ่มและย่อยง่าย แต่ควรเลือกนำส่วนกระดูกและก้างออกทั้งหมดก่อนนำมารับประทาน
-
ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นอาหารที่มีสารอาหารโปรตีนสูงเช่นกัน อีกทั้งยังมี วิตามินต่างๆ ใยอาหาร รวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย ผู้ดูแลสามารถเตรียมประเภทถั่ว แทนอาหารพวกเนื้อสัตว์ได้ในบางมื้อ เพื่อลดความจำเจของอาหาร การที่ผู้สูงอายุรับประทานอาหารชนิดเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ไม่หลากหลาย จะทำให้เบื่ออาหารได้ง่ายขึ้น และได้สารอาหารไม่ครบถ้วน
-
ไข่ คุณค่าทางอาหารสูง ซึ่งในไข่หนึ่งใบประกอบไปด้วยไข่แดง ซึ่งมีธาตุเหล็กในปริมาณสูงสามารถรับประทานได้ 1 ฟองต่อวัน ในกรณีที่ผู้สูงอายุที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูง ความดันสูง โรคเบาหวาน หรือผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถบริโภคไข่ไก่ได้ 3 ฟอง/สัปดาห์
-
นม และ น้ำเต้าหู้ อีกหนึ่งอาหารที่มีโปรตีนสูง อีกทั้งยังมีแคลเซียมในปริมาณมาก ผู้สูงอายุควรดื่มวันละ 1 แก้ว แต่ในผู้สูงอายุที่มีไขมันในเลือดสูงหรือน้ำหนักตัวมาก แนะนำให้ดื่มเป็นนมพร่องมันเนยหรือนมถั่วเหลืองน้ำตาลน้อย
เลือกทูน่ากระป๋องแบบไหน? เหมาะกับสุขภาพและเมนูที่คุณอยากกิน!
ข้อระวังการกินโปรตีนในผู้สูงอายุ
สำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาโรคไขมันในเลือดสูงและโรคความดันโลหิตสูงควรระวังการได้รับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดหนังมัน กุนเชียง หมูยอ และไม่ควรรับประทานเนื้อสัตว์หรือโปรตีนในปริมาณมากก่อนนอนเพราะจะทำให้ไม่สบายท้องและนอนไม่หลับ
นอกจากนี้การรับประทานโปรตีนจำนวนมากเกินไปจะเกิดผลเสียต่อร่างกาย โดยมีผลให้การทำงานของไตมากขึ้น เนื่องจากในผู้สูงอายุ การทำงานของไตจะลดลงมากกว่าร้อยละ 50 เมื่อเปรียบเทียบกับวัยหนุ่มสาว แต่การขาดโปรตีนในผู้สูงอายุเป็นสาเหตุหนึ่งในการทำให้เกิดอาการบวม คันผิวหนัง, อ่อนเพลีย และมีภูมิต้านทางลดลง เช่นกัน ดังนั้นทางเลือกที่ดีคือควรกินโปรตีนในปริมาณที่พอเหมาะร่วมกับสารอาหารอื่นๆ ในมื้ออาหารทุกมื้อด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 3
ผักผลไม้อาหารว่างสำหรับ"ผู้สูงอายุ" กินเสริมช่วยป้องกันขาดสารอาหาร