4 ความเสี่ยงออกกำลังกายหนักเกินไป สุขภาพพังแทน หากไม่ใส่ใจสมดุล
การออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ดี แต่ไม่ควรหักโหมจนสุขภาพพัง เผย 4 ความเสี่ยง หัวใจ ตับ ไต ข้อเข่า ป้องกันได้ด้วยการตรวจสุขภาพ
หลายคนชอบเข้าใจว่าถ้าไม่ใช่คนที่ป่วยบ่อย คือคนที่ไม่ชอบออกกำลังกาย แต่จริงๆแล้ว การออกกำลังหนักเกินไปหรือไม่เหมาะกับสุขภาพของตนเองก็ทำให้ทรุดโทรมได้เหมือนกัน จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ยิ่งออกกำลังกายยิ่งต้องให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพ!
การออกกำลังกายหนักทำกล้ามเนื้อหัวใจหนา เสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน ?
รู้หรือไม่ ? ขณะที่เราออกกำลังกาย หัวใจจะมีการสูบฉีดเลือดมากขึ้นกว่าปกติ อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น
ความดันโลหิตสูง รักษาและหยุดยาได้ด้วยการออกกำลังกาย ช่วยลดไขมัน
สาเหตุการเสียชีวิตขณะออกกำลังกาย ตรวจสุขภาพให้พร้อมหลีกเลี่ยงได้!
ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้เกิด “กล้ามเนื้อหัวใจหนา” ขึ้นบริเวณห้องล่างซ้ายและล่างขวา ซึ่งเป็นกลไกการปรับตัวของกล้ามเนื้อหัวใจเมื่อต้องทำงานหนัก
ยิ่งไปกว่านั้นการออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่งที่เน้นเพาะกล้ามเพียงอย่างเดียว ยังสามารถเพิ่มโอกาสให้กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาขึ้นได้มากกว่าการออกกำลังกายประเภทอื่น หรือในขณะที่การปั่นจักรยานมาราธอนหนักๆ ก็อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขยายออกและหนาขึ้นได้ในคราวเดียวกัน ส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดและการทำงานของหัวใจ ที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิด “หัวใจวายเฉียบพลัน” ได้ ซึ่งการตรวจหัวใจ EKG และ Echo จะช่วยให้รู้ทันภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนานี้ได้
ออกกำลังกายหนักส่งผลต่อ(ค่า)ตับ?
สิ่งที่หลายคนอาจไม่เคยรู้คือระดับค่า SGOT หรือ AST ที่ได้จากการตรวจตับนั้นอาจมีความสัมพันธ์กับการออกกำลังกาย โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่หนักเกินไป หรือต้องใช้แรงมาก อย่างการเวทเทรนนิ่งเพื่อเล่นกล้าม ที่ทำให้เกิดการตายของเซลล์กล้ามเนื้อ…ซึ่งอาจจะดูเหมือนว่าเป็นกลไกที่ปกติ! แต่หากมีการออกกำลังกายหนักๆ ซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง จะทำให้เซลล์กล้ามเนื้อเก่าตายเร็ว การสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนก็เกิดขึ้นเร็ว จนทำให้ระดับค่า SGOT หรือ AST ที่เป็นเอนไซม์สร้างขึ้นจากความเสียหายของตับ, เม็ดเลือดแดง, หัวใจ, กล้ามเนื้อ, ตับอ่อน หรือไต พุ่งสูงขึ้นด้วย
แต่ค่าที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ ก็อาจไม่ได้มาจากความเสียหายของกล้ามเนื้อเพียงอย่างเดียว เพราะอาจเป็นการบอกถึงความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆ รวมถึงตับเองได้ด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้น หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ออกกำลังกายหนัก แล้วผลตรวจค่า SGOT หรือ AST สูง
อย่าเพิ่งเข้าใจว่าเป็นแค่ผลจากการออกกำลังกาย แต่ควรงดออกกำลังกายแล้วกลับมาตรวจซ้ำอีกครั้ง เพื่อวินิจฉัยให้แน่ชัดว่าค่า SGOT หรือ AST ที่สูงขึ้นนั้นเกิดจากอะไรกันแน่ เพื่อจะได้เข้าสู่ขั้นตอนการรักษาที่ตรงจุดก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย
ออกกำลังกายหนัก เพิ่มความเสี่ยงไตวาย?
การออกกำลังกายที่ออกแรงมาก หรือการออกกำลังกายหนักต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานๆ เช่น การวิ่งมาราธอน อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิด “ภาวะกล้ามเนื้อสลาย” หรือ Rhabdomyolysis ซึ่งเป็นภาวะที่กล้ามเนื้อส่วนที่เสียหายสลายตัวแล้วทำการปล่อยสารที่อยู่ภายในเซลล์เข้าสู่กระแสเลือด หากไม่รุนแรง…แค่พักผ่อน ดื่มน้ำมากๆ ก็ดีขึ้น แต่หากอาการรุนแรงอาจส่งผลทำให้ไตวายได้เลยทีเดียว
รู้ความเสี่ยงระบบหัวใจ ก่อนเริ่มออกกำลังกาย เป็นสาเหตุตายเฉียบพลัน
ไม่วอร์มอัพ เวิร์คเอ้าท์ผิดวิธี นำไปสู่ “โรคข้อเสื่อม”
หลายคนหันมาใส่ใจสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย แต่อาจลืมไปว่า “การไม่วอร์มอัพ” อาจทำให้การออกกำลังกายส่งผลเสียต่อสุขภาพที่มากกว่า ซึ่งหนึ่งในผลข้างเคียงจากการออกกำลังกายโดยขาดการวอร์มอัพนั้น คือ “กระดูก กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น ถูกทำร้าย” โดยเฉพาะคนที่ออกกำลังกายหนักๆ ก่อให้เกิดแรงกด เกิดการเสียดสีกันระหว่างข้อต่างๆ ซึ่งการบาดเจ็บซ้ำๆ เรื้อรังนานๆ โดยที่ไม่ได้รับการดูแลรักษา จะนำไปสู่การสึกและเสื่อมของข้อต่างๆ เช่น ข้อเข่า หรือข้อไหล่ ได้
แน่นอนว่าการออกกำลังกาย มี ประโยชน์แต่ก็ไม่ควรหักโหมและให้ความสำคัญต่อการตรวจสุขภาพ เพราะองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้กำหนดให้การออกกำลังกายที่เหมาะสม คือ สัปดาห์ละ 150 ชั่วโมง หรือครั้งละ 30 นาที จำนวน 5 ครั้งต่อสัปดาห์ สำหรับใครที่ออกกำลังกายหนักมากเกินไปก็ควรปรับลดให้พอเหมาะ อย่าปล่อยให้ โอกาสสร้างสุขภาพที่ดีกลายเป็นการทำร้ายสุขภาพให้พังแทน
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเครือพญาไท
ออกกำลังกายให้เหมาะกับช่วงวัย และภาวะที่ควรเลี่ยงเพราะเสี่ยงอันตราย
ออกกำลังกายหนักเกินเสี่ยงกระดูกพัง! เผยวิธีป้องกันการบาดเจ็บ