อาการ “โรคน้ำกัดเท้า” จากการเดินลุยน้ำ ระยะไหนควรระวัง-วิธีป้องกัน
น้ำกัดเท้า หนึ่งโรคที่ควรมองข้ามเพราะอันตรายบั่นทอนสุขภาพไม่แพ้โรครุนแรงอื่นๆ เผยอาการ ระยะโรค วิธีป้องกันและรักษา
ช่วงเวลายากลำบากที่หลายพื้นที่ต้องประสบปัญหาน้ำท่วมขัง มีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ ลุยโคลนอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งหนึ่งโรคภัยที่ควรระวังและรู้จักให้มากขึ้นคือ ปัญหาเรื่องโรคน้ำกัดเท้า หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ ฮ่องกงฟุตจึงเป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในช่วงน้ำท่วม
โดยโรคนี้เกิดจากการเดินย่ำน้ำบ่อยๆ หรือยืนแช่น้ำหรือยืนแช่นํ้าที่สกปรกเป็นเวลานานๆ ส่งผลให้ให้ผิวหนังเปื่อย โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้า ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคืองของผิวหนังได้
เดินลุยน้ำเท้าเปล่า ระวังโรคฉี่หนู เผยอาการสุ่มเสี่ยง อันตรายถึงชีวิต
5 เมนูเหมาะนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม แนะหลีกเลี่ยงอาหารบูดง่าย
ช่างภาพพีพีทีวี
เดินลุยน้ำ

โรคน้ำกัดเท้าแบ่งเป็น 3 ระยะ
- ระยะที่ 1 ช่วง 1-3 วันแรก ผิวหนังเปื่อยเมื่อแช่น้ำ แดงคัน แสบ ระคายเคืองและมีการลอกเล็กน้อย ในระยะนี้ให้สังเกตตนเอง และดูแลรักษาความสะอาดแนะนำปรึกษาเภสัชกรเพื่อหายามาทา
-
ระยะที่ 2 ช่วง 3-10 วัน อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย ติดเชื้อรา ผิวหนังจะเปื่อยมีรอยฉีกขาด มีอาการแดง บวม ปวดเจ็บ อาจจะมีหนอง หรือน้ำเหลืองซึม ควรรีบไปพบแพทย์อย่างด่วน
-
ช่วงที่ 3 ช่วง 10-20 วัน ถ้าแช่น้ำต่อเนื่อง และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ผิวหนังจะเริ่มแดง คันมีขุยขาว เปียก เหม็น ผิวหนังจะเปื่อยเป็นสีขาวเป็นขุย หรือลอกบางเป็นสีแดง เป็นระยะที่อันตรายมาก
แนวทางการรักษาโรคน้ำกัดเท้า
หากมีอาการผิวหนังเปื่อย แดงคัน แสบ ระคายเคืองและมีการลอกเล็กน้อย ในระยะแรก แนะนำปรึกษาเภสัชกรที่ร้านขายยาให้บ้านเพื่อหายามาทาให้ถูกต้องแต่หากมีผื่นและมีรอยเปื่อยฉีกขาดของผิวหนัง มีอาการบวมแดง เจ็บปวด หรือมีหนองเนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรงขึ้น ควรรีบพบแพทย์ผิวหนังทันที
ข้อควรระวัง : การรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราที่ผิวหนัง ต้องทายา และรับประทานยาให้ครบตามระยะเวลาที่กําหนด หากไม่ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอาจทําให้ไม่หายขาด และเชื้ออาจพัฒนาไปเป็นการดื้อยา
โรคเมลิออยโดสิส (ไข้ดิน) อันตรายเดินลุยน้ำลุยโคลนเท้าเปล่า อาการต้องระวัง!
แนวทางการป้องกัน
-
รักษาความสะอาด และลดความชื้นของเท้า และรองเท้าให้มากที่สุด
-
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำสกปรก และรีบล้างเท้าหลังสัมผัสทันที ด้วยสบู่ที่อ่อนโยนต่อผิว
-
หลังจากล้างและเช็ดเท้าจนแห้งแล้ว ทาครีมให้ความชุ่มชื้นหรือยาขี้ผึ้งบริเวณผิวหนังที่ลอก เพื่อลดโอกาสที่น้ำจะซึมผ่านผิวหนังจนเกิดความชื้นและผิวเปื่อย
ในกรณีที่มีเหงื่อออกมา เช่น บริเวณฝ่าเท้า อาจใช้แป้งโยหรือยาทาลดเหงื่อ เพื่อให้ช่วยดูดซับเหงื่อส่วนเกินหากเกิดบาดแผล ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสของแผลกับน้ำที่ท่วมขัง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน และ chulalongkornhospital
โรคติดต่อและโรคติดเชื้อช่วงน้ำท่วม เผยอาการสัญญาณอันตรายและการป้องกัน
เทคนิคจัดการความเครียดจากน้ำท่วม แนะฝึกหายใจ ช่วยปรับสภาพจิตใจ
5 สมุนไพรไทย รักษาโรคผิวหนัง-โรคน้ำกัดเท้า ต้านเชื้อรา กลาก เกลื้อน