แมมโมแกรม คัดกรองมะเร็งเต้านม ควรทำเมื่อไหร่ ? เรื่องที่หญิงยุคใหม่ต้องรู้!
มะเร็งเต้านม โรคร้ายที่ผู้หญิงทุกคนเสี่ยง! เผยเมื่อไหร่และใครบ้างที่ควรตรววจแมมโมแกรม(Mammogram) คัดกรองก่อนเกิดมะเร็ง เพิ่มโอกาสการรักษาได้หายขาด แถมเจ็บตัวน้อยกว่า!
"มะเร็งเต้านม" มะเร็งอันดับ 1 ที่พบมากในสาวไทย มีโอกาสได้กับคุณผู้หญิงทุกคน ซึ่งการทำ "แมมโมแกรม" (Mammogram) ก็เป็นวิธีการตรวจหาความผิดปกติที่ได้รับการยอมรับว่ามีความแม่นยำสูง และเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยคัดกรองโรคนี้ได้อย่างดี
แมมโมแกรมคืออะไร?
แมมโมแกรมคือการตรวจเต้านมด้วยรังสีเอกซ์ (X-ray) ซึ่งสามารถตรวจจับเนื้อเยื่อที่มีความผิดปกติหรือเซลล์ที่อาจกลายเป็นโรคมะเร็งได้ในภายหลังได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น
"คันช่องคลอด" ปัญหาเซนซิทีฟในผู้หญิง เกิดจากอะไร? รักษาหายได้หรือไม่?
10 ปัญหาเซนซิทีฟของสุขภาพคุณผู้หญิง ฮอร์โมนและระบบสืบพันธุ์!

โดยเป็นระยะก่อนที่จะสามารถสัมผัสเจอก้อนเนื้อด้วยการคลำเต้านม หรือแสดงอาการใดๆ ออกมา ทำให้มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้สูง การตรวจอย่างสม่ำเสมอก็จะยิ่งช่วยลดโอกาสในการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมได้ถึง 25-30% ยิ่งตรวจพบเร็วเท่าไหร่ โอกาสในการรักษาก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น และลดความจำเป็นในการทำเคมีบำบัดหรือการผ่าตัดใหญ่ได้
ใครบ้างที่ควรทำแมมโมแกรม?
- ผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ตามคำแนะนำทั่วไป ผู้หญิงควรเริ่มทำแมมโมแกรมครั้งแรกเมื่ออายุ 40 ปี และควรตรวจทุกปีหรือทุกสองปี ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการแนะนำที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของแต่ละคน
- มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม หากมีสมาชิกในครอบครัวที่เคยมีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม ควรเริ่มทำแมมโมแกรมเร็วกว่าคนทั่วไป อาจเริ่มตั้งแต่อายุ 30 ปี หรือตามคำแนะนำของแพทย์
- ผู้ที่มีความเสี่ยงจากปัจจัยอื่นๆ ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติม เช่น มีประวัติการเจ็บป่วยของเต้านม มีการใช้ฮอร์โมนระยะยาว หรือมีความผิดปกติของยีน (เช่น BRCA1 หรือ BRCA2) การทำแมมโมแกรมเป็นประจำจะช่วยให้คุณรู้ถึงความเสี่ยงและสามารถวางแผนการป้องกันล่วงหน้าได้อย่างทันท่วงที
เมื่อไหร่ควรทำแมมโมแกรม?
หากพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของเต้านม เช่น การเกิดก้อนเนื้อที่สัมผัสได้จากการคลำเต้านม เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังบริเวณหัวนมหรือลานนม มีของเหลวไหลออกจากหัวนม หรือความเจ็บปวดผิดปกติที่เกิดขึ้นบริเวณเต้านม เมื่อพบว่าตนเองมีอาการเหล่านี้ หรือเข้าข่ายสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม ควรเข้ารับการตรวจแมมโมแกรมโดยเร็วที่สุด เพราะการปล่อยไว้โดยไม่เข้ารับการตรวจวินิจฉัยหรือรักษา อาจทำให้ความผิดปกติที่เกิดขึ้นลุกลามไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย และทางเลือกในการรักษาก็จะน้อยลงตามไปด้วย
ความถี่ในการตรวจแมมโมแกรม
- ช่วงอายุ 40-50 ปี ควรตรวจทุก 1-2 ปี
- ช่วงอายุ 50-74 ปี ผู้หญิงส่วนใหญ่ควรตรวจทุก 2 ปี แต่ถ้ามีความเสี่ยงสูง แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจบ่อยขึ้น
ผู้หญิงเสี่ยงมะเร็งมากกว่าผู้ชาย? เช็กสัญญาณร่างกายเปลี่ยนต้องระวัง!
ข้อดีของการตรวจแมมโมแกรม
- มีความแม่นยำสูง แมมโมแกรมสามารถตรวจพบเนื้องอกหรือความผิดปกติที่ยังมีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถสัมผัสได้ด้วยการคลำ
- ป้องกันได้ล่วงหน้า การตรวจที่สม่ำเสมอช่วยให้ทราบถึงความเสี่ยงและสามารถวางแผนการรักษาได้ตั้งแต่ต้น
- ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมระยะรุนแรง หากตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะแรก โอกาสในการรักษาให้หายขาดและไม่กลับมาอีกก็จะสูงมากขึ้น
มะเร็งเต้านมอาจดูเหมือนโรคที่อยู่ไกลตัว แต่ความจริงแล้วโรคนี้อาจเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน และการป้องกันหรือการตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ ย่อมดีกว่าการรักษาที่ยุ่งยากและซับซ้อนมากกว่า ดังนั้น หากพบว่าตนเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือถึงช่วงอายุที่สมควรแก่การตรวจ ควรรีบปรึกษาแพทย์และทำการตรวจคัดกรอง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
ตรวจคัดกรอง-อัลตราซาวด์ รังไข่และมดลูก เรื่องสำคัญที่ผู้หญิงต้องรู้!
“ไขมันในเลือดสูง” สาเหตุโรคหัวใจ ที่ผู้หญิงเสี่ยงเสียชีวิตเฉียบพลันมากกว่า!