“มะเร็งต่อมน้ำเหลือง”ปัจจัยกระตุ้นโรค ไอเรื้อรัง คลำเจอก้อน รีบพบแพทย์
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หนึ่งในมะเร็งที่พบบ่อย 1 ใน 5 ของมะเร็งคนไทย ลุกลามรุนแรงไปอวัยวะอื่นได้ เผย ชนิด สาเหตุ ปัจจัยการใช้ชีวิต สัญญาณแรกต้องรีบรักษา
“มะเร็ง”สาเหตุที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากเป็นอันดับต้นๆ และหนึ่งในมะเร็งที่พบบ่อย 1 ใน 5 ของคนไทย คือ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) ซึ่งต่อมน้ำเหลือง มีหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค โดยมีเม็ดเลือดขาวทำหน้าที่สร้างสารภูมิคุ้มกันหรือทำลายเชื้อโรค โดยต่อมน้ำเหลืองของมนุษย์จะมีอยู่ทั่วร่างกาย เช่น บริเวณลำคอ รักแร้ เต้านม และขาหนีบ โดยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะเกิดกับอวัยวะต่างๆ ของระบบต่อมน้ำเหลือง ได้แก่ ม้าม ไขกระดูก ต่อมทอนซิล และต่อมไทมัส
เลี้ยงลูกอยู่หน้าจอ ให้ได้ประโยชน์ แพทย์เผยผลเสียต่อพัฒนาการของเด็ก
Plant-based Diets ทางเลือกคนกินเจ เน้นสารอาหารจากพืช กินต่อได้ตลอดชีวิต
Freepik/stefamerpik
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

2 ชนิดของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkin lymphoma (NHL) โดยในประเทศไทยพบชนิดนี้บ่อยที่สุด
- มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Hodgkin disease (HD)
ปัจจัยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- ส่วนมากจะเกิดขึ้นกับ “เพศชาย” มากกว่าเพศหญิง
- ช่วงอายุประมาณ 60 – 70 ปี
- ผู้ที่เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori
- การติดเชื้อไวรัส EBV การสัมผัสสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE)
- ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV
ปัจจัยสิ่งแวดล้อมกระตุ้นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- การชอบทานอาหารจำพวกช็อกโกแลต เนย หรือชีส
- การชอบดื่มเครื่องแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- การเปลี่ยงแปลงของฮอร์โมน
- การอดนอน พักผ่อนไม่เพียงพอ
- การใช้ชีวิตท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่มีกลิ่นควันบุหรี่ กลิ่นน้ำหอม และอากาศร้อนจัด
โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) ไม่ใช่แค่คิดมากกังวลไปเอง แต่ระบบประสาทบกพร่อง
อาการเริ่มต้นของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- มักมีไข้ หนาวสั่น
- ไอเรื้อรัง ต่อมทอนซิลโต
- หายใจไม่ค่อยสะดวก
- เหงื่อชอบออกช่วงเวลากลางคืน
- เบื่ออาหารและน้ำหนักลด
- มีอาการคันทั่วทั้งร่างกาย
- คลำเจอก้อนบริเวณคอ รักแร้ หรือขาหนีบ
ในผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีความเสี่ยงจะเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หลังจากแพทย์ซักประวัติและพิจารณาจากอาชีพลักษณะงาน สิ่งแวดล้อม สิ่งกระตุ้นแล้ว จะทำการตรวจหาดังนี้ตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา (Biopsy) ตรวจไขกระดูก เพื่อประเมินว่ามีการกระจายเข้าไปในไขกระดูกหรือไม่ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) การตรวจกระดูก (Bone Scan) การตรวจ PET Scan
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 1
เส้นเลือดฝอยในตาแตก อันตรายหรือไม่ ? เปิดสาเหตุและการรักษา
4 ระยะความโศกเศร้า ความเจ็บปวดที่ต้องรับมือ เผยวิธีดูแลจิตใจ