“ปวดไมเกรนบ่อย” มีอาการอื่นร่วมอาจป่วยผนังหัวใจรั่ว ต้องรีบรักษา
ปวดหัวไมเกรน โรคที่พบบ่อยของคนวัยทำงาน แต่หากมีอาการเห็นแสงวาบ ตามัว พูดไม่ชัด อาจมีสาเหตุหรือเกิดร่วมกับโรคผนังหัวใจรั่วชนิด Patent Foramen Ovale หรือ PFO ที่ต้องรีบทำการรักษาก่อนเป็นรุนแรง เป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้
ปวดหัวไมเกรน เกิดจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้าที่ผิวสมอง ทำให้สมองเกิดการกระตุ้นได้ง่ายและไวกว่าคนปกติ หลังสมองถูกกระตุ้นจะเกิดกระแสไฟฟ้าวิ่งไปตามผิวของสมองอย่างช้า ๆ จนเกิดอาการเตือนขึ้นมา ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดในสมองเปลี่ยนแปลงไป เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทบางชนิดที่มีผลทำให้หลอดเลือดสมองขยายตัวและทำให้มีอาการปวดหัวไมเกรน
อาหารกระตุ้นไมเกรน ผู้ป่วยควรเลี่ยงไปก่อน เสี่ยงเรื้อรังหายยาก!
“หาวบ่อย” อาจไม่ใช่แค่การพักผ่อนไม่พอ แต่มีโรคแฝง เช็กอาการรีบพบแพทย์
อาการปวดหัวไมเกรน
มีลักษณะปวดแบบตุบ ๆ เป็นจังหวะ มักเกิดข้างเดียวของศีรษะ แต่ก็อาจเป็นทั้งสองข้างได้ โดยอาการปวดในช่วงแรกมักรุนแรงเพียงเล็กน้อย และค่อย ๆ เพิ่มความรุนแรงขึ้น แบ่งออกเป็นหลายชนิดดังนี้
-
ปวดหัวไมเกรนที่ไม่มีออร่า ปวดหัวและมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ไวต่อแสง เสียง หรือกลิ่นมาก ฯลฯ
-
ปวดหัวไมเกรนมีออร่า นอกจากปวดหัวแล้วยังมีอาการมองเห็นผิดปกติ เห็นแสงระยิบระยับ ภาพเบี้ยว ภาพเบลอ อ่อนแรงหรือชาที่มือ แขน รอบปาก ฯลฯ
-
ปวดหัวไมเกรนแบบเรื้อรัง เป็นการปวดหัวไมเกรนที่เป็นมานานอย่างน้อย 3 เดือนและเป็นอย่างน้อยเดือนละ 15 วัน อย่างไรก็ตามผู้ป่วยไมเกรนทุกรายควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจรักษาและดูแลอย่างถูกต้อง
ไมเกรนเกี่ยวกับผนังหัวใจรั่วชนิด PFO อย่างไร?
ทารกในครรภ์ทุกคนมีรูเปิดในผนังหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจห้องบนที่เรียกว่า Foramen Ovale เพื่อรับเลือดและออกซิเจนจากหัวใจทารกจากห้องบนขวาไปยังหัวใจห้องบนซ้ายและส่งไปส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยไม่ต้องผ่านปอด ซึ่งรูเปิดนี้ส่วนใหญ่จะปิดหลังคลอดประมาณ 3 เดือน หากรูยังเปิดอยู่อาจนำไปสู่ผลแทรกซ้อนหลายอย่าง ทั้งโรคผนังกั้นหัวใจห้องบนที่มีรูรั่วชนิด Patent Foramen Ovale หรือ PFO เป็นโรคที่เป็นมาแต่กำเนิด ผนังหัวใจห้องบนซ้ายและผนังหัวใจห้องบนขวามีรูรั่วขนาดเล็กและปิดไม่สนิท ที่สำคัญคือไม่แสดงอาการให้รู้ จนกระทั่งลิ่มเลือดบางส่วนไหลย้อนกลับจากหัวใจห้องบนขวาไปที่หัวใจห้องบนซ้ายแล้วเข้าสู่หลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดอาการที่มีความสัมพันธ์กับปวดศีรษะไมเกรนที่มีออร่า เนื่องจากลิ่มเลือดอุดตันจนหลอดเลือดเกิดการขยายตัว กระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน
โดยในผู้ที่ปวดศีรษะไมเกรนชนิดมีออร่ามีโอกาสเป็นโรคผนังหัวใจรั่วชนิด PFO เพิ่มขึ้น และในผู้ป่วยโรคผนังหัวใจรั่วชนิด PFO พบว่ามีอาการปวดศีรษะไมเกรนออร่ามากกว่าคนปกติเพิ่มขึ้นเช่นกัน มีข้อมูลระบุว่า การมีผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว (PFO) เกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญกับโรคไมเกรนหลายรูปแบบ อาทิ
-
โรคไมเกรนที่มีออร่า (Migraine with Aura)
-
โรคไมเกรนที่มีออร่าแต่ไม่มีอาการปวดศีรษะ (Migraine Aura without Headache)
-
โรคไมเกรนเรื้อรัง (Chronic Migraine)
โดยพบผู้ป่วยผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่วชนิด PFO ในผู้ป่วยไมเกรนที่มีออร่า 46.3% – 88% ส่วนในผู้ป่วยไมเกรนที่ไม่มีออร่าพบผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว (PFO) 16.2% – 34.9%
“มะเร็งต่อมน้ำเหลือง” อัตรารักษาหายขาดสูง พบช้าเสี่ยงกระจายผ่านเลือด!
อาการปวดหัวไมเกรนแบบไหนเสี่ยงผนังหัวใจรั่วชนิด PFO
-
ปวดหัวไมเกรนบ่อยครั้ง
-
รับประทานยาแล้วไม่ได้ผล
-
มีอาการทางสมองร่วมด้วย อาทิ แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด มุมปากตก ฯลฯ
รักษาโรคผนังหัวใจรั่ว (PFO)
คือการปิดรูรั่วผนังหัวใจห้องบน ปัจจุบันสามารถทำการรักษาโดยใช้เทคนิคสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด (Transcatheter PFO Closure) คือ ใส่อุปกรณ์เพื่อเข้าไปปิดรูรั่วผ่านทางหลอดเลือดทางสายสวนหัวใจบริเวณขาหนีบ วิธีนี้แผลจะมีขนาดเล็ก ลดความเจ็บปวด และลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนได้ดี ที่สำคัญหลังหัตถการสายสวนควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดและพบแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงและความถี่ของอาการปวดหัวไมเกรน โดยเฉพาะปวดหัวไมเกรนที่มีออร่าได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ
“โรคร่าเริง”ชีวิตผิดเพี้ยนของคนไม่ยอมนอน เกลียดการตื่นเช้า จนสุขภาพพัง