5 พฤติกรรมเสี่ยงความดันสูง จุดเริ่มต้นโรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย
ความดันสูงนับเป็นจุดเริ่มต้นของโรคเรื้อรังต่าง ๆที่ หายช้า รักษายาก ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้มักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต แพทย์เผย 5 พฤติกรรมเสี่ยงความดันสูง
ความดันโลหิตสูง เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แต่เป็นโรคสำคัญที่ควรได้รับการดูแลเป็นอย่างดีเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในอนาคต เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตวายระยะสุดท้าย ซึ่งดูอย่างนี้ก็อันตรายไม่น้อย แต่หลายคนก็ยังมักเข้าใจว่าเป็นเรื่องไกลตัว ทั้งที่จริง ๆ แล้ว “ความดัน” เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเราเอง
อาการของโรคความดันโลหิตสูง
- ปวดศีรษะ มักเกิดร่วงกับอาการเวียนศีรษะ
“ความดันโลหิตสูง” กว่า 95% เป็นโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่มีปัจจัยร่วมจากพฤติกรรม
เทคนิคอาหารลดความดัน จำกัดโซเดียม เพิ่มผักทุกมื้อ เลือกเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ

- เลือดกำเดาไหล
- เหนื่อยหอบขณะทำงาน หรือมีอาการเหนื่อยหอบจนนอนราบไม่ได้ แสดงถึงการมีภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายล้มเหลว
อาการอื่นๆ ที่อาจพบร่วม ได้แก่ อาการเจ็บหน้าอกสัมพันธ์กับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากการมีเส้นเลือดหัวใจตีบ หรือจากการมีกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวมากจากภาวะความดันโลหิตสูงที่เป็นมานานๆ
5 พฤติกรรมเสี่ยงความดันสูง
- น้ำหนักมาก รูปร่างอ้วน อาจด้วยเทรนด์การกินฟาสฟู้ดที่ทำให้คนไทยประสบกับปัญหาโรคอ้วนกันมาก ซึ่งการลดน้ำหนักลงประมาณ 10 กิโลกรัม สามารถลดความดันโลหิตลงได้ 5-20 มม.ปรอท เลยทีเดียว
- ชอบกินอาหารเค็ม เพราะในร่างกายของเราจะมีเกลือเป็นส่วนประกอบของเซลล์ทุกเซลล์ เมื่อร่างกายได้รับเกลือหรืออาหารรสเค็ม จะเกิดการดูดน้ำกลับเข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูงขึ้นและควบคุมได้ยาก
- ไม่ชอบออกกำลังกาย การออกกำลังกาย ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งวิธีการออกกำลังกายในแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายและโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ ส่วนผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงดีควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30 นาที
- มีความเครียดสะสม “ความเครียด” คือตัวเร่งความดันโลหิตให้พุ่งสูงขึ้น หากรู้สึกว่าตนเองประสบกับภาวะเครียดเรื้อรัง ควรเรียนรู้การปล่อยวาง ทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ หรือออกไปเที่ยวพักผ่อน เพื่อคลายความเครียดที่มีอยู่
- สูบบุหรี่จัด ปริมาณนิโคติน ที่เข้าสู่ร่างกาย ยิ่งมากยิ่งส่งผลกระตุ้นให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนอิพิเนฟริน หรือ อะดรีนาลีน ซึ่งมีผลกระทบต่อความโลหิตสูงโดยตรง
ความดันโลหิตสูง ถือว่าเป็นสาเหตุนำไปสู่โรคร้ายแรง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตอนนี้ยังไม่หาย เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ไม่ต้องปวดหัวกับโรคต่างๆ ที่เกินการควบคุม
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย4
ข้อแตกต่าง “อารมณ์เศร้า” และ “โรคซึมเศร้า” ไม่ใช่แค่ภาวะทางอารมณ์
แพทย์แนะวิธีเช็ดตัวช่วยให้ไข้ลดเร็วที่สุด ในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง
อาบน้ำไม่เกิน 10 นาที! 1 ใน 7 เคล็บลับดูแลผิวหน้าหนาว ไม่แห้งกร้านเป็นขุ่ย